เว็บไซต์ อนาคามี แหล่งเผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
พระโมคคัลลานะ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ด้วยทิพยจักษุและทิพยโสตธาตุ 245  
 
  (ย่อ)

ฆฏสูตร
พระโมคคัลลานะ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ด้วยทิพยจักษุและทิพยโสตธาตุ เพื่อสดับรับฟังเรื่อง
"การเป็นผู้ปรารภความเพียร" ทรงแนะให้ตั้งสัตยาธิษฐานว่า (แม้ร่างกายนี้) จะเหลืออยู่ แต่หนัง เอ็น และ กระดูก ก็ตามที เลือดและเนื้อในร่างกาย จงเหือดแห้งไปเถิด ผลอันใด ที่จะพึงบรรลุได้ด้วย เรี่ยวแรง ของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ ยังไม่บรรลุผลนั้นแล้ว จะหยุดความเพียรเสีย เป็นอันไม่มี โมคคัลลานะ ภิกษุย่อมเป็นผู้ปรารภความเพียรอย่างนี้แล

ด้วยธรรมีกถานี้ เมื่อพระโมคคัลลานะได้สดับแล้ว ทำให้อินทรีย์ผ่องใส มีผิวหน้าบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว

หมายเหตุ : พระโมคคัลลานะไม่ได้เข้าเฝ่าด้วยฤทธิ์ แต่ใช้ วิชชา ๘ (ญาณ ๘)
- จุตูปปาตญาณ (ทิพย์จักษุ หรือ ตาทิพย์)
- ทิพยโสตญาณ (โสตธาตุ หรือ หูทิพย์)
 

 

 

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๑๑-๓๑๓.

๓. ฆฏสูตร

          [๖๙๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหา โมคคัลลานะ อยู่ในวิหารเดียวกัน ในพระเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน

           ครั้งนั้นแล เวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่เร้น เข้าไปหาท่านพระมหา โมคคัลลานะถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไปหาแล้ว ได้สนทนาปราศรัยกับท่านพระมหาโมค คัลลานะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง

          [๖๙๒] ครั้นท่านพระสารีบุตรนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระมหา โมคคัลลานะว่า ท่านโมคคัลลานะ อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก ผิวหน้าของท่าน บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ชะรอยวันนี้ ท่านมหาโมคคัลลานะ จะอยู่ด้วยวิหารธรรมอันละเอียด

          ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส วันนี้ผมอยู่ด้วยวิหารธรรมอันหยาบ อนึ่ง ผมได้มีธรรมีกถา

          สา. ท่านมหาโมคคัลลานะได้มีธรรมีกถากับใคร
          ม. ผมได้มีธรรมีกถากับพระผู้มีพระภาค

          สา. เดี๋ยวนี้พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ไกลนัก ท่านมหาโมคคัลลานะ ไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคด้วยฤทธิ์หรือ หรือว่าพระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาท่านมหา โมคคัลลานะ ด้วยฤทธิ์

          ม. ผมไม่ได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคด้วยฤทธิ์ แม้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ได้ เสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์ แต่ผมมีทิพยจักษุและทิพย โสตธาตุ อันหมดจดเท่า พระผู้มี พระภาค แม้พระผู้มีพระภาค ก็ทรงมีทิพยจักษุ และทิพยโสตธาตุ อันหมดจด เท่าผม

          สา.ท่านมหาโมคคัลลานะได้มีธรรมีกถากับพระผู้มีพระภาคอย่างไร

          [๖๙๓] ม. ผมได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคในที่นี้ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่าผู้ปรารภความเพียรๆ ดังนี้ ก็บุคคลจะชื่อว่าเป็นผู้ปรารภความเพียร ด้วยเหตุ ประมาณเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า อาวุโส

          เมื่อผมกราบทูลอย่างนี้แล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะผมดังนี้ว่า โมคคัลลานะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ปรารภความเพียร ด้วยตั้งสัตยาธิษฐานว่า จะเหลืออยู่ แต่หนัง เอ็น และกระดูก ก็ตามที เลือดและเนื้อในร่างกาย จงเหือดแห้งไปเถิด ผลอันใด ที่จะพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ ยังไม่บรรลุผลนั้นแล้ว จะหยุดความเพียรเสียเป็นอันไม่มี โมคคัลลานะ ภิกษุย่อมเป็นผู้ปรารภความเพียรอย่างนี้แล อาวุโส ผมได้มีธรรมีกถา กับพระผู้มีพระภาคอย่างนี้แล

          [๖๙๔] สา. อาวุโส เปรียบเหมือนก้อนหินเล็กๆ ที่บุคคลเอาไปวาง เปรียบเทียบ กับขุนเขาหิมพานต์ฉันใด เราเมื่อเปรียบเทียบเคียงกับท่าน มหาโมคคัลลานะ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แท้จริง ท่านมหาโมคคัลลานะเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เมื่อจำนงอยู่ พึงตั้งอยู่ได้ตลอดกัปแล

          [๖๙๕] ม. อาวุโส ก้อนเกลือเล็กๆ ที่บุคคลหยิบเอาไปวางเปรียบเทียบ กับหม้อเกลือใหญ่ ฉันใด ผมเมื่อเปรียบเทียบท่านสารีบุตรก็ฉันนั้นเหมือนกันแท้จริง ท่านพระสารีบุตรเป็นผู้อันพระผู้มีพระภาคทรงชม ทรงสรรเสริญ ทรงยกย่องแล้ว โดยปริยายมิใช่น้อย มีอาทิว่า ภิกษุผู้ถึงซึ่งฝั่งคือพระนิพพาน เป็นผู้เยี่ยมด้วยปัญญา ด้วยศีลและอุปสมะ คือพระสารีบุตร ดังนี้

          ท่านมหานาคทั้งสองนั้น เพลิดเพลินคำสนทนาที่เป็นสุภาษิต ของกันและกัน ด้วยประการดังนี้แล

 


 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์