เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  วรรณะพราหมณ์ วรรณะที่ประเสริฐคือพราหมณ์ วรรณะอื่นเลว 283  
 
 


วรรณะพราหมณ์ (เชื่อกันอย่างนี้ว่าบริสุทธิ์)
1.วรรณะที่ประเสริฐคือพราหมณ์ วรรณะอื่นเลว
2.วรรณะสีขาวคือพราหมณ์ วรรณะอื่นดำ
3.วรรณะพราหมณ์บริสุทธิ์ วรรณะอื่นไม่บริสุทธิ์
4.วรรณะพราหมณ์เท่านั้นที่เป็นโอรส เป็นทายาทของพระพรหม พรหมเนรมิตขึ้น
5.วรรณะพราหมณ์ พระพรหมเป็นผู้สร้าง บุตรเกิดจากอุระ เกิดจากปากของพรหม มีกำเนิดมาจากพรหม

วรรณะอื่น (ไม่บริสุทธิ์)
เช่น สมณะโล้น เป็นคนรับใช้ เป็นคนวรรณะต่ำ เป็นเผ่าของมาร เกิดจากเท้าของพระพรหม

วาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็ปรากฏชัดอยู่ว่า นางพราหมณีทั้งหลาย มีระดูบ้าง มีครรภ์บ้าง คลอดอยู่บ้าง ให้ลูกดื่มนมบ้าง ก็พราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้เกิดทางช่องคลอดของ นางพราหมณี ทั้งนั้น ยังกล่าวอย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ ประเสริฐ ที่สุด คือพราหมณ์เท่านั้น ฯลฯ เป็นทายาทของ พระพรหม’ ก็พราหมณ์ เหล่านั้น กล่าวตู่พรหมและพูดเท็จ พวกเขาจะต้องประสบ สิ่งที่ไม่ใช่บุญ เป็นอันมาก

 
 


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ]

เรื่อง วรรณะพราหมณ์
(ตรัสกับสามเณรชื่อ วาเสฏฐะและ ภารทวาชะ)


             [๑๑๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ ปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตา ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น สามเณรชื่อ วาเสฏฐะ และสามเณร ชื่อ ภารทวาชะ หวังความเป็นภิกษุ จึงอยู่อบรมในสำนักของภิกษุทั้งหลาย ครั้นในเวลา เย็น พระผู้มีพระภาคทรงออกจากการ หลีกเร้นแล้ว ได้เสด็จลงจากปราสาท ทรงจง กรมอยู่ในที่กลางแจ้งที่ร่มเงาปราสาท (แม้ตถาคตผู้ตรัสรู้แล้วยังเดินจงกรม)
* วิสาขา-อุบาสก เป็นเอตทัคคะฝ่ายทายิกา- ถวายทาน

             [๑๑๒] สามเณรชื่อวาเสฏฐะ ได้เห็นพระผู้มีพระภาค ทรงออกจากการ หลีกเร้น เสด็จลงจากปราสาทแล้ว ทรงจงกรมอยู่ในที่กลางแจ้ง ที่ร่มเงาปราสาท ในเวลาเย็น จึงเรียกสามเณรชื่อภารทวาชะมากล่าวว่า “คุณภารทวาชะ พระผู้มีพระ ภาคนี้ทรง ออกจากการหลีกเร้น เสด็จลงจากปราสาท ทรงจงกรมอยู่ในที่กลางแจ้ง ที่ร่มเงา ของปราสาทในเวลาเย็น มาเถิด เราจักไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ เราควร จะได้ฟังธรรมีกถาเฉพาะพระพักตร์ ของพระผู้มีพระภาคบ้าง”

ภารทวาช สามเณรก็ รับคำแล้ว

             [๑๑๓] ครั้งนั้น วาเสฏฐสามเณรและภารทวาชสามเณร พากันเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้เดินจงกรมตาม
เสด็จพระผู้มีพระภาคซึ่งกำลังทรงจงกรมอยู่ พระผู้มีพระภาคจึงรับสั่งเรียกว่าเสฏฐ
สามเณร และภารทวาชสามเณร มาตรัสว่า “วาเสฏฐะและภารทวาชะ เธอทั้งสองมี
ชาติเป็นพราหมณ์ มีตระกูลเป็นพราหมณ์ ออกจากตระกูลของพราหมณ์ บวชเป็น
บรรพชิต
พวกพราหมณ์ไม่ด่าไม่บริภาษเธอทั้งสองบ้างหรือ

     “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกพราหมณ์ด่าบริภาษข้าพระองค์ทั้งสอง ด้วยคำ เหยียด หยามอย่างสมใจเต็มรูปแบบ ไม่ใช่ไม่เต็มรูปแบบ

