|
(โดยย่อ)
ปาฏิหาริย์ ๓ อย่างเป็นไฉน?
1.) อิทธิปาฏิหาริย์ .. มีฤทธิ์ หายตัวได้ เดินทะลุกำแพงได้ เดินบนน้ำ หายตัวได้
2.) อาเทสนาปาฏิหาริย์ ..ทายใจ ทายความรู้สึกของจิต ทายความตรึก ทายความคิด
3.) อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ... สอนให้เห็นสัจจะ ท่านจงตรึกอย่างนี้ ๆ อย่าตรึกอย่างนั้น ๆ
เกวัฏฏ์ บุตรคฤหบดี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้กราบทูลว่า นาลันทาเป็นเมืองมั่งคั่ง สมบูรณ์ มีผู้คนที่เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเป็นอย่างยิ่ง ขอประทานโอกาสเถิดพระเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาค ทรงชี้ภิกษุสักรูปหนึ่ง ที่จักกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ อันเป็นธรรมที่ยิ่งยวดของมนุษย์ ชาวเมืองนาลันทา นี้จักเลื่อมใส ในพระผู้มีพระภาคเป็นอย่างยิ่ง ... แม้กราบทูลครั้งที่ 2 แม้ครั้งที่ 3
---------------------------------------------------------------------------------
ดูกรเกวัฏฏ์ ปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้ เราทำให้แจ้งด้วยปัญญา อันยิ่งด้วยตนเองแล้ว จึงได้ประกาศให้รู้ คือ 1) อิทธิปาฏิหาริย์ 2) อาเทสนาปาฏิหาริย์ 3)อนุสาสนีปาฏิหาริย์
อิทธิปาฏิหาริย์เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือคนเดียวเป็นหลาย คน หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพง ภูเขาไปได้ ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่าง ก็ได้ …
เมื่อผู้ศรัทธาตถาคตเห็นแล้ว ก็จะบอกแก่ ผู้ยังไม่มีศรัทธาว่า อัศจรรย์จริงหนอ เป็นเช่นนี้คนผู้ไม่มี ศรัทธาไม่เลื่อมใสนั้น ก็จะกล่าวว่าไม่ต่างกับ วิชา “ คันธารี ” (ที่พวกฤาษีเขาก็ทำได้) ดูกรเกวัฏฏ์ เราเล็งเห็นโทษในอิทธิปาฏิหาริย์อย่างนี้แล จึงอึดอัด ระอา เกลียดอิทธิปาฏิหาริย์
ก็อาเทสนาปาฏิหาริย์เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทายใจ ทายความรู้สึกในใจ ทายความนึก คิด ทายความตรองของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นได้ว่า ใจของท่าน เป็นอย่างนี้ ….. เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้ไม่มี ศรัทธาเลื่อมใส ก็จะกล่าวว่าท่านว่า ภิกษุรูปนั้น ทายใจ ทายความรู้สึกในใจ ทายความนึกคิด ด้วยวิชาชื่อว่า “มณิกา” ดูกรเกวัฏฏ์ เราเล็งเห็นโทษในอาเทสนาปาฏิหาริย์อย่างนี้แล จึงอึดอัด ระอา เกลียด อาเทสนาปาฏิหาริย์
ก็อนุสาสนีปาฏิหาริย์เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพร่ำสอนอย่างนี้ว่า ท่านจงตรึกอย่างนี้ อย่าตรึกอย่างนั้น จงทำในใจอย่างนี้ อย่าทำในใจอย่างนั้นจงละสิ่งนี้ จงเข้าถึงสิ่งนี้อยู่เถิด นี้เรียก อนุสาสนีปาฏิหาริย์ อีกข้อหนึ่ง พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เอง โดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่ง กว่า เป็นศาสดาของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ...
ทรงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้นเชิง คฤหบดี บุตรคฤหบดี หรือผู้เกิด เฉพาะในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ย่อมฟังธรรมนั้น
|
|