เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  อัสสชิสูตร ( ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งเวทนา) 250  
 
  (โดยย่อ)

อัสสชิ ภิกษุ อาพาธ เป็นไข้หนัก ได้รับทุกขเวทนา
พระศาสดา เสด็จเข้าไปหา อัสสชิภิกษุ ถึงที่อยู่

อัสสชิทุกข์ทรมานจึงไม่อาจทำสมาธิได้
ข้าพระองค์ทนไม่ไหว ไม่สามารถ จะยังอัตภาพ ให้เป็นไปได้ ทุกขเวทนานั้นปรากฏว่ากำเริบขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย

ตรัสเรื่อง ขันธ์ ๕
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือ เป็นสุขเล่า เวทนา สัญญา สังขาร ก็ทรงตรัสถาม ไล่เรียง ทำนองเดียวกัน ..
ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน เป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ? ท่านพระอัสสชิกราบทูลว่า ไม่ควรเลย พระเจ้าข้า
-----------------------------------------------------------------------------------------------------

รูปทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ก็ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา
อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วอย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญานหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว
อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำ เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ ความเป็นอย่างนี้มิได้มี
-----------------------------------------------------------------------------------------------------

สุขเวทนา-ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน
ถ้าอริยสาวกนั้น ได้เสวย สุขเวทนา ก็ทราบชัดว่า สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน... ทุกขเวทนา ก็เช่นกัน... อทุกขมสุขเวทนา ก็เช่นกัน

ดูกรอัสสชิ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน จะพึงติดอยู่ได้เพราะอาศัย น้ำมัน และไส้ ไม่มีเชื้อก็พึงดับ เพราะหมดน้ำมันและไส้นั้น ฉันใด.

ภิกษุเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็ทราบชัดว่า เสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิต เป็นที่สุด ก็ทราบชัดว่า เสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และทราบชัดว่า ก่อนแต่จะสิ้นชีวิต เพราะกาย แตก ความเสวยอารมณ์ทั้งมวลในโลกนี้ ไม่น่ายินดี จักเป็นของดับเย็น.
 
 


พระไตรปิฎกไทย(ฉบับหลวง)เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๒๐-๑๒๒ ข้อที่ ๒๒๒-๒๒๔

๖. อัสสชิสูตร
(อัสสชิภิกษุอาพาธ เป็นไข้หนัก ได้รับทุกขเวทนา)


            [๒๒๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต ใกล้พระนครราชคฤห์.

ก็สมัยนั้นแล ท่านพระอัสสชิอาพาธ เป็นไข้หนัก ได้รับทุกขเวทนา พักอยู่ที่อารามของ กัสสปเศรษฐี.

ครั้งนั้น ท่านพระอัสสชิเรียกภิกษุผู้อุปัฏฐากทั้งหลายมา แล้วกล่าวว่า มาเถิดอาวุโส ทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลาย จงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ จงถวายบังคม พระยุคลบาท ของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า ตามคำของเราว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ อัสสชิภิกษุอาพาธ เป็นไข้หนัก ได้รับทุกขเวทนา และท่านทั้งหลายจงทูล อย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัย ความอนุเคราะห์ เสด็จเข้าไปหาอัสสชิภิกษุถึงที่อยู่เถิด.

ภิกษุเหล่านั้น รับคำท่านพระอัสสชิแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อัสสชิภิกษุอาพาธ เป็นไข้หนัก ได้รับทุกขเวทนา ท่านถวายบังคมพระยุคลบาท ของพระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้า และสั่งมากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์ เสด็จเข้าไปหาอัสสชิภิกษุถึงที่อยู่เถิด.

พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาโดยดุษณีภาพ.

            [๒๒๓] ครั้งนั้นแลเป็นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่พักผ่อนแล้ว เสด็จเข้าไปหาท่านพระอัสสชิถึงที่อยู่ ท่านพระอัสสชิ ได้แลเห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จ มาแต่ไกล ครั้นเห็นแล้ว ก็ลุกขึ้นจากเตียง.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอัสสชิว่า อย่าเลยอัสสชิ เธออย่าลุกขึ้น จากเตียงเลย อาสนะเหล่านี้ ที่เขาปูลาดไว้มีอยู่ เราจะนั่งที่อาสนะนั้น.

พระผู้มีพระภาค ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้.

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(อัสสชิทุกข์ทรมานจึงไม่อาจทำสมาธิได้ )

ครั้นแล้ว ได้ตรัสถามท่านพระอัสสชิว่า ดูกรอัสสชิ เธอพอทนได้หรือ พอยัง อัตภาพ ให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนานั้นปรากฏว่าทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ ? ท่านพระอัสสชิ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทนไม่ไหว ไม่สามารถ จะยังอัตภาพ ให้เป็นไปได้ ทุกขเวทนานั้นปรากฏว่ากำเริบขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย.

พระผู้มีพระภาคตรัสถามอีกว่า ดูกรอัสสชิ เธอไม่มีความรำคาญ ไม่มีความเดือดร้อน อะไรบ้างหรือ? ท่านพระอัสสชิกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แท้ที่จริง ข้าพระองค์ มีความรำคาญ ไม่น้อย มีความเดือดร้อนอยู่ไม่น้อยเลย.

พระผู้มีพระภาคตรัสถามอีกว่า ดูกรอัสสชิ ก็ตัวเธอเองไม่ติเตียนตนเองได้โดยศีลบ้าง หรือ ? ท่านพระอัสสชิกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตัวข้าพระองค์เอง จะติเตียน ข้าพระองค์เองได้โดยศีลก็หาไม่.

