พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗
จุลวรรค ภาค ๒
สังฆสามัคคี
[๔๐๖] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่า
สังฆสามัคคี สังฆสามัคคี ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรสงฆ์จึงพร้อมเพรียงกัน
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้
๑. ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่เป็นธรรมว่า ไม่เป็นธรรม (แสดงธรรม ตรงตามคำสอน)
๒. ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นธรรมว่า เป็นธรรม
๓. ย่อมแสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า มิใช่วินัย
๔. ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นวินัยว่า เป็นวินัย
๕. ย่อมแสดงคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้
๖. ย่อมแสดงคำอันตถาคต ตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตตรัส
ภาษิตไว้
๗. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมาว่า เป็นกรรมอันตถาคต
มิได้ประพฤติมา
๘. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตประพฤติมาแล้วว่า เป็นกรรมอันตถาคต
ประพฤติมาแล้ว
๙. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคต มิได้บัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตมิได้
บัญญัติไว้
๑๐. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้
๑๑. ย่อมแสดงอนาบัติว่า เป็นอนาบัติ
๑๒. ย่อมแสดงอาบัติว่า เป็นอาบัติ
๑๓. ย่อมแสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติเบา
๑๔. ย่อมแสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติหนัก
๑๕. ย่อมแสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ
๑๖. ย่อมแสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ว่า เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้
๑๗. ย่อมแสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ
๑๘. ย่อมแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
พวกเธอย่อมไม่ประกาศให้แตกแยกกันด้วยวัตถุ ๑๘ ประการนี้ ย่อมไม่
แยกทำอุโบสถ ย่อมไม่แยกทำปวารณา ย่อมไม่แยกทำสังฆกรรม
ดูกรอุบาลี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล สงฆ์เป็นอันพร้อมเพรียงกัน ฯ
[๔๐๗] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็ภิกษุนั้นทำลายสงฆ์
ผู้พร้อมเพรียงกันแล้ว จะได้รับผลอย่างไร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุ ทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันแล้ว ย่อมได้รับผลชั่วร้าย ตั้งอยู่ชั่วกัป ย่อมไหม้ในนรก ตลอดกัป ฯ
นิคมคาถา
[๔๐๘] ภิกษุทำลายสงฆ์ ต้องเกิดในอบาย ตกนรกอยู่ชั่วกัป
ภิกษุผู้ยินดี ในการ แตกพวกไม่ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมเสื่อมจากธรรมอันเกษมจากโยคะ ภิกษุทำลาย สงฆ์ ผู้พร้อมเพรียงกันแล้ว ย่อมไหม้ในนรกตลอดกัป ฯ
[๔๐๙] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็ภิกษุสมานสงฆ์ที่
แตกกันแล้ว ให้พร้อมเพรียงกัน จะได้รับผลอย่างไร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุสมาน สงฆ์ที่แตกกันแล้วให้
พร้อมเพรียงกัน ย่อมได้บุญอันประเสริฐ ย่อมบรรเทิง ในสรวงสวรรค์ ตลอดกัป ฯ
นิคมคาถา
[๔๑๐] ความพร้อมเพรียงของหมู่ เป็นเหตุแห่งสุข และการ
สนับสนุน ผู้พร้อมเพรียง กัน ก็เป็นเหตุแห่งสุข ภิกษุผู้ยินดีใน
ความพร้อมเพรียงตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่เสื่อมจากธรรมอัน
เกษมจากโยคะ ภิกษุสมานสงฆ์ ให้พร้อมเพรียงกันแล้ว ย่อมบรรเทิงในสรวง สวรรค์ตลอดกัป ฯ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗
จุลวรรค ภาค ๒
|