เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  มหานามสูตร ตรัสกับเจ้าศากยะ พระนามว่า มหานามะ 263 Next
 
 

มหานามะ : อริยสาวกผู้บรรลุผลแล้ว ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมชนิดไหนเป็นส่วนมาก
อริยสาวก
1. ย่อมระลึกถึง
พระตถาคต เนือง ๆ
2. ย่อมระลึกถึง
พระธรรม เนือง ๆ
3. ย่อมระลึกถึง
พระสงฆ์ เนือง ๆ
4. ย่อมระลึกถึง
ศีลของตน เนือง ๆ
5. ย่อมระลึกถึง
การบริจาคของตน เนือง ๆ
6. ย่อมระลึกถึง
เทวดา เนือง ๆ
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

มหานามสูตร

1. ย่อมระลึกถึงพระตถาคตเนือง ๆ (เจริญพุทธานุสสติ)
เพราะพระผู้มีพระภาค เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะ ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก เป็นศาสดาของเทวดา และมนุษย์ เบิกบานแล้ว จำแนกธรรม… เมื่อนั้นจิตของอริยสาวก ย่อมไม่ถูกราคะ โทสะ โมหะ กลุ้มรุม เพราะปรารภ พระตถาคต ย่อมทราบซึ้งอรรถ ทราบซึ้งธรรม เกิดปีติ กายย่อมสงบ ย่อมเสวยสุข จิตย่อมตั้งมั่น

2. ย่อมระลึกถึงพระธรรมเนือง ๆ (เจริญธรรมานุสสติ)
พระธรรมอัน พระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้ดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชน จะพึงรู้เฉพาะตน เมื่ออริยสาวก ระลึกถึงพระธรรมเนือง ๆ จิตของ อริยสาวกย่อมไม่ถูกราคะ โทสะ โมหะกลุ้มรุม  ... อริยสาวกผู้มีจิต ดำเนินไปตรง เพราะปรารภ พระธรรม ย่อมได้ความทราบซึ้งอรรถ เป็นผู้ถึงพร้อมกระแสธรรม

3. ย่อมระลึกถึงพระสงฆ์เนือง ๆ (เจริญสังฆานุสสติ)
สงฆ์สาวกเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติญายธรรม ปฏิบัติชอบ นี้คือคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นั่นคือสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรของคำนับ ควรของต้อนรับ ควรของทำบุญ ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า… สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูก ราคะ โทสะ โมหะ กลุ้มรุม ... อริยสาวกย่อมดำเนินไปตรง ย่อมได้ความทราบซึ้งอรรถ ถึงพร้อมกระแสธรรม

4.ย่อมระลึกถึงศีลของตนเนือง ๆ (เจริญสีลานุสสติ)
ศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาทิฐิไม่ยึดถือ เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ สมัยใดอริยสาวกย่อมระลึกถึงศีลของตนเนืองๆ สมัยนั้น จิตของอริยสาวก ย่อมไม่ถูกราคะ โทสะ โมหะ กลุ้มรุม. อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรง เพราะปรารภศีล ย่อมได้ความ ทราบซึ้งอรรถ  เป็นผู้ถึงพร้อมกระแสธรรม

5.ย่อมระลึกถึงการบริจาคของตนเนือง ๆ ( เจริญจาคานุสสติ)
ว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงการบริจาคเนืองๆ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะ โทสะ โมหะ กลุ้มรุม. ก็อริยสาวกผู้มีจิต ดำเนินไปตรง เพราะปรารภจาคะ ย่อมได้ความทราบซึ้งอรรถ ..เป็นผู้ถึงพร้อมกระแสธรรม

6. ย่อมเจริญ เทวตานุสสติ (ความระลึกถึงเทวดา)
ย่อมระลึกว่า เทวดาเหล่า กามภพ รูปภพ อรูปภพ มีอยู่ เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ ปัญญา เช่นใด ของเรา(ตถาคต)ก็มีอยู่ อริยสาวกย่อมระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ ปัญญาของตน และของเทวดาเหล่านั้นเนือง ๆ จิตย่อมไม่ถูกราคะ โทสะ โมหะกลุ้มรุม
เพราะปรารภเทวดา ย่อมทราบซึ้งอรรถ ทราบซึ้งธรรม เกิดปราโมทย์ เกิดปีติ กายย่อมสงบ ย่อมเสวยสุข จิตย่อมตั้งมั่น … ย่อมเป็นผู้ไม่มีความพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม

 
 

ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต หน้าที่ ๒๖๓

๑๐ มหานามสูตร


          [๒๘๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม ใกล้กรุง กบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะ พระนามว่า มหานามะ ได้เสด็จเข้า ไปเฝ้า พระผู้มี พระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อริยสาวกผู้ได้บรรลุผล ทราบชัดพระศาสนาแล้ว ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมชนิดไหนเป็นส่วนมาก พระเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหานามะ อริยสาวกผู้ได้บรรลุผล ทราบชัดพระศาสนา แล้ว ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้เป็นส่วนมาก คือ อริยสาวกในพระศาสนานี้ ย่อมระลึกถึงพระตถาคตเนืองๆ ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษ ที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม

ดูกรมหานามะ สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระตถาคตเนืองๆสมัยนั้น จิตของ อริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุมไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็น จิตดำเนินไปตรงทีเดียว ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรง เพราะปรารภ พระตถาคต ย่อมได้ความทราบซึ้งอรรถ ย่อมได้ความทราบซึ้งธรรม ย่อมได้ความ ปราโมทย์ อันประกอบด้วยธรรม เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติเมื่อมีใจประกอบ ด้วยปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้วย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น

