เว็บไซต์ อนาคามี แหล่งเผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 กิรสูตรที่ ๒ ทิฐิ (วาทะ) ๑๖แบบ ของพราหมณ์ปริพาชก ผู้มีลัทธิต่างกัน 249  
 
  (ย่อ)

กิรสูตรที่ ๒ พราหมณ์ปริพาชกมากด้วยกัน ผู้มีลัทธิต่างกัน มีทิฐิต่างกัน มีความพอใจต่างกัน มีความชอบใจต่างกัน ย่อมมีทิฐินิสัยต่างกัน

ทิฐิ ๑๖
สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า
๑. ตนและโลกเที่ยง นี้แหละจริง อื่นเปล่า
๒. ตนและโลกไม่เที่ยง นี้แหละจริง อื่นเปล่า
๓. ตนและโลกเที่ยงก็มี ไม่เที่ยงก็มี ...
๔. ตนและโลกเที่ยงก็มิใช่ ไม่เที่ยงก็มิใช่ ...
๕. ตนและโลกอันตนเองสร้างสรร ...
๖. ตนและโลกอันผู้อื่นสร้างสรร ...
๗. ตนและโลกอันตนเองสร้างสรรก็มี อันผู้อื่นสร้างสรรก็มี ...
๘. ตนและโลกเกิดขึ้นลอยๆ ตนเองสร้างสรรก็หามิได้ ผู้อื่นสร้างสรรก็หามิได้ ...
๙. ตนและโลกยั่งยืน มีทั้งสุขและทุกข์ ...
๑๐. ตนและโลกไม่ยั่งยืน มีทั้งสุขและทุกข์ ...
๑๑. ตนและโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ยั่งยืนก็มี ไม่ยั่งยืนก็มี ...
๑๒. ตนและโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ยั่งยืนก็หามิได้ ไม่ยั่งยืนก็หามิได้ ...
๑๓. ตนและโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ตนเองสร้าง ...
๑๔. ตนและโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ผู้อื่นสร้างสรร นี้แหละจริง อื่นเปล่า
๑๕. ตนและโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ตนเองสร้างสรรก็มี ผู้อื่นสร้างสรรก็มี นี้แหละจริง อื่นเปล่า
๑๖. ตนและโลกมีทั้งสุขและทุกข์ เกิดขึ้นลอยๆ ตนเองสร้างสรรก็หามิได้ ผู้อื่นสร้าง สรรก็หามิได้ นี้แหละจริง อื่นเปล่า
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๒๘

กิรสูตรที่ ๒

          [๑๓๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล สมณะ พราหมณ์ปริพาชกมากด้วยกันผู้มี ลัทธิต่างๆ กัน มีทิฐิต่างกัน มีความพอใจต่างกัน มีความชอบใจต่างกัน อาศัยทิฐินิสัย ต่างกัน อาศัยอยู่ในพระนครสาวัตถี

สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า
๑. ตนและโลกเที่ยง นี้แหละจริง อื่นเปล่า

สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า
๒. ตนและโลกไม่เที่ยง นี้แหละจริง อื่นเปล่า

สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า
๓. ตนและโลกเที่ยงก็มี ไม่เที่ยงก็มี ...
๔. ตนและโลกเที่ยงก็มิใช่ ไม่เที่ยงก็มิใช่ ...
๕. ตนและโลกอันตนเองสร้างสรร ...
๖. ตนและโลกอันผู้อื่นสร้างสรร ...
๗. ตนและโลกอันตนเองสร้างสรรก็มี อันผู้อื่นสร้างสรรก็มี ...
๘. ตนและโลกเกิดขึ้นลอยๆ ตนเองสร้างสรรก็หามิได้ ผู้อื่นสร้างสรรก็หามิได้ ...
๙. ตนและโลกยั่งยืน มีทั้งสุขและทุกข์ ...
๑๐. ตนและโลกไม่ยั่งยืน มีทั้งสุขและทุกข์ ...
๑๑. ตนและโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ยั่งยืนก็มี ไม่ยั่งยืนก็มี ...
๑๒. ตนและโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ยั่งยืนก็หามิได้ ไม่ยั่งยืนก็หามิได้ ...
๑๓. ตนและโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ตนเองสร้าง ...
๑๔. ตนและโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ผู้อื่นสร้างสรร นี้แหละจริง อื่นเปล่า

สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า
๑๕. ตนและโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ตนเองสร้างสรรก็มี ผู้อื่นสร้างสรรก็มี นี้แหละจริง อื่นเปล่า

สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า
๑๖. ตนและโลกมีทั้งสุขและทุกข์ เกิดขึ้นลอยๆ ตนเองสร้างสรรก็หามิได้ ผู้อื่นสร้าง สรรก็หามิได้ นี้แหละจริง อื่นเปล่า

          สมณพราหมณ์เหล่านั้น บาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน ทิ่มแทงกัน และกัน ด้วยหอกคือปากว่า ธรรมเป็นเช่นนี้ ธรรมไม่เป็นเช่นนี้ ธรรมไม่เป็นเช่นนี้ ธรรมเป็นเช่นนี้

          [๑๔๐] ครั้งนั้นแล เวลาเช้า ภิกษุมากด้วยกัน นุ่งแล้วถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี กลับจากบิณฑบาตภายหลังภัตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

           ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน พระวโรกาส สมณะ พราหมณ์ปริพาชกมากด้วยกัน ผู้มีลัทธิต่างๆ กัน มีทิฐิต่างกัน มีความพอใจต่างกัน อาศัยทิฐินิสัยต่างกัน อาศัยอยู่ในพระนครสาวัตถี สมณพราหมณ์ พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า ตนและโลกเที่ยง นี้แหละจริง อื่นเปล่า ฯลฯ ธรรมเป็นเช่นนี้ธรรมไม่เป็นเช่นนี้ ธรรมไม่เป็นเช่นนี้ ธรรมเป็นเช่นนี้ พระเจ้าข้า

          พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเป็นคนบอด ไม่มีจักษุ ย่อมไม่รู้จักประโยชน์ ไม่รู้จักความฉิบหาย ใช่ประโยชน์ไม่รู้จักธรรม ไม่รู้จักสภาพ มิใช่ธรรม เมื่อไม่รู้จักประโยชน์ ไม่รู้จักความฉิบหายใช่ประโยชน์ ไม่รู้จักธรรม ไม่รู้จักสภาพมิใช่ธรรม ก็บาดหมางกัน ทะเลาะกันวิวาทกัน ทิ่มแทงกัน และกันอยู่ด้วยหอกคือปากว่า ธรรมเป็นเช่นนี้ ธรรมไม่เป็นเช่นนี้ ธรรมไม่เป็นเช่นนี้ ธรรมเป็นเช่นนี้

          ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า ได้ยินว่า สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ข้องอยู่ในทิฐินิสัยเหล่านี้ยังไม่ถึง นิพพานเป็นที่หยั่งลงเทียว ย่อมจบอยู่ในระหว่างแล

 


 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์