     “ก็พวกพราหมณ์ด่าบริภาษเธอทั้งสอง ด้วยคำเหยียดหยามอย่างสมใจ เต็มรูปแบบ ไม่ใช่ไม่เต็มรูปแบบอย่างไร”

     “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกพราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า‘ วรรณะที่ประเสริฐ ที่สุด คือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว วรรณะที่ขาวคือพราหมณ์ เท่านั้น วรรณะอื่นดำ พราหมณ์เท่านั้นบริสุทธิ์ ผู้ที่ไม่ใช่พราหมณ์ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์เท่านั้น เป็นบุตร เป็นโอรสเกิดจากโอษฐ์ของพระพรหม เกิดจากพระพรหม เป็นผู้ที่ พระพรหมสร้างขึ้น เป็นทายาทของพระพรหม เจ้าทั้งสองมาละวรรณะที่ประสริฐที่สุด เข้าไปอยู่ในวรรณะ ที่เลวทราม คือ สมณะโล้น เป็นคนรับใช้ เป็นคนวรรณะต่ำ (กัณหโคตร) เป็นเผ่าของ มาร เกิดจากพระบาทของพระพรหม

      เธอทั้งสองมาละ วรรณะที่ประเสริฐ ที่สุด เข้าไปอยู่ในวรรณะที่เลวทราม คือ สมณะโล้น เป็นคนรับใช้ เป็นคนวรรณะต่ำ เป็นเผ่า ของมาร เกิดจากพระบาทของ พระพรหมนี้ ไม่เป็นความดี ไม่เป็นการสมควรเลย’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวก พราหมณ์ ได้พากันด่า บริภาษข้าพระองค์ ทั้งสองด้วย ถ้อยคำเหยียดหยามอย่าง สมใจ เต็มรูปแบบ ไม่ใช่ไม่เต็มรูปแบบอย่างนี้”

             [๑๑๔] “วาเสฏฐะและภารทวาชะ พวกพราหมณ์ระลึกถึงเรื่องเก่า ของตน ไม่ได้ จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุด คือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว วรรณะที่ขาวคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นดำ พราหมณ์เท่านั้นบริสุทธิ์ ผู้ที่ไม่ใช่ พราหมณ์ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์เท่านั้นเป็นบุตร เป็นโอรส เกิดจากโอษฐ์ของ พระพรหม เกิดจากพระพรหม เป็นผู้ที่พระพรหมสร้างขึ้น เป็นทายาทของพระพรหม’

      วาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็ปรากฏชัดอยู่ว่า
นางพราหมณีของพราหมณ์ ทั้งหลาย มีระดูบ้าง มีครรภ์บ้าง คลอดอยู่บ้าง ให้ลูกดื่มนมบ้าง ก็พราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้เกิดทางช่องคลอดของ นางพราหมณีทั้งนั้น ยังกล่าวอย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ ประเสริฐ ที่สุด คือพราหมณ์เท่านั้น ฯลฯ เป็นทายาทของพระพรหม’ ก็พราหมณ์ เหล่านั้น กล่าวตู่พรหมและพูดเท็จ พวกเขาจะต้องประสบสิ่งที่ไม่ใช่บุญ เป็นอันมาก

ความบริสุทธิ์แห่งวรรณะ ๔

             [๑๑๕] วาเสฏฐะและภารทวาชะ วรรณะ ๔ เหล่านี้ คือ (๑) กษัตริย์
(๒) พราหมณ์ (๓) แพศย์ (๔) ศูทร

        ๑. แม้กษัตริย์บางพระองค์ในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของ
เขาไม่ได้ให้ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูด
ส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เพ่งเล็งอยากได้ของของเขา มีจิตพยาบาท เห็นผิด ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ธรรมเหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็น อกุศล มีโทษ นับว่ามีโทษ ไม่ควรประพฤติ นับว่าไม่ควรประพฤติ ไม่สามารถเป็นอริยธรรม นับว่าไม่สามารถเป็นอริยธรรม เป็น
ธรรมดำ๑- มีวิบากดำ๒- ที่วิญญูชนติเตียน ธรรมเหล่านั้นปรากฏอย่างชัดเจนใน กษัตริย์บางพระองค์ในโลกนี้
        ๒. แม้พราหมณ์ ...
        ๓. แม้แพศย์ ...
        ๔. แม้ศูทรบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขา ไม่ได้ให้ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เพ่งเล็ง อยากได้ ของของเขา มีจิตพยาบาท เห็นผิด ด้วยประการ ดังกล่าวมานี้ ธรรมเหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศล มีโทษ นับว่ามีโทษ ไม่ควรประพฤติ นับว่าไม่ควรประพฤติ ไม่สามารถเป็นอริยธรรม นับว่าไม่สามารถเป็นอริยธรรม เป็นธรรมดำ มีวิบากดำที่ วิญญูชน ติเตียน ธรรมเหล่านั้นปรากฏอย่างชัดเจน ในศูทรบางคนในโลกนี้
            
