เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ความรู้เรื่องกาม กามธาตุ กามคุณ กามวิตก กามภพ กามฉันทะ กามสัญญา.. 255  
 
 


เรื่องกาม

กามคุณ
คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อันสัมผัสด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย
5 ช่องทางนี้เรียกว่า อายตนะ ที่ทำให้เกิด กาม ขึ้นมา
คือการคิดติตรึก แล้วเราไปพอใจ ในความคิด ติตรึก นั้น

ความกำหนัด (พอใจ)ไปตามอำนาจความติตรึก(หรือความคิด)นั่นแหละ
คือกาม ของคนเรา

"อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลกนั้น (เช่นรูปที่สวยงาม เสียงที่ไพเราะ
กลิ่นที่หอมยวนใจ ฯลฯ) หาใช่กามไม่ แต่ความกำหนัดไปตามอำนาจ
ความติตรึก (สงฺกปฺปราค) นั่นแหละ คือกามของคนเรา"


"อารมณ์อันวิจิตร ก็มีอยู่ในโลกตามประสาของมันเท่านั้น
ผู้มีปัญญาจึงนำออกเสียซึ่ง ฉันทะ ในอารมณ์อันวิจิตรเหล่านั้น"


กาม คือในส่วนของ รูป
ประกอบด้วย 4 ธาตุ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม
นี้คือกามคุณ อันเป็นเหตุให้เกิดกามขึ้นมา

อุบาย (นิสรณะ) เครื่องออกจากกาม ต้องเห็นโทษ(อาทีนวะ) ของมัน
ว่า ดิน น้ำ ไฟ ลม มีการแปรเปลี่ยน จึงจะออกจาก กามธาตุ หรือกามภพได้

กามธาตุภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส
กามธาตุภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย
พระองค์เรียกอายตนะ ภายนอก และ ภายใน นี้ว่า กามคุณ

เมื่ออายตนะภายนอก-ภายใน มีการกระทบ กันก็จะมีการคิดติตรึก แล้วเราพอใจในความคิดติตรึกนั้น เรียกว่า มีกาม หรือ พอใจในกาม
ความกำหนัดไปตามอำนาจในการติตรึกนั้น(สงฺกปฺปราค)คือกามของคนเรา

สงฺกปฺปราค คือ
     สังกัป คือปรุงแต่ง หรือ การติตรึก
     ราคะ คือความพอใจ

การถอนความพอใจออก คือให้วางเฉย โดยยึด อทุกขมสุข หรืออุเบกขา เป็นวิหารธรรม หรือกลับมาอยู่กับลมหายใจ เข้า-ออก หรือ กายคตาสติ
จึงเรียกว่า การถอนออกจากกาม เพราะขณะนั้นจิตของเราเมาหมก
พร่ำสรรเสริญ กับรสอร่อยของ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส

พระองค์แสดงถึงการยึดติดว่า ยึดอย่างไร
แสดงถึงการปล่อยว่า ปล่อยอย่างไร

อาการเกิดแห่ง อกุศลสังกัปปะ หรือ มิจฉาสังกัปปะ

กรณีกามวิตก
ภิกษุทั้งหลาย ! กามวิตก (ความตริตรึกในกาม)
ย่อมเกิดอย่างมีเหตุให้เกิด ไม่ใช่เกิดอย่างไม่มีเหตุให้เกิด; นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย !
เพราะอาศัย กามธาตุ (อายตนะทั้ง 6) จึงเกิด กามสัญญา (กามเกาะสัญญา)
เพราะอาศัย กามสัญญา จึงเกิด กามสังกัปปะ (ปรุงแต่งในกาม)
เพราะอาศัย กามสังกัปปะ จึงเกิด กามฉันทะ (พอใจในการปรุงแต่ง)
เพราะอาศัย กามฉันทะ จึงเกิด กามปริฬาหะ (ความเร่าร้อนเพื่อจะได้กาม)
เพราะอาศัย กามปริฬาหะ จึงเกิด กามปริเยสนา (การแสวงหากาม)

ภิกษุทั้งหลาย ! บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ เมื่อแสวงหาอยู่อย่างแสวงหา กามย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะสาม คือ โดยกาย โดยวาจา โดยใจ.