ดูกรมหานามะ นี้อาตมภาพกล่าวว่า อริยสาวกเป็นผู้ถึงความสงบเรียบร้อยอยู่ ในเมื่อ หมู่สัตว์ยังไม่สงบเรียบร้อย เป็นผู้ไม่มีความพยาบาทอยู่ ในเมื่อหมู่สัตว์ยังมีความ พยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมกระแสธรรม ย่อมเจริญพุทธานุสสติ ฯ

ดูกรมหานามะ อีกประการหนึ่ง
อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรมเนืองๆว่า พระธรรมอัน พระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้ดู ควรน้อมเข้ามา อัน วิญญูชน จะพึงรู้เฉพาะตน ดูกรมหานามะ สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรม เนืองๆ สมัยนั้น จิตของอริย สาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ... ก็อริยสาวกผู้มีจิต ดำเนินไปตรง เพราะปรารภ พระธรรม ย่อมได้ความทราบซึ้งอรรถ ... เป็นผู้ถึงพร้อม กระแสธรรม ย่อมเจริญธรรมานุสสติ ฯ

ดูกรมหานามะ อีกประการหนึ่ง
อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระสงฆ์เนืองๆว่า
สงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อ ญายธรรม เป็นผู้ปฏิบัติ ชอบ นี้คือคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นั่นคือสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรของ คำนับ ควรของต้อนรับ ควรของ ทำบุญ ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า

สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระสงฆ์เนืองๆ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูก ราคะกลุ้มรุม ... ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภ พระสงฆ์ย่อมได้ความ ทราบซึ้งอรรถ ... เป็นผู้ถึงพร้อมกระแสธรรม ย่อมเจริญสังฆานุสสติ ฯ

ดูกรมหานามะ อีกประการหนึ่ง
อริยสาวกย่อมระลึกถึงศีลของตนเนืองๆ
ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาทิฐิไม่ยึดถือ เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ ดูกรมหานามะ สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงศีลของตนเนืองๆ สมัยนั้น จิตของอริย สาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม... ก็อริยสาวกผู้มีจิต ดำเนินไป ตรง เพราะปรารภศีล ... ย่อมได้ความทราบซึ้งอรรถ ...เป็นผู้ถึงพร้อมกระแสธรรม ย่อมเจริญสีลานุสสติ ฯ

ดูกรมหานามะ อีกประการหนึ่ง
อริยสาวกย่อมระลึกถึงการบริจาคของตนเนืองๆ
ว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดี แล้วหนอ คือ เมื่อหมู่สัตว์ถูกมลทิน คือความตระหนี่ กลุ้มรุม เรามีใจปราศจาก มลทิน คือความตระหนี่อยู่ครองเรือน เป็นผู้มีจาคะอันปล่อย แล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม (คอยหยิบ ของ บริจาค) ยินดีในการเสียสละ ควรแก่การขอ ยินดีใน การจำแนกทาน

ดูกรมหานามะ สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงการบริจาคเนืองๆ สมัยนั้น จิตของ อริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะ กลุ้มรุม. ก็อริยสาวกผู้มีจิต ดำเนินไปตรง เพราะปรารภ จาคะ ย่อมได้ความทราบซึ้งอรรถ ..เป็นผู้ถึงพร้อมกระแสธรรม ย่อมเจริญจาคา นุสสติ ฯ

ดูกรมหานามะ อีกประการหนึ่ง
อริยสาวกย่อมเจริญ เทวตานุสสติ (ความระลึกถึง เทวดาเนืองๆ) ว่า เทวดาเหล่าจาตุมหาราช มีอยู่ เทวดาเหล่าดาวดึงส์มีอยู่ เทวดา เหล่ายามามีอยู่ เทวดาเหล่าดุสิตมีอยู่ เทวดาเหล่านิมมานรดีมีอยู่ เทวดาเหล่าปรนิม มิตวสวัสดีมีอยู่ เทวดาเหล่าพรหมกายิกามีอยู่ เทวดาที่สูงกว่าเหล่าพรหมนั้นมีอยู่ เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วอุบัติในเทวดาชั้นนั้น ศรัทธาเช่นนั้น แม้ของเราก็มีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศีลเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติใน เทวดาชั้นนั้น ศีล เช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยสุตะเช่นใด จุติจากโลกนี้ แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้นสุตะเช่นนั้น แม้ของ เราก็มีอยู่ เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วย จาคะ เช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น จาคะเช่นนั้นแม้ ของเรา ก็มีอยู่ เทวดา เหล่านั้นประกอบด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติใน เทวดาชั้นนั้น ปัญญา เช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่

ดูกรมหานามะ สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงศรัทธา ศีลสุตะ จาคะ และปัญญาของ ตน และ ของเทวดาเหล่านั้นเนืองๆ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะ กลุ้มรุม ย่อมไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ย่อมไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรง ทีเดียว ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรง เพราะปรารภเทวดา ย่อมได้ความทราบซึ้ง อรรถ ย่อมได้ความทราบซึ้งธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์ อันประกอบด้วยธรรม

เมื่อได้ความปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติเมื่อมีใจประกอบ ด้วยปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกาย สงบแล้วย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น

ดูกรมหานามะ นี้อาตมภาพกล่าวว่า อริยสาวกเป็นผู้ถึงความสงบเรียบร้อยอยู่ ในเมื่อ หมู่สัตว์ไม่สงบเรียบร้อย เป็นผู้ไม่มีความพยาบาทอยู่ ในเมื่อหมู่สัตว์ยังมีความ พยาบาท กันอยู่ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม ย่อมเจริญ เทวตานุสสติ

ดูกรมหานามะ อริยสาวกผู้ได้บรรลุผล ทราบชัดพระศาสนาแล้วย่อมอยู่ด้วย วิหารธรรม นี้เป็นส่วนมาก ฯ

จบสูตรที่ ๑๐

จบอาหุเนยยวรรคที่ ๑

       
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์