เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  นิครนถ์ (นักบวชลัทธินอกศาสนา) 244 Next
 
 


นิครนถ์
จากสารานุกรมไทย

เป็นชื่อของนักบวชลัทธินอกศาสนาลัทธิหนึ่ง ในอินเดียสมัยพุทธกาล มีนาฏบุตร เป็นเจ้าลัทธิ เรื่องราวของนักบวชพวกนี้ มีปรากฎอยู่ในคัมภีร์ทาง พระพุทธศาสนา มากมาย คำนิครนถ์ เป็นภาษาสันสกฤต ในภาษาบาลีใช้ว่า "นิคัณฐะ" แปลว่า ไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด หรือเครื่องผูกพัน

ต่อมาเมื่อนิครนถ์ นาฏบุตร ดับขันธุ์แล้วไม่นาน พวกนิครนถ์ได้แตกออกเป็นสองนิกาย คือ
นิกายทิคัมพร แปลว่าพวกนุ่งห่มทิศคือไม่นุ่งผ้า กับ
นิกายเศวตัมพร
แปลว่า พวกนุ่งขาว ห่มขาว

    
นิกายเศวตัมพร แปลว่าพวกนุ่งขาว ห่มขาว     นิกายทิคัมพร แปลว่าพวกนุ่งห่มทิศ คือไม่นุ่งผ้า

สาระสำคัญของลัทธินิครนถ์นี้ ตรงกับลัทธิสำคัญลัทธิหนึ่งในจำนวนลัทธิเดียรถีย์ สามลัทธิคือ ลัทธิที่ตรัสว่า "มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุขทุกข์ หรือ ไม่สุขไม่ทุกข์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่บุคคลเสวยนั้น ล้วนแต่มีกรรม ที่ทำไว้ แล้วแต่กาลก่อนเป็นเหตุ"

ในปัจจุบันนักบวชพวกนิครนถ์ ยังมีอยู่แพร่หลายในอินเดีย เรียกกันว่า นักบวชเชน และเรียก นาฎบุตรว่ามหาวีระ เมื่อนิครนถ์ นาฏบัตร ดับขันธ์ลง สาวกทั้งหลายได้ประชุมหารือกันว่า สาระสำคัญของลัทธินี้เป็นอย่างไร สาวกฝ่ายหนึ่งบอกว่าเป็นสัสตทิฐิ อีกฝ่ายหนึ่งแย้งว่า เป็นอุจเฉททิฐิ ความจริงลัทธิของนิครนถ์ นาฏบัตรนี้เป็นลัทธิหนึ่งในจำนวน 62 ลัทธิ (ทิฐิ62) ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ในพรหมชาลสูตร ซึ่งทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็น ลัทธิเศียรถีย์คือลัทธินอกพระพุทธศาสนา



นิครนถ์นาฏบุตร หรือศาสดามหาวีระ (Mahavira)

ก่อนพุทธกาลราว ๔๓ ปี นิครนถ์นาฏบุตร หรือมหาวีระ (Mahavira) ก็ได้ก่อตั้งลัทธิ ศาสนาหนึ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า ศาสนาเชน ท่านนิครนถ์นาฏบุตร นับเป็นบุคคล สำคัญที่สุดในบรรดาครูทั้ง ๖ ตำนานกล่าวว่าเกิดที่กุณฑคาม เมืองไวสาลี แคว้นวัชชี ของพวกเจ้าลิจฉวี บิดานามว่าสิทธัตถะ หรือสิทธารถะ เป็นกษัตริย์ลิจฉวีพระองค์หนึ่ง มารดาชื่อว่าตฤศลา เนื่องจากเป็นคนกล้าหาญ จึงได้ชื่อว่า มหาวีระ แปลว่า มีความแกล้วกล้าอาจหาญ

ครั้งออกบวชแสวงหาโมกขธรรม ๑๒ ปี จึงบรรลุโมกษะ เมื่อได้บรรลุแล้วจึงได้ นามใหม่ ว่า ชินะ อันหมายถึงผู้ชนะแล้ว ท่านเป็นศิษย์ท่านปาร์ศวา (Parsva) ซึ่งถือว่าเป็น ศาสดาองค์ที่ ๒๓ ผู้มีอายุห่างจากท่านมหาวีระเพียง ๒๕๐ ปีเท่านั้น คำว่า ศาสดาใน ศาสนาเชนเรียกว่า ตัรถังกร แปลว่า ผู้ถึงท่าคือนิพพาน โดยมหาวีระเป็นองค์ที่ ๒๔ ได้สั่งสอน อยู่ ๓๐ ปี จึงนิรวาน (Nirvan) อย่างไรก็ตาม มีสาวกของมหาวีระ หรือ นิครนถ์ นาฏบุตร เป็นจำนวนมากที่เปลี่ยนกลับมาเป็นพุทธสาวก

