เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 อุปาทาน ๔ อย่าง เป็นไฉน 254  
 
  (โดยย่อ)

อุปาทาน ๔ อย่างเป็นไฉน? คือ
1 กามุปาทาน (ยึดติดในกาม คือความเพลินพอใจที่เกิดจาก ตา หู จมู ลิ้น กายสัมผัส)
2 ทิฏฐุปาทาน (ความยึดติดในความคิดเห็นของตนเอง ว่าความเห็นตนถูก คนอื่นผิด)
3 สีลัพพัตตุปาทาน (ความลังเลสงสัยในวัตรปฏิบัติของลัทธิตน)
4 อัตตวาทุปาทาน
(ความยึดถือ ยึดมั่นในความเป็นตัวตน ว่านี่เป็นเรา นี่เป็นของเรา)

สมณพราหมณ์บางพวก ปฏิญาณลัทธิ ว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่ไม่บัญญัติ อัตตวาทุปาทาน..
ตถาคต เท่านั้นแล เป็นผู้มีวาทะว่า รอบรู้อุปาทานทุกอย่าง ปฏิญาณอยู่ ย่อมบัญญัติความรอบรู้ อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ ทั้ง ๔ อย่าง

อัตตวาทุปาทาน จึงเป็นข้อปฏิบัติที่มีในพุทธศาสนาเท่านั้น จะไม่มีในศาสนาอื่น หรือลัทธิอื่น


เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๙๒

อุปาทาน ๔

           [๑๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทาน ๔ อย่างเหล่านี้. ๔ อย่างเป็นไฉน?
คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพัตตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้ อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขาย่อมไม่บัญญัติ ความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือ ย่อมบัญญัติ ความรอบรู้ กามุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้ ทิฏฐุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้ สีลัพพัตตุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้ อัตตวาทุปาทาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น ไม่รู้ทั่วถึงฐานะ ๓ ประการเหล่านี้ตามความ เป็นจริง เพราะฉะนั้นพวกเขา จึงปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขา ไม่บัญญัติ ความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือ
ย่อมบัญญัติความรอบรู้ กามุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้ ทิฏฐุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้ สีลัพพัตตุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้ อัตตวาทุปาทาน

--------------------------------------------------------------------------------------------------------

ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขา ไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือย่อมบัญญัติความ รอบรู้กามุปาทาน บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้ สีลัพพัตตุ ปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น ไม่รู้ทั่วถึงฐานะ ๒ ประการเหล่านี้ ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น พวกเขาจึงปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขา ไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือ
ย่อมบัญญัติความรอบรู้ กามุปาทาน
บัญญัติความรอบรู้ ทิฏฐุปาทาน

บัญญัติความรอบรู้ สีลัพพัตตุปาทาน

ไม่บัญญัติความรอบรู้ อัตตวาทุปาทาน

--------------------------------------------------------------------------------------------------------

ดูกรภิกษุทั้งหลายมีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขา ไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือย่อมบัญญัติ ความรอบรู้กามุปาทาน บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน บัญญัติความรอบรู้ สีลัพพัตตุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น ไม่รู้ทั่วถึงฐานะอย่างหนึ่งนี้ ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้นพวกเขาจึงปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขา
ไม่บัญญัติ ความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือ
ย่อมบัญญัติความรอบรู้ กามุปาทาน
บัญญัติความรอบรู้ ทิฏฐุปาทาน
บัญญัติความรอบรู้ สีลัพพัตตุปาทาน
ไม่บัญญัติความรอบรู้ อัตตวาทุปาทาน (ไม่รู้)
--------------------------------------------------------------------------------------------------------

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสในศาสดาใด ความเลื่อมใสนั้น เราไม่กล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ ความเลื่อมใสในธรรมใด ความเลื่อมใสนั้น เราไม่กล่าวว่าไปแล้ว โดยชอบ ความกระทำให้บริบูรณ์ในศีลใด ข้อนั้น เราไม่กล่าวว่า ไปแล้ว โดยชอบ ความเป็นที่รักและน่าพอใจในหมู่สหธรรมิกใด ข้อนั้น เราไม่กล่าวว่าไปแล้ว โดยชอบ ในธรรมวินัยเห็นปานนี้แล ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะข้อนั้น เป็นความเลื่อมใสในธรรมวินัยที่ศาสดากล่าวชั่วแล้ว ประกาศชั่วแล้ว มิใช่สภาพนำ ออกจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ มิใช่อันผู้รู้เองโดยชอบประกาศไว้.

           [๑๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นแล เป็นผู้มีวาทะว่า รอบรู้อุปาทานทุกอย่าง ปฏิญาณอยู่ ย่อมบัญญัติความรอบรู้ อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือ
ย่อมบัญญัติความรอบรู้ กามุปาทาน
ย่อมบัญญัติความรอบรู้ ทิฏฐุปาทาน
ย่อมบัญญัติความรอบรู้ สีลัพพัตตุปาทาน
ย่อมบัญญัติความรอบรู้ อัตตวาทุปาทาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสในศาสดาใดความเลื่อมใสนั้น เรากล่าวว่า ไปแล้ว โดยชอบ ความเลื่อมใสในธรรมใด ความเลื่อมใสนั้น เรากล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ ความกระทำให้บริบูรณ์ในศีลใด ข้อนั้น เรากล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบความเป็นที่รัก และน่าพอใจในหมู่สหธรรมิกใด ข้อนั้น เรากล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ ในพระธรรมวินัย เห็นปานนี้แล

ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะข้อนั้น เป็นความเลื่อมใสในธรรมวินัยอันศาสดากล่าวดีแล้ว ประกาศดีแล้ว เป็นสภาพนำออกจากทุกข์ เป็นไปเพื่อความสงบอันท่านผู้รู้เอง โดยชอบประกาศแล้ว

--------------------------------------------------------------------------------------------------------

เหตุเกิดอุปาทานเป็นต้น

           [๑๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง อุปาทาน ๔ เหล่านี้ มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด?

