เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 อาหุเนยยสูตร (รวมหลายๆพระสูตร) 251  
 
 


อาหุเนยยสูตร

อาหุเนยยสูตรที่ ๑

           [๑๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ เป็นผู้ควร ของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญ ของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๘ ประการ เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

        (1) เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑
       (2) เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ๑
       (3) เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ๑
       (4) เป็นสัมมาทิฐิ ประกอบด้วยความเห็นชอบ ๑
       (5) มีปรกติได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔
             อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑
       (6) ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมากคือ ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ
             ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมากพร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วย              ประการ ฉะนี้ ๑
       (7) ย่อมเห็นหมู่สัตว์ ฯลฯด้วยทิพจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ
             ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ๑
        (8) กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ
             ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ฯ

จบสูตรที่ ๗

-พระไตรปิฎกไทย(ฉบับหลวง) ๒๓/๒๒๘-๒๒๙/๑๔๗ 



อาหุเนยยสูตรที่ ๒

           [๑๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ เป็นผู้ควร ของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
        (1) เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑
        (2) เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ๑
        (3) เป็นผู้ปรารภความเพียร มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระ
             ในกุศลธรรมทั้งหลาย ๑

        (4) เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ในเสนาสนะ อันสงัด ๑
        (5) เป็นผู้อดกลั้น ความไม่ยินดีและความยินดี ระงับความไม่ยินดี
             ที่เกิดขึ้นแล้ว ๑
        (6) เป็นผู้อดกลั้นความกลัวต่อภัยเสียได้ ระงับความกลัวต่อภัย
             ที่เกิดขึ้นแล้ว ๑
        (7) มีปรกติได้ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔
             อันมีในจิตยิ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑
        (8) กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้
             เพราะอาสวะ ทั้งหลายสิ้นไป ฯลฯ เข้าถึงอยู่ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯเป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ฯ

จบสูตรที่ ๘

- พระไตรปิฎกไทย(ฉบับหลวง) ๒๓/๒๒๙/๑๔๘



อาหุเนยยสูตร

           [๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๑๐ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควร ของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญ อื่นยิ่งกว่า ๑๐ จำพวกเป็นไฉน คือ
        (1) พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑
        (2) พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ๑
        (3) ท่านผู้เป็นอุภโตภาควิมุต ๑
        (4) ท่านผู้เป็นปัญญาวิมุต ๑
        (5) ท่านผู้เป็นกายสักขี ๑
        (6) ท่านผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ ๑
        (7) ท่านผู้เป็นสัทธาวิมุต ๑
        (8) ผู้เป็นธัมมานุสารี ๑
        (9) ท่านผู้เป็นสัทธานุสารี ๑
        (10) ท่านผู้เป็นโคตรภู ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๑๐ จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ฯ

จบสูตรที่ ๖

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต



อาหุเนยยสูตร

           [๒๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๙ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของ โลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ๙ จำพวกเป็นไฉน คือ
        (1) พระอรหันต์ ๑
        (2) ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์ ๑
        (3) พระอนาคามี ๑
        (4) ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ๑
        (5) พระสกทาคามี ๑
        (6) ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ๑
        (7) พระโสดาบัน ๑
        (8) ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ๑
        (9) โคตรภูบุคคล ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๙ จำพวกเหล่านี้แล เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ฯ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

 

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์