เชนนับเป็นศาสนาที่ถือหลักการไม่เบียดเบียน หรืออหิงสาอย่างเอกอุ และที่มีแนวคิด ใกล้คียงกันกับพุทธศาสนา แม้แต่การสร้างพระพุทธรูป ถ้าดูอย่างผิวเผินก็ไม่เห็น ความแตกต่างจากพระพุทธรูปเท่าใด ยกเว้นจะเปลือยกาย และมีดอกจันทน์ ที่หน้าอกเท่านั้น

ปัจจุบันมีเชนศาสนิกชนประมาณ ๖ ล้านคน ทั่วอินเดีย โดยมากมีฐานะดี เพราะเป็น พ่อค้าเสียส่วนใหญ่ จุดประสงค์ของลัทธินี้ก็เพื่อจะหลุดพ้นจากสังสารวัฏ โดยเรียกว่า โมกษะ คือต้องสำเร็จเกวลัชญาณก่อน โดยสอนว่า "การที่จะนำไปสู่ โมกษะ ได้นั้น คือแก้ว ๓ ดวงคือ มีความเห็นชอบ มีความรู้ชอบ มีความประพฤติชอบ เท่านั้น พระเจ้าเป็นเรื่องเหลวไหล พระเจ้าไม่สามารถบันดาลทุกข์สุขให้ใครได้ ทุกข์สุขเป็น ผลที่สืบเนืองมาจากกรรม การอ้อนวอนก็เป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์ไม่มีสาระ"

ลัทธินี้ถือว่าการบำเพ็ญตนให้ลำบาก คือ อัตตกิลมถานุโยค ถือเป็นทางนำไปสู่การ บรรลุธรรมที่เรียกว่า โมกษะ ผู้ที่ฝึกฝนดีแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เกิดทาง กาย วาจา ใจ

กล่าวกันว่า ท่านมหาวีระบำเพ็ญขันติธรรมนาน จนไม่ขยับเขยื้อนไปไหน จนเถาวัลย์ขึ้น พันรอบกายท่าน

นอกจากนี้นักบวชเชนยังต้องรักษาศีล ๕ ข้อย่างเคร่งครัด คือ
๑. เว้นจากการฆ่าสิ่งที่มีชีวิต รวมทั้งพืชด้วย
๒. เว้นจากการพูดเท็จ
๓. เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้
๔. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๕. ไม่ยินดีในกามวัตถุ
(ไม่มีข้อห้ามเรื่องดึ่มของมึนเมาเหมือนศีล5 ในศาสนาพุทธ)

และศาสนิกชนเชนต้องรักษาศีล ๑๒ ข้ออย่างเคร่งครัดเช่นกัน คือ
๑. เว้นจากการทำลายสิ่งที่มีชีวิต
๒. เว้นจากการพูดเท็จ
๓. เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ไห้
๔. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๕. มีความพอใจในความปรารถนาคือพอใจในสิ่งที่ตนมี
๖. เว้นจากอารมณ์ที่ก่อให้เกิดความชั่ว เช่นการเที่ยวเตร่
๗. รู้จักประมาณในการใช้สอยเครื่องอุปโภคบริโภค
๘. เว้นจากการทางที่ก่อให้เกิดอาชญาให้ร้าย
๙. ไม่ออกพ้นเขตไม่ว่าทิศใดทิศหนึ่งยามบำเพ็ญพรต
๑๐. บำเพ็ญพรตทุกเทศกาล
๑๑. อยู่จำอุโบสถศีล
๑๒. ให้ทานแก่พระ และต้อนรับแขกผู้มาเยือน

ต่อมาหลังพุทธปรินิพพาน ๒๔๐ ปีก็แตกออกเป็น ๒ นิกายคือ
๑. นิกายทิฆัมพร ยังถือเคร่งครัดเหมือนเดิม โดยไม่นุ่งผ้า เปลือยกายเหมือนเดิม
๒. นิกายเสวตัมพร นุ่งขาวห่มขาว ไว้ผมยาว แต่งตัวสะอาดสะอ้าน และคบหากับผู้คนมากกว่านิกายเดิม ที่เน้นการปลีกตัวอยู่ต่างหาก

    
(ภาพจากเว็บไซต์)

การอ้างอิง
ศาสนาเชน - วิกิพีเดีย
Shramana - Wikipedia, the free encyclopedia
เจ้าแห่งลัทธิทั้ง 6 สมัยก่อนพุทธกาลและระหว่างพุทธกาล

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์