อุปาทาน ๔ เหล่านี้ มีตัณหาเป็นต้นเหตุมีตัณหาเป็นเหตุเกิด มีตัณหาเป็นกำเนิด มีตัณหาเป็นแดนเกิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัณหานี้เล่ามีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุ เกิดมีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด?

ตัณหามีเวทนาเป็นต้นเหตุ มีเวทนาเป็นเหตุเกิด มีเวทนาเป็นกำเนิด มีเวทนาเป็นแดน เกิน ดูกรภิกษุทั้งหลายเวทนานี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด?

เวทนามีผัสสะเป็นต้นเหตุ มีผัสสะเป็นเหตุเกิด มีผัสสะเป็นกำเนิด มีผัสสะเป็นแดนเกิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสะนี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิดมีอะไรเป็นแดนเกิด?

ผัสสะมีสฬายตนะเป็นต้นเหตุ มีสฬายตนะเป็นเหตุเกิด มีสฬายตนะเป็นกำเนิด มีสฬายตนะเป็นแดนเกิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย สฬายตนะนี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สฬายตนะมีนามรูปเป็นต้นเหตุ มีนามรูปเป็นเหตุเกิด มีนามรูป เป็นกำเนิด มีนามรูปเป็นแดนเกิด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นามรูปนี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็น กำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด?

นามรูปมีวิญญาณเป็นต้นเหตุ มีวิญญาณเป็นเหตุเกิด มีวิญญาณเป็นกำเนิด มีวิญญาณ เป็นแดนเกิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณนี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด?

วิญญาณมีสังขารเป็นต้นเหตุ มีสังขารเป็นเหตุเกิด มีสังขารเป็นกำเนิด มีสังขารเป็น แดนเกิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารนี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด?

สังขารมีอวิชชาเป็นต้นเหตุ มีอวิชชาเป็นเหตุเกิด มีอวิชชาเป็นกำเนิด มีอวิชชาเป็น แดนเกิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ภิกษุละอวิชชาได้แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว

เมื่อนั้น ภิกษุนั้น เพราะสำรอกอวิชชาเสียได้เพราะวิชชาบังเกิดขึ้น ย่อมไม่ถือมั่น กามุปาทาน ย่อมไม่ถือมั่นทิฏฐุปาทาน ย่อมไม่ถือมั่นสีลัพพัตตุปาทาน ย่อมไม่ถือมั่น อัตตวาทุปาทาน เมื่อไม่ถือมั่น ย่อมไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมปรินิพพานเฉพาะตน นั่นเทียว เธอย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชม ยินดีภาษิตของ พระผู้มีพระภาค แล้วแล.

จบ จูฬสีหนาทสูตร ที่ ๑



อุปาทาน ๔ อย่าง


1. กามุปาทาน ยึดติดในกาม ซึ่งในที่นี้มิได้หมายความเพียงแค่เรื่องทางเพศ แต่ยังมีความหมายกว้างรวมถึง วัตถุกามคือ สิ่งที่ชวนให้หลงรัก หลงชอบ พอใจ และอยากมีไว้ในครอบครอง หรือเป็นเจ้าของ เช่น บ้าน รถ คอนโด ทรัพย์สินเงินทอง เครื่องประดับ เพชรนิลจินดา หนุ่มหล่อ สาวสวย คนรวย คนมีอำนาจ คนดัง เป็นต้น

2. ทิฏฐุปาทาน ยึดถือในทิฏฐิ คือ ความเห็นของตนว่าถูกต้อง ตรงจริง ของผู้อื่นผิด

3. สีลัพพัตตุปาทาน ติดยึดในศีลวัตรที่งมงาย ในที่นี้หมายถึง ข้อประพฤติปฎิบัติ ที่ไร้ประโยชน์ ซึ่งเป็นการทรมานตนเปล่า ทำให้เสียเวลา ไม่ประกอบด้วยปัญญา ไม่เป็นไปเพื่อการหลุดพ้น แต่กลับทำให้ยึดติดในวัตรปฎิบัติมากยิ่งขึ้น โดยคิดว่า เพียงแค่ การถือพรตอันเคร่งครัดเพียงเท่านั้น จะสามารถนำมาซึ่งวิมุตติ อันเป็นความ เข้าใจ ที่คลาดเคลื่อนจากความจริงในทางพุทธศาสนา

4. อัตตวาทุปาทาน ยึดมั่นในตัวเอง ของตัวเอง พุทธภาษิตมีอยู่ว่า "เมื่อกล่าว โดยสรุปแล้ว เบญจขันธ์ที่ประกอบอยู่ด้วยอุปาทาน นั่นแหละเป็นตัวทุกข์"

ดังนั้น เบญจขันธ์ที่ไม่มีอุปาทานครอบงำนั้น หาเป็นทุกข์ไม่ ฉะนั้น คำว่าบริสุทธิ์ หรือหลุดพ้น จึงหมายถึง การหลุดพ้นจากอุปาทานว่า"ตัวเรา" ว่า"ของเรา"นี้โดยตรง ดังมีพุทธภาษิตว่า "คนทั้งหลายย่อมหลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทาน"

ที่มา วิกิพีเดีย

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์