กามธาตุ->กามสัญญา->กามสังกัปปะ->กามฉันทะ->กามปริฬาหะ->กามปริยเสนา->ลาภา

กามคุณ (กามที่เกิดจากรูปทางกาย 5 ช่องทาง)
รูป
ที่เห็นด้วย ตา
เสียง ที่ฟังด้วย หู
กลิ่น ที่ดมด้วย จมูก
รส ที่ลิ้มด้วย ลิ้น
สัมผัส ด้วย โผฏฐัพพะทางกาย
อันเป็นส่วนที่ น่ารักใคร่ น่าปรารถนา น่าพอใจ ยลตา ยลใจ ให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ อันนี้จึงเรียกว่าเป็นส่วนของกาม

ดังนั้นในรูปนี้ มีทั้ง น่ารักใคร น่าพอใจ และ ไม่น่ารักใคร่ ไม่น่าพอใจ
แต่ในส่วนของความ น่ารักใคร่ น่าพอใจ จึงจะเรียกว่า กาม

กามธาตุ (หรือกามภพ)
เป็น 3 กลุ่ม คือ กามฉันทะ กามสัญญา กามสังกัปปะ
ในกามธาตุ ซึ่งมีอยู่ 2 กลุ่ม คือ สวย กับ ไม่สวย

สองระดับแรก ปุถุชนดับได้ (ส่วนระดับ 3 อริยะจะดับได้)
       1) ในส่วนของสวย เมื่อไปสัมผัส จะเกิด กามฉันทะ พอใจ (ระดับที่1)
       2) เวลาผ่านไปเมื่อหวนไปนึกถึงสิ่งที่พอใจ เช่นพอใจอาหารที่อร่อย อยากได้ของที่ชอบ นี้เรียกว่า กามสัญญา (ระดับที่2)
       
3) แต่ปุถุชนจะดับกามระดับที่ 3 ไม่ได้ คือ กามสังกัปปะ (ระดับความคิด)

การดับ กามสังกัปปะ
การดับกามสังกัปปะ ต้องใช้นิสรณะ (อุบาย เครื่องออกจากกาม)
คือเห็นการเกิดขึ้น และดับไป ดังนั้น สังกัปปะตัวนี้คือ ตัวสังขาร
ที่ปรุงขึ้นมา หรือเรียกว่า อนุสัย (นี่คือ ส่วนละเอียดของกาม)

ส่วนละเอียดของ กามธาตุ (กามระดับอริยะ)
คือตัวกามคุณ 5 ซึ่งกระทบกับผัสสะ (รูป เสัยง กลิ่น รส สัมผัส)
จะเกิดความพอใจ เกิดกามสัญญา เกิดกามสังกัปปะ
เรียกทั้งหมดว่า กามวิตก

กามวิตกนี้เป็นธรรมมีเหตุเกิด  มิใช่เป็นธรรมที่ไม่มีเหตุเกิด
เหตุเกิดของกามวิตก คืออะไรเล่า
       กามธาตุ เป็นเหตุให้เกิด กามสัญญา กามสังกัปปะ
       กามสัญญา เป็นเหตุให้เกิด กามสังกัปปะ
       กามสังกัปปะ เป็นเหตุให้เกิด ปริฬาหะ (ความเร่าร้อนเพื่อจะได้กาม)
       ปริฬาหะ เป็นเหตุให้เกิด ปริเยสนา (การแสวงหากาม)
       แล้วก็ได้ ลาภา (การได้มาซึ่ง กาม)

กามวิตก
คือ หนึ่งใน อกุศลวิตก 3 (ความตรึกที่เป็นอกุศล, ความนึกคิดที่ไม่ดี )
       1. กามวิตก (ความตรึกในทางกาม, ความนึกคิดในทางเสน่หา
หรือ พัวพัน ติดข้อง ในสิ่งสนองความอยาก )
       2. พยาบาทวิตก (ความตรึกในทางพยาบาท, ความนึกคิด ที่ประกอบด้วยความขัดเคือง เพ่งมอง ในแง่ร้าย
       3. วิหิงสาวิตก (ความตรึกในทางเบียดเบียน, ความนึกคิด
ในทางทำลาย ทำร้ายหรือก่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น

เราทานอาหารที่อร่อย ฟังเสียงที่ไพเราะ เท่ากับได้กามมาแล้ว
หรือ การปรุงขึ้นมา พอปรุงแล้วเราจะวิ่งหา จนย้อนกลับมาสู่ ตัวธาตุที่เราปรุง
ก็เป็น ลาภา คือการได้ธาตุนั้นมา ได้ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่น่ารักใคร่
น่าปรารถนา น่าพอใจ มันก็จะวนอยู่ในนี้ ใน กามภพ แบบนี้

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์