พระผู้มีพระภาคตรัสถามอีกว่า ดูกรอัสสชิ ถ้าหากว่าตัวเธอเองติเตียนตนเองโดยศีล ไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอจะมีความรำคาญและความเดือดร้อนอะไร ? ท่านพระอัสสชิ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งก่อน ข้าพระองค์ระงับกายสังขาร ได้อย่าง ลำบาก จึงไม่ได้สมาธิ เมื่อข้าพระองค์ไม่ได้สมาธิ จึงเกิดความคิดอย่างนี้ว่า เราไม่ เสื่อมหรือหนอ.

พระผู้มีพระภาคตรัสถามอีกว่า ดูกรอัสสชิ สมณพราหมณ์ ที่มีสมาธิเป็นสาระ มีสมาธิ เป็นสามัญญะ เมื่อไม่ได้สมาธินั้น ย่อมเกิดความคิดอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายไม่เสื่อม หรือหนอ.
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(ตรัสถาม ขันธ์ ๕ เที่ยงหรือไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือ เป็นสุขเล่า )

ดูกรอัสสชิ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ?
ท่านพระอัสสชิ กราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคตรัสถามอีกว่า ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า ?
ท่านพระอัสสชิกราบทูลว่า เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคตรัสถามอีกว่า ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน เป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ?
ท่านพระอัสสชิกราบทูลว่า ไม่ควรเลย พระเจ้าข้า.
------------------------------------------------------------------------

ดูกรอัสสชิ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นอย่างไร เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง ?
ท่านพระอัสสชิกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคตรัสถามอีกว่า ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า ?
ท่านพระอัสสชิกราบทูลว่า เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคตรัสถามอีกว่า ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ?
ท่านพระอัสสชิกราบทูลว่า ไม่ควรเลย พระเจ้าข้า.
------------------------------------------------------------------------

ดูกรอัสสชิ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นอย่างไร สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง ?
ท่านพระอัสสชิกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคตรัสถามอีกว่า ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า ?
ท่านพระอัสสชิกราบทูลว่า เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคตรัสถามอีกว่า ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ?
ท่านพระอัสสชิกราบทูลว่า ไม่ควรเลย พระเจ้าข้า.
------------------------------------------------------------------------

ดูกรอัสสชิ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นอย่างไร สังขารเที่ยงหรือไม่เที่ยง ?
ท่านพระอัสสชิกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคตรัสถามอีกว่า ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า ?
ท่านพระอัสสชิกราบทูลว่า เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคตรัสถามอีกว่า ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ?
ท่านพระอัสสชิกราบทูลว่า ไม่ควรเลย พระเจ้าข้า.
------------------------------------------------------------------------

ดูกรอัสสชิ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นอย่างไร วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง ?
ท่านพระอัสสชิกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคตรัสถามอีกว่า ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า ?
ท่านพระอัสสชิกราบทูลว่า เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคตรัสถามอีกว่า ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ?
ท่านพระอัสสชิกราบทูลว่า ไม่ควรเลย พระเจ้าข้า.
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(รูปทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตน ของเรา)

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอัสสชิ เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี รูปทั้งหมดนั้น เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

เวทนา อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี เวทนาทั้งหมดนั้น เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

สัญญา อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี สัญญาทั้งหมดนั้น เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

สังขาร อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี สังขารทั้งหมดนั้น เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี วิญญาณทั้งหมดนั้น เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

ดูกรอัสสชิ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วอย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้วย่อมมีญานหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว

อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำ เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(สุขเวทนา-ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน)

ถ้าอริยสาวกนั้น ได้เสวย สุขเวทนา ก็ทราบชัดว่า สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน
ถ้าหากว่า เสวย ทุกขเวทนา ก็ทราบชัดว่า ทุกขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน
ถ้าหากว่า เสวย อทุกขมสุขเวทนา ก็ทราบชัดว่า อทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน

ถ้าหากว่า เสวย สุขเวทนา ก็ปราศจากความยินดียินร้าย เสวย สุขเวทนา นั้น
ถ้าหากว่า เสวย ทุกขเวทนา ก็ปราศจาก ความยินดียินร้าย เสวย ทุกขเวทนา นั้น
ถ้าหากว่า เสวย อทุกขมสุขเวทนา ก็ปราศจาก ความยินดียินร้าย เสวย อทุกขมสุขเวทนา นั้น
ย่อมทราบชัดว่า เวทนานั้น ไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน.

หากว่า เสวยเวทนา มีกายเป็นที่สุด ก็ทราบชัดว่า เสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ถ้า เสวยเวทนา มีชีวิตเป็นที่สุด ก็ทราบชัดว่า เสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และทราบชัดว่า ก่อนแต่จะสิ้นชีวิตเพราะกายแตก ความเสวยอารมณ์ทั้งมวล ในโลกนี้ ไม่น่ายินดี จักเป็นของดับเย็น.

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

            [๒๒๔] ดูกรอัสสชิ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน จะพึงติดอยู่ได้เพราะอาศัย น้ำมัน และไส้ ไม่มีเชื้อก็พึงดับเพราะหมดน้ำมันและไส้นั้น ฉันใด.

ดูกรอัสสชิ ภิกษุเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็ทราบชัดว่า เสวยเวทนามีกาย เป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ก็ทราบชัดว่า เสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และทราบชัดว่า ก่อนแต่จะสิ้นชีวิต เพราะกายแตก ความเสวยอารมณ์ทั้งมวลในโลกนี้ ไม่น่ายินดี จักเป็นของดับเย็น.

 

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์