วาเสฏฐะและภารทวาชะ

      ๑. แม้กษัตริย์บางพระองค์ในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการ ฆ่าสัตว์ เว้นขาดจาก การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขา ไม่ได้ให้ เว้นขาดจากการ ประพฤติผิดในกาม
เว้นขาด จากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาด จากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ ของของเขา มีจิตไม่พยาบาท เห็นชอบด้วย ประการดังกล่าวมานี้ ธรรมเหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ไม่มี โทษ นับว่าไม่มีโทษ ควรประพฤติ นับว่าควรประพฤติ สามารถเป็นอริยธรรม นับว่าสามารถ เป็นอริยธรรม เป็นธรรมขาว มีวิบากขาว ที่วิญญูชนสรรเสริญ ธรรมเหล่านั้นปรากฏ อย่าง ชัดเจนในกษัตริย์บางพระองค์ในโลกนี้
     ๒. แม้พราหมณ์ ...
     ๓. แม้แพศย์ ...
     ๔. แม้ศูทรบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ... ไม่เพ่งเล็ง อยากได้ ของของเขา มีจิตไม่พยาบาท เห็นชอบ ด้วยประการ ดังกล่าวมานี้ ธรรมเหล่าใด เป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ไม่มีโทษ นับว่าไม่มีโทษ ควรประพฤติ นับว่าควรประพฤติ สามารถเป็น อริยธรรม นับว่าสามารถเป็นอริยธรรม เป็นธรรมขาว มีวิบาก ขาว ที่วิญญูชน สรรเสริญ ธรรมเหล่านั้นปรากฏอย่างชัดเจนใน ศูทรบางคนในโลกนี้

             [๑๑๖] วาเสฏฐะและภารทวาชะ เมื่อวรรณะ ๔ เหล่านี้ รวมกันเป็นบุคคล
๒ จำพวก คือ
     ๑. พวกที่ดำรงอยู่ในธรรมดำที่วิญญูชนติเตียนจำพวกหนึ่ง
     ๒. พวกที่ดำรงอยู่ในธรรมขาวที่วิญญูชนสรรเสริญจำพวกหนึ่ง ในเรื่องนี้ พวก พราหมณ์ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุด คือพราหมณ์ เท่านั้น วรรณะอื่น เลว วรรณะที่ขาวคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นดำ พราหมณ์เท่านั้นบริสุทธิ์ ผู้ที่ไม่ใช่ พราหมณ์ ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์เท่านั้นเป็นบุตร เป็นโอรสเกิดจากโอษฐ์ของพระพรหม เกิดจากพระพรหม เป็นผู้ที่พระพรหมสร้างขึ้น เป็น ทายาทของพระพรหม’ วิญญูชน ทั้งหลายย่อมไม่รับรองถ้อยคำของพราหมณ์เหล่านั้น

     ข้อนั้นเพราะเหตุไร

      เพราะว่า บรรดาวรรณะ ๔ เหล่านี้ ผู้ใดเป็นภิกษุอรหันต ขีณาสพ อยู่จบ พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว๓- บรรลุประโยชน์ ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ ผู้นั้นเรียกได้ว่า เป็นผู้เลิศกว่าคนทั้งหลายในวรรณะ ๔ เหล่านั้น โดยธรรมเท่านั้น ไม่ใช่โดยอธรรม เพราะธรรมเท่านั้นประเสริฐที่สุดในหมู่ชนทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

             [๑๑๗] วาเสฏฐะและภารทวาชะ โดยเหตุผลนี้ เธอทั้งสองพึงทราบเถิดว่า
‘ธรรมเท่านั้นประเสริฐที่สุดในหมู่ชนทั้งในโลกนี้และโลกหน้า’ วาเสฏฐะ และ ภารทวาชะ พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงทราบว่า ‘พระสมณโคดม เสด็จออกผนวช จากศากยตระกูลที่เท่าเทียมกัน’ ดังนี้ ก็พวกศากยะยังต้องตามเสด็จพระเจ้าปเสน ทิโกศลอยู่ตลอดเวลา และพวกเจ้าศากยะยังต้องกระทำการนอบน้อมการอภิวาท การต้อนรับ อัญชลีกรรม และสามีจิกรรม ในพระเจ้าปเสนทิโกศลอยู่ ด้วยประการ ดังว่ามานี้

      พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงกระทำการนอบน้อม การอภิวาท การต้อนรับ อัญชลี กรรม และสามีจิกรรมนั้นในเราตถาคต ดังที่พวกเจ้าศากยะกระทำการนอบน้อม การอภิวาท การต้อนรับ อัญชลีกรรม และสามีจิกรรม ในพระเจ้าปเสนทิโกศล พระองค์ มิได้ทรงกระทำการนอบน้อม การอภิวาท การต้อนรับ อัญชลีกรรม และสามีจิกรรมนั้น ด้วยทรงดำริว่า ‘พระสมณโคดมมีพระ ชาติกำเนิดดี เราเองมีชาติ กำเนิดไม่ดี พระสมณโคดม ทรงแข็งแรง เราเองไม่แข็งแรง พระสมณโคดม มีผิวพรรณ ผ่องใส เราเองมีผิวพรรณเศร้าหมอง พระสมณโคดม เป็นผู้สูงศักดิ์ เราเองเป็น ผู้ต่ำศักดิ์’ โดยที่แท้

      พระองค์เมื่อจะทรงสักการะธรรม เคารพธรรม นับถือธรรม บูชาธรรม นอบน้อม ธรรม จึงทรงกระทำการนอบน้อม การอภิวาท การต้อนรับ อัญชลีกรรม และสามีจิกรรม ในเราตถาคตอย่างนี้ โดย เหตุผลนี้ เธอพึงทราบ อย่างนี้ว่า ‘ธรรมเท่านั้น ประเสริฐ ที่สุด ในหมู่ชนทั้งในโลกนี้และ โลกหน้า’

             [๑๑๘] วาเสฏฐะและภารทวาชะ เธอทั้งสองมีชาติกำเนิดต่างกัน มีชื่อ
ต่างกัน มีโคตรต่างกัน มีตระกูลต่างกัน ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อมีผู้
ถามว่า ‘ท่านเป็นพวกไหน’ พึงตอบเขาว่า ‘เราเป็นพวกพระสมณศากยบุตร’ ดังนี้เถิด
ผู้ใดแลมีศรัทธาตั้งมั่นในตถาคต เกิดแต่ราก ประดิษฐานมั่นคงที่สมณพราหมณ์
เทพ มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกให้หวั่นไหวไม่ได้ ควรจะเรียกผู้นั้นว่า ‘เป็นบุตร
เป็นโอรส เกิดจากพระโอษฐ์ของพระผู้มีพระภาค เกิดจากพระธรรม อันพระธรรม
เนรมิตขึ้น เป็นทายาทของพระธรรม’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคำว่า ‘ธรรมกาย’ ก็ดี
‘พรหมกาย’ ก็ดี ‘ธรรมภูต’ ก็ดี ‘พรหมภูต’ ก็ดี ล้วนเป็นชื่อของตถาคต

             [๑๑๙] วาเสฏฐะและภารทวาชะ สมัยหนึ่ง ครั้นเวลาล่วงเลยมาช้านาน
โลกนี้เสื่อม เมื่อโลกกำลังเสื่อม เหล่าสัตว์ส่วนมากไปเกิดที่พรหมโลกชั้นอาภัสสระ
นึกคิดอะไรก็สำเร็จได้ตามปรารถนา มีปีติเป็นภักษา มีรัศมีซ่านออกจากร่างกาย
เที่ยวสัญจรไปในอากาศ อยู่ในวิมานอันงดงาม สถิตอยู่นานแสนนาน

      สมัยหนึ่ง ครั้นเวลาล่วงเลยมาช้านาน โลกนี้เจริญขึ้น เมื่อโลกกำลังเจริญ ขึ้น เหล่าสัตว์ส่วนมากจุติจากพรหมโลกชั้นอาภัสสระ มาเป็นอย่างนี้นึกคิด อะไร ก็สำเร็จ ได้ตามปรารถนา มีปีติเป็นภักษา มีรัศมีซ่านออกจากร่างกาย เที่ยวสัญจรไปใน อากาศ อยู่ในวิมานอันงดงาม สถิตอยู่นานแสนนาน

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๑ สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค หน้าที่ ๖๕

(อีกพระสูตรหนึ่ง)
๔. อัคคัญญสูตร
(เรื่องวรรณะพราหมณ์)

            [๕๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารบุพพาราม เป็นปราสาทของนาง วิสาขา มิคารมารดา เขตพระนครสาวัตถี ก็โดยสมัยนั้นแล วาเสฏฐสามเณร กับ ภารทวาช สามเณร เมื่อจำนงความเป็นภิกษุอยู่  อยู่อบรมในสำนักภิกษุทั้งหลาย เย็นวันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เสด็จลงจากปราสาทแล้ว ทรงจงกรมอยู่ ณ ที่แจ้ง ในร่มเงาปราสาท วาเสฏฐสามเณร ได้เห็นพระผู้มีพระภาค เสด็จออกจากที่หลีกเร้น เสด็จลงจาก ปราสาท กำลังเสด็จจงกรม อยู่ในที่แจ้ง ในร่มเงาปราสาท ในเวลาเย็น

