เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  เนื้อนาที่ไม่เกิดบุญ (อุปมาเปรียบเหมือนช้างศึก ที่อดทนต่อองค์ 5) 305  
 
 


เนื้อนาที่ไม่เกิดบุญ



           ภิกษุ ท. ! ช้างหลวงประกอบด้วยองค์ห้า เป็นช้างไม่คู่ควรแก่พระราชา ไม่เป็นราชพาหนะ ได้ไม่นับว่าเป็นของคู่บารมีของพระราชา. องค์ห้าอะไรเล่า ? องค์ห้าคือ ช้างหลวงในกรณีนี้ เป็นช้างที่ไม่ อดทน ต่อรูปทั้งหลาย ไม่อดทน ต่อเสียงทั้งหลาย ไม่อดทนต่อกลิ่นทั้งหลาย ไม่อดทน ต่อรส ทั้งหลาย ไม่อด ทนต่อโผฏฐัพพะทั้งหลาย.

            ภิกษุ ท. ! ช้างหลวงที่ไม่อดทนต่อรูปทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ช้าง หลวงเมื่อออกศึก ได้เห็นหมู่พลช้างก็ดี หมู่พลม้าก็ดี หมู่พลรถก็ดี หมู่พลราบก็ด, (ของฝ่ายข้าศึก) แล้ว ก็ระย่อ ห่อหด ถดถอยเสีย ไม่อาจจะเข้าสู่ที่รบ. ภิกษุ ท. ! ช้างหลวงอย่างนี้ชื่อว่า ไม่อดทนต่อรูป ทั้งหลาย.

            ภิกษุ ท. ! ช้างหลวงที่ไม่อดทนต่อเสียงทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ช้าง หลวงเมื่อออกศึก ได้ยินเสียงหมู่พลช้างก็ดี หมู่พล ม้าก็ดี หมู่พลรถ ก็ดี หมู่พลราบก็ดี ได้ยินเสียง กึกก้องแห่งกลอง บัณเฑาะว์สังข์แล ะมโหระทึกก็ดี, แล้วก็ระย่อ ห่อหด ถดถอยเสีย ไม่อาจ จะเข้าสู่ที่รบ. ภิกษุ ท. ! ช้างหลวงอย่างนี้ชื่อว่า ไม่อดทนต่อเสียงทั้งหลาย.

            ภิกษุ ท. ! ช้างหลวงที่ไม่อดทนต่อกลิ่นทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ช้างหลวงเมื่อออกศึก ได้กลิ่นมูตรและกรีส (ปัสสาวะ และอุจจาระ) ของช้างทั้งหลาย ชนิดที่เป็นชั้น จ่าเจนสงครามเข้าแล้ว ก็ระย่อ ห่อหด ถดถอยเสีย ไม่อาจจะเข้าสู่ที่รบ. ภิกษุ ท. ! ช้างหลวง อย่างนี้ ชื่อว่า ไม่อดทนต่อกลิ่นทั้งหลาย.

            ภิกษุ ท. ! ช้างหลวงที่ไม่อดทนต่อรสทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ช้างหลวง เมื่อออกศึก เมื่อไม่ได้รับการทอดหญ้า และ นํ้ามื้อหนึ่งหรือสองมื้อ สามมื้อ สี่มื้อ หรือห้ามื้อ แล้วก็ระย่อ ห่อหด ถดถอยเสีย ไม่อาจจะเข้าสู่ที่รบ. ภิกษุ ท. ! ช้างหลวงอย่างนี้ชื่อว่า ไม่อดทนต่อรสทั้งหลาย.

            ภิกษุ ท. ! ช้างหลวงที่ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะทั้งหลาย เป็นอย่างไร เล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณี นี้ช้างหลวงเมื่อออกศึก อย่างเร็วกะทันหันเข้าหนึ่งลูก หรือสองลูก สามลูก สี่ลูก ก็ระย่อ ห่อหด ถดถอย อยู่เสีย ไม่อาจจะเข้าสู่ที่รบ. ภิกษุ ท. ! ชื่อว่า ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะทั้งหลาย. ถูกศรที่เขา ยิงมาหรือห้า
ลูกแล้ว ช้างหลวงอย่างนี้

            ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน : ภิกษุเมื่อประกอบด้วยเหตุห้าอย่างแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ควรแก่ของบูชา ไม่ควรแก่ ของต้อนรับ ไม่ควรแก่ของทำบุญ ไม่ควรทำอัญชลี ไม่เป็นเนื้อนาบุญของโลกอย่าง ดีเยี่ยม. เหตุห้าอย่างอะไรกันเล่า ? เหตุห้าอย่างคือ ภิกษุในกรณีนี้เป็นผู้ไม่อดทนต่อ รูปทั้งหลาย ไม่อดทน ต่อเสียงทั้งหลาย ไม่อดทนต่อกลิ่นทั้งหลาย ไม่อดทนต่อรส ทั้งหลาย ไม่อดทน ต่อโผฏฐัพพะทั้งหลาย.

            ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อรูปทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ได้เห็นรูปด้วยตาแล้ว ติดใจยินดีในรูปอันเป็นที่ตั้ง แห่งความกำหนัด ยินดี ไม่อาจจะตั้งจิตเป็นกลางอยู่ได้. ภิกษุ ท. ! ภิกษุอย่างนี้ชื่อว่า ไม่อดทนต่อรูป ทั้งหลาย.

            ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อเสียงทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ได้ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ติดใจยินดีในเสียงอันเป็น ที่ตั้งแห่งความ กำหนัด ยินดีไม่อาจจะตั้งจิต เป็นกลาง อยู่ได้. ภิกษุ ท. ! ภิกษุอย่างนี้ชื่อว่า ไม่อดทนต่อเสียง ทั้งหลาย.

            ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อกลิ่นทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ติดใจยินดีในกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่ง ความ กำหนัด ยินดีไม่อาจจะตั้งจิตเป็นกลาง อยู่ได้. ภิกษุ ท. ! ภิกษุอย่างนี้ชื่อว่า ไม่อดทน ต่อกลิ่นทั้งหลาย.

            ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อรสทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ติดใจยินดีในรสอันเป็นที่ตั้ง แห่งความกำหนัด ยินดี ไม่อาจจะตั้งจิตเป็นกลางอยู่ได้. ภิกษุ ท. ! ภิกษุอย่างนี้ชื่อว่า ไม่อดทนต่อรสทั้งหลาย.

            ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะทั้งหลาย เป็นอย่างไร เล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุใน กรณีนี้ได้สัมผัสโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ติดใจ ยินดีในโผฏฐัพพะ อันเป็นที่ตั้ง แห่งความกำหนัดยินดี ไม่อาจจะตั้งจิตเป็นกลาง อยู่ได้. ภิกษุ ท. ! ภิกษุอย่างนี้ชื่อว่า ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะทั้งหลาย.

            ภิกษุ ท. ! ภิกษุเมื่อประกอบด้วยเหตุห้าอย่างนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ควร แก่ของบูชา ไม่ควรแก่ของ ต้อนรับ ไม่ควรแก่ของทำบุญ ไม่ควร ทำอัญชลีไม่เป็น เนื้อนาบุญ ของโลกอย่าง ดีเยี่ยมเลย.


 
 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์