ครั้นแล้ว จึงเรียกภารทวาชสามเณรมา พูดว่า

      "ดูกรภารทวาชะผู้มีอายุ นี้พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น ในเวลาเย็น เสด็จลงจากปราสาท ทรงจงกรมอยู่ ณ ที่แจ้งในร่มเงาปราสาท เรามาไปกันเถิด พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ บางทีเราจะได้ฟัง ธรรมีกถา เฉพาะ พระพักตร์ของพระองค์บ้าง เป็นแม่นมั่น"

     ส่วนภารทวาชสามเณร รับคำของวาเสฏฐสามเณรแล้ว ทันใดนั้น วาเสฏฐสามเณร กับภารทวาชสามเณร พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วชวนกันเดินตามเสด็จพระองค์ ผู้กำลังเสด็จจงกรมอยู่

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกวาเสฏฐสามเณรมา แล้วตรัสว่า

            "ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ เธอทั้งสองมีชาติเป็นพราหมณ์ มีตระกูล เป็นพราหมณ์ ออกบวชจากตระกูลพราหมณ์ ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ พวกพราหมณ์ ไม่ด่าว่าเธอ ทั้งสองบ้างดอกหรือ ฯ"

     สามเณรทั้งสองนั้นจึงกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกพราหมณ์พากัน ด่าว่า ข้าพระองค์ทั้ง ๒ ด้วยคำเหยียดหยาม อย่างสมใจ อย่างเต็มที่ ไม่มีลดหย่อนเลย"

     พระผู้มีพระภาคจึงตรัสถามต่อไปว่า "ก็พวกพราหมณ์พากันด่าว่า เธอทั้งสอง ด้วยถ้อยคำอันเหยียดหยาม อย่างสมใจ อย่างเต็มที่ ไม่มีลดหย่อน อย่างไรเล่า"

     สามเณรทั้งสองกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกพราหมณ์พากันว่า อย่างนี้ว่า' พราหมณ์พวกเดียว เป็นวรรณะที่ประเสริฐที่สุดวรรณะอื่นเลวทราม พราหมณ์พวกเดียว เป็นวรรณะขาว พวกอื่นเป็นวรรณะดำพราหมณ์พวกเดียว บริสุทธิ์ พวกอื่นนอกจาก พราหมณ์ หาบริสุทธิ์ไม่พวกพราหมณ์เป็นบุตรเกิดจากอุระ เกิดจากปากของพรหม มีกำเนิดมาจากพรหม พรหมเนรมิตขึ้น เป็นทายาทของพรหม

     เจ้าทั้งสองคน มาละวรรณะที่ประเสริฐที่สุดเสีย แล้วไปเข้ารีดวรรณะที่เลวทราม คือ พวกสมณะที่มีศีรษะโล้น เป็นพวกคฤหบดี เป็นพวกดำ เป็นพวกเกิดจากเท้าของ พรหมเจ้า ทั้งสองคน มาละพวกที่ประเสริฐที่สุดใดเสีย ไปเข้ารีดวรรณะเลวทราม คือพวก สมณะ ที่มีศีรษะโล้น เป็นพวกคฤหบดี เป็นพวกดำ เป็นพวกเกิดจากเท้า ของพรหมข้อนั้นไม่ดี ไม่สมควรเลย'

     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกพราหมณ์พากันด่าว่าข้าพระองค์ทั้งสอง ด้วยถ้อยคำ ที่เหยียดหยาม อย่างสมใจ อย่างเต็มที่ ไม่มีลดหย่อนเลย อย่างนี้แล"

พระองค์จึงตรัสว่า"ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ พวกพราหมณ์ ระลึกถึงเรื่องเก่าของ พวกเขาไม่ได้ จึงพากันพูดอย่างนี้

     'พราหมณ์พวกเดียว เป็นวรรณะที่ประเสริฐที่สุดวรรณะอื่นเลวทราม พราหมณ์พวกเดียว เป็นวรรณะขาว พวกอื่นเป็นวรรณะดำพราหมณ์พวกเดียว บริสุทธิ์ พวกอื่นนอกจาก พราหมณ์ หาบริสุทธิ์ไม่พวกพราหมณ์เป็นบุตรเกิดจากอุระ เกิดจากปากของพรหม มีกำเนิดมาจากพรหม พรหมเนรมิตขึ้น เป็นทายาทของพรหม' ดังนี้

     ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็ตามที่ปรากฏอยู่แล คือ นางพราหมณีทั้งหลาย ของพวกพราหมณ์ มีระดูบ้าง มีครรภ์บ้าง คลอดอยู่บ้าง ให้ลูกกินนมอยู่บ้างอันที่จริง พวกพราหมณ์เหล่านั้น ก็ล้วนแต่เกิดจากช่องคลอดของนางพราหมณีทั้งนั้น พากันอวดอ้างอย่างนี้ว่า

     'พราหมณ์พวกเดียว เป็นวรรณะที่ประเสริฐที่สุดวรรณะอื่นเลวทราม พราหมณ์ พวกเดียว เป็น วรรณะขาว พวกอื่นเป็นวรรณะดำพราหมณ์พวกเดียว บริสุทธิ์ พวกอื่น นอกจาก พราหมณ์ หาบริสุทธิ์ไม่พวกพราหมณ์เป็นบุตรเกิดจากอุระ เกิดจากปากของ พรหม มีกำเนิดมาจากพรหม พรหมเนรมิตขึ้น เป็นทายาทของพรหม' เขาเหล่านั้น กล่าวตู่พรหม และพูดเท็จ ก็จะประสบแต่บาปเป็นอันมาก ฯ

            [๕๒] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ วรรณะเหล่านี้ มีอยู่สี่ คือ
๑.กษัตริย์
๒.พราหมณ์
๓.แพศย์
๔.ศูทร

     ก็กษัตริย์บางพระองค์ในโลกนี้ มีปรกติฆ่าสัตว์ มีปรกติลักทรัพย์ มีปรกติประพฤติ ผิดในกามทั้งหลาย มีปรกติพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ละโมภมาก คิดปองร้ายผู้อื่น มีความเห็นผิด

     ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ด้วยประการดังที่กล่าวมานี้แล ธรรมเหล่าใดเป็น อกุศล นับว่าเป็นอกุศล เป็นธรรมมีโทษ นับว่าเป็นธรรมมีโทษ เป็นธรรมไม่ควรเสพ นับว่าเป็น ธรรมไม่ควรเสพ ไม่ควรเป็นอริยธรรม นับว่าไม่ควรเป็นอริยธรรม เป็นธรรมดำ มีวิบากดำ วิญญูชนติเตียน อกุศลธรรมเหล่านั้น มีปรากฏอยู่ แม้ในกษัตริย์ บางพระองค์ในโลกนี้

     ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ แม้พราหมณ์บางคนในโลกนี้ มีปรกติฆ่าสัตว์ มีปรกติ ลักทรัพย์ มีปรกติประพฤติผิดในกามทั้งหลาย มีปรกติพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ละโมภมาก คิดปองร้ายผู้อื่น มีความเห็นผิด

     ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ด้วยประการดังที่กล่าวมานี้แล ธรรมเหล่าใดเป็น อกุศล นับว่าเป็นอกุศลเป็นธรรมมีโทษ นับว่าเป็นธรรมมีโทษเป็นธรรมไม่ควรเสพ นับว่าเป็น ธรรมไม่ควรเสพไม่ควรเป็นอริยธรรม นับว่าไม่ควรเป็นอริยธรรมเป็นธรรมดำ มีวิบากดำ วิญญูชนติเตียนอกุศลธรรมเหล่านั้น มีปรากฏอยู่ แม้ในพราหมณ์บางคนในโลกนี้

     ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ แม้แพศย์บางคนในโลกนี้มีปรกติฆ่าสัตว์ มีปรกติ ลักทรัพย์ มีปรกติประพฤติผิดในกามทั้งหลายมีปรกติพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อละโมภมาก คิดปองร้ายผู้อื่น มีความเห็นผิดดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ด้วยประการดังที่กล่าวมานี้แลธรรมเหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศลเป็นธรรมมีโทษ นับว่าเป็นธรรมมีโทษเป็นธรรมไม่ควรเสพ นับว่าเป็นธรรมไม่ควรเสพไม่ควร เป็น อริยธรรม นับว่าไม่ควรเป็นอริยธรรมเป็นธรรมดำ มีวิบากดำ วิญญูชนติเตียนอกุศลธรรม เหล่านั้น มีปรากฏอยู่ แม้ในแพศย์บางคนในโลกนี้

     ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ แม้ศูทรบางคนในโลกนี้มีปรกติฆ่าสัตว์ มีปรกติ ลักทรัพย์ มีปรกติประพฤติผิดในกามทั้งหลายมีปรกติพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อละโมภมาก คิดปองร้ายผู้อื่น มีความเห็นผิดดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ด้วยประการดังที่กล่าวมานี้แลธรรมเหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศลเป็นธรรมมีโทษ นับว่าเป็นธรรมมีโทษเป็นธรรมไม่ควรเสพ นับว่าเป็นธรรมไม่ควรเสพไม่ควรเป็น อริยธรรม นับว่าไม่ควรเป็นอริยธรรมเป็นธรรมดำ มีวิบากดำ วิญญูชนติเตียนอกุศลธรรม เหล่านั้น มีปรากฏอยู่ แม้ในศูทรบางคนในโลกนี้ ฯ

            [๕๓] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ฝ่ายกษัตริย์บางพระองค์ในโลกนี้ เป็นผู้ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เป็นผู้เว้นขาดจาก การประพฤติผิดในกาม เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ เป็นผู้เว้นขาดจากการพูด ส่อเสียด เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่ละโมภมาก ไม่คิดปองร้ายผู้อื่น มีความเห็นชอบ

     ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ด้วยประการดังที่กล่าวมานี้แลธรรมเหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศลเป็นธรรมไม่มีโทษ นับว่าเป็นธรรมไม่มีโทษเป็นธรรมที่ควรเสพ นับว่าเป็นธรรมที่ควรเสพควรเป็นอริยธรรม ควรนับว่าเป็นอริยธรรมเป็นธรรมขาว มีวิบากขาว วิญญูชนสรรเสริญธรรมเหล่านั้นมีปรากฏอยู่ แม้ในกษัตริย์บางพระองค์ ในโลกนี้

     ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ แม้พราหมณ์บางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการ ฆ่าสัตว์ เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เป็นผู้เว้นขาดจาก การประพฤติผิดในกาม เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เป็นผู้เว้นขาดจาก การพูด คำหยาบ เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อไม่ละโมภมาก ไม่คิดปองร้ายผู้อื่น มีความเห็นชอบดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ

     ด้วยประการดังที่กล่าวมานี้แลธรรมเหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศลเป็นธรรม ไม่มีโทษ นับว่าเป็นธรรมไม่มีโทษเป็นธรรมที่ควรเสพ นับว่าเป็นธรรมที่ควรเสพ ควรเป็นอริยธรรม ควรนับว่าเป็นอริยธรรมเป็นธรรมขาว มีวิบากขาว วิญญูชนสรรเสริญ ธรรมเหล่านั้น มีปรากฏอยู่ แม้ในพราหมณ์บางคนในโลกนี้

     ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ แม้แพศย์บางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการ ฆ่าสัตว์ เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เป็นผู้เว้นขาดจาก การประพฤติผิดในกาม เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ เป็นผู้เว้นขาดจาก การพูด ส่อเสียด เป็นผู้เว้นขาดจาก การพูดคำหยาบ เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่ละโมภมาก ไม่คิดปองร้ายผู้อื่น มีความเห็นชอบ

     ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ด้วยประการดังที่กล่าวมานี้แล ธรรมเหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล เป็นธรรมไม่มีโทษ นับว่าเป็นธรรมไม่มีโทษ เป็นธรรมที่ควรเสพ นับว่าเป็นธรรมที่ควรเสพ ควรเป็นอริยธรรม ควรนับว่าเป็นอริยธรรม เป็นธรรมขาว มีวิบากขาว วิญญูชนสรรเสริญ ธรรมเหล่านั้นมีปรากฏอยู่ แม้ในแพศย์บางคนในโลกนี้

     ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ แม้ศูทรบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการ ฆ่าสัตว์ เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เป็นผู้เว้นขาดจาก การประพฤติผิดในกาม เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เป็นผู้เว้นขาดจาก การพูดคำหยาบ เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อไม่ละโมภมาก ไม่คิดปองร้ายผู้อื่น มีความเห็นชอบ

     ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ด้วยประการดังที่กล่าวมานี้แล ธรรมเหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล เป็นธรรมไม่มีโทษ นับว่าเป็นธรรมไม่มีโทษ เป็นธรรมที่ควรเสพ นับว่าเป็นธรรมที่ควรเสพ ควรเป็นอริยธรรม ควรนับว่าเป็นอริยธรรม เป็นธรรมขาว มีวิบากขาว วิญญูชนสรรเสริญ ธรรมเหล่านั้นมีปรากฏอยู่ แม้ในศูตรบางคนในโลกนี้

     ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็เมื่อวรรณะทั้งสี่เหล่านี้แล รวมเป็นบุคคลสอง จำพวก คือ พวกที่ตั้งอยู่ในธรรมดำ วิญญูชนติเตียนจำพวกหนึ่ง พวกที่ตั้งอยู่ใน ธรรมขาว วิญญูชนสรรเสริญจำพวกหนึ่ง เช่นนี้ ไฉนพวกพราหมณ์ จึงพากันอวดอ้าง อยู่อย่างนี้ ว่า 'พราหมณ์พวกเดียวเป็น วรรณะที่ประเสริฐที่สุด วรรณะอื่นเลวทราม พวกพราหมณ์ เป็นวรรณะขาว พวกอื่นเป็นวรรณะดำพราหมณ์พวกเดียวบริสุทธิ์ พวกอื่นนอกจาก พราหมณ์ หาบริสุทธิ์ไม่ พราหมณ์พวกเดียว เป็นบุตรเกิดจากอุระ เกิดจากปากของ พรหม มีกำเนิดมาจากพรหม พรหมเนรมิตขึ้น เป็นทายาทของพรหม ดังนี้เล่า

     ท่านผู้รู้ทั้งหลาย ย่อมไม่รับรองถ้อยคำของพวกเขา ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูกรวาเสฏฐะ และภารทวาชะ เพราะว่า บรรดาวรรณะทั้งสี่เหล่านั้น ผู้ใดเป็นภิกษุ สิ้นกิเลสและ อาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว ได้วางภาระเสียแล้ว ลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว สิ้นเครื่องเกาะเกี่ยวในภพแล้ว หลุดพ้นไปแล้ว เพราะรู้ โดยชอบ ผู้นั้น ปรากฏว่าเป็นผู้เลิศ กว่าคนทั้งหลาย โดยชอบธรรมแท้ มิได้ปรากฏ โดยไม่ชอบธรรมเลย ด้วยว่า ธรรมเป็นของประเสริฐ ที่สุดในหมู่ชน ทั้งในเวลาที่เห็นอยู่ ทั้งในเวลาภายหน้า

     ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ โดยบรรยายนี้แล เธอทั้งสองพึงทราบเถิดว่า 'ธรรมเท่านั้น เป็นของประเสริฐที่สุดในหมู่ชน ทั้งในเวลาที่เห็นอยู่ ทั้งในเวลา ภายหน้า' ฯ

            [๕๔] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงทราบแน่ชัด ว่า'พระสมณโคดมผู้ยอดเยี่ยม ได้ทรงผนวชจากศากยตระกูล' ดังนี้ ดูกรวาเสฏฐะ และภารทวาชะ ก็พวกศากยตระกูลยังต้องเป็นผู้โดยเสด็จ พระเจ้าปเสนทิโกศลอยู่ ทุกๆ ขณะ ละพวกเจ้าศากยะต้องทำการนอบน้อม กราบไหว้ ต้อนรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม ในพระเจ้าปเสนทิโกศลอยู่

     ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ด้วยประการดังที่กล่าวมานี้แล พวกเจ้าศากยะยัง ต้อง กระทำการ นอบน้อม กราบไหว้ ต้อนรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรมอันใด อยู่ในพระเจ้า ปเสนทิโกศล แต่ถึงกระนั้น กิริยาที่นอบน้อม กราบไหว้ ต้อนรับ อัญชลีกรรม และ สามีจิกรรมอันนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล ก็ยังทรงกระทำอยู่ในตถาคต ด้วยทรงถือว่า 'พระสมณโคดมเป็นผู้มีพระชาติสูง เรามีชาติต่ำกว่า พระสมณโคดม เป็นผู้มี พระกำลัง เรามีกำลังน้อยกว่า พระสมณโคดมเป็นผู้มีคุณ น่าเลื่อมใส เรามีคุณ น่าเลื่อมใส น้อยกว่า พระสมณโคดมเป็นผู้สูงศักดิ์ เราเป็นผู้ต่ำ ศักดิ์กว่า' ดังนี้ แต่ที่แท้

     พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อมพระธรรม นั้นเทียว พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงกระทำการนอบน้อม กราบ ไหว้ ต้อนรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม ในตถาคตอยู่ ด้วยอาการอย่างนี้ ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ โดยปริยายนี้แล เธอทั้งสองพึงทราบเถิดว่า 'ธรรมเท่านั้น เป็นของประเสริฐที่สุด ในหมู่ชน ทั้งในเวลาที่เห็นอยู่ ทั้งในเวลาภายหน้า' ฯ"

            [๕๕] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสต่อไปว่า "ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ เธอทั้งสองคนมีชาติก็ต่างกัน มีชื่อก็เพี้ยนกัน มีโคตรก็แผกกัน มีตระกูลก็ผิดกัน พากันทิ้งเหย้าเรือนเสีย มาบวชเป็นบรรพชิต เมื่อจะมีผู้ถามว่า ท่านทั้งสองนี้ เป็นพวกไหน เธอทั้งสองพึงตอบเขาว่า 'ข้าพเจ้าทั้งสองเป็นพวกพระสมณศากยบุตร' ดังนี้เถิด

     ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็ผู้ใดแล มีศรัทธาตั้งมั่น เกิดขึ้นแล้วแต่รากแก้ว คือ อริยมรรค ประดิษฐานมั่นคง อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหมหรือผู้ใดผู้หนึ่ง ในโลก ไม่พรากไปได้ ควรเรียกผู้นั้นว่า 'เป็นบุตรเกิดแต่พระอุระ เกิดแต่พระโอฐของ พระผู้มีพระภาค เป็นผู้เกิดแต่พระธรรม เป็นผู้ที่พระธรรมเนรมิตขึ้น เป็นผู้รับมรดก พระธรรม' ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคำว่า 'ธรรมกาย' ก็ดี ว่า'พรหมกาย' ก็ดี ว่า'ธรรมภูต' ก็ดี ว่า'พรหมภูต' ก็ดี เป็นชื่อของตถาคต ฯ

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์