เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  สังกัปปะ 240  
 
  (โดยย่อ)

ตามดู P420 มหาจัตตารีสกสูตร
มรรคแปดสำหรับอริยะ(อนาสวะ) กับ แบบปุถุชน(สาสวะ)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 


สังกัปปะ (ความวิตก ความคิด ความดำริ)

สัมมาสังกัปปะ มี 3 อย่าง ได้แก่

1) เนกขัมมสังกัปป์ (หรือ เนกขัมมวิตก) คือ ความดำริที่ปลอดจากโลภะ ความนึกคิดที่ปลอด โปร่งจากกาม ไม่หมกมุ่นพัวพันติดข้องในสิ่งสนองความอยากต่างๆ ความคิดที่ปราศจากความ เห็นแก่ตัว ความคิดเสียสละ และความคิดที่เป็นคุณเป็นกุศลทุกอย่าง จัดเป็นความนึกคิดที่ ปราศจาก ราคะ หรือโลภะ

2) อพยาบาทสังกัปป์ (หรือ อพยาบาทวิตก) คือ ดำริในอันไม่พยาบาท ความดำริที่ไม่มีความ เคียดแค้น ชิงชัง ขัดเคือง หรือเพ่งมองในแง่ร้ายต่างๆ โดยเฉพาะมุ่งเอาธรรมที่ตรงข้าม คือเมตตา กรุณาซึ่งหมายถึงความปรารถนาดี ความมีไมตรี ต้องการให้ผู้อื่นมีความสุข จัดเป็นความนึกคิด ที่ปราศจากโทสะ

3) อวิหิงสาสังกัปป์ (หรือ อวิหิงสาวิตก) คือ ดำริในอันไม่เบียดเบียน ไม่มีการคิดทำร้าย หรือทำลายด้วยความไม่รู้ เพราะคึกคะนอง ทำโดยไม่มีความโลภ หรือความโกรธมาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะมุ่งเอาธรรมที่ตรงข้าม ปัญญาคือเข้าใจโลกนี้ตามความเป็นจริง รู้ชัดในกฎแห่งกรรม หรือมีสามัญสำนึกในสิ่งที่ถูกต้องดีงามเอง จัดเป็นความนึกคิดที่ปราศจากโมหะ

-------------------------------------------------------------------------------------------------

สิ่งที่ตรงกันข้ามกับสัมมาสังกัปปะ


สัมมาสังกัปปะตรงกันข้ามกับมิจฉาสังกัปปะ (ความดำริผิด) ซึ่งมี ๓ อย่างคือ
1) กามสังกัปป์ (หรือ กามวิตก)
2) พยาบาทสังกัปป์ (หรือ พยาบาทวิตก)
3) วิหิงสาสังกัปป์์ (หรือ วิหิงสาวิตก)

ความดำริหรือแนวความคิดแบบ มิจฉาสังกัปปะ นี้ เป็นเรื่องปรกติของคนส่วนมาก เพราะตาม ธรรมดานั้น เมื่อปุถุชนรับรู้อารมณ์ ก็จะเกิดความรู้สึกหนึ่งในสองอย่าง คือ ถูกใจซึ่งก็จะชอบ ติดใจ หรือไม่ถูกใจก็จะไม่ชอบ มีขัดเคืองตามมา จากนั้นความดำรินึกคิดต่างๆ ก็จะดำเนินไปตามแรง ผลักดันของความชอบ และไม่ชอบนั้น

ความดำริหรือความนึกคิดที่เอนเอียงเช่นนี้ เกิดขึ้นเพราะ มองสิ่งต่างๆอย่างผิวเผิน รับรู้อารมณ์ เข้ามาทั้งดุ้น โดยขาดสติสัมปชัญญะ แล้วปล่อยความนึกคิดให้แล่นไปตามความรู้สึก หรือ ตามเหตุผลที่มีความชอบใจ ไม่ชอบใจเป็นตัวนำ ไม่ได้ใช้ความคิดแยกแยะส่วนประกอบ และ ความคิดสืบสาวสอบค้นเหตุปัจจัย ตามหลักโยนิโสมนสิการ

มิจฉาทิฏฐิ คือ ความเข้าใจผิดพลาด ไม่มองเห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง จึงทำให้เกิด มิจฉาสังกัปปะ คือ ดำริ นึกคิด และมีทัศนคติต่อสิ่งทั้งหลายผิดพลาดบิดเบือน และมิจฉาสังกัปปะ นี้ ก็ส่งผลสะท้อนให้เกิดมิจฉาทิฐิ จนเข้าใจและมองเห็นสิ่งทั้งหลาย อย่างผิดพลาดและบิดเบือน ยิ่งขึ้นไปอีก

สัมมาทิฏฐิ กับ สัมมาสังกัปปะ
การที่จะมองเห็นสิ่งทั้งหลายอย่างถูกต้อง ตามที่มันเป็นได้นั้น จะต้องใช้โยนิโสมนสิการ คือ ขณะนั้นความนึกคิดดำริต่างๆ จะต้องปลอดโปร่ง มีอิสระ ไม่มีทั้งความชอบใจ ความยึดติด พัวพัน และความไม่ชอบใจ เป็นปฏิปักษ์ต่างๆด้วย นั่นคือ จะต้องมี สัมมาทิฏฐิ และ สัมมาสังกัปปะ ซึ่งองค์ประกอบทั้งสองอย่างนี้ ส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน

สัมมาสังกัปปะ ๒ อย่าง
1) สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็น สาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ คือ ความดำริใน เนกขัมมะ ดำริในความไม่พยาบาท ดำริในความไม่เบียดเบียน

2) สัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็น อนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค คือ ความตรึก ความวิตก ความดำริ ความแน่ว ความแน่ ความปักใจ วจีสังขาร ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่

(ที่มา :วิกิพีเดีย)



อุทเทศแห่ง สัมมาสังกัปปะ

ภิกษุ ท. ! สัมมาสังกัปปะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ความดำริในการ ออกจากกาม
ความดำริในการ ไม่มุ่งร้าย
ความดำริในการ ไม่เบียดเบียน.
ภิกษุ ท. ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาสังกัปปะ.
- มหา.ที. ๑๐/๓๔๘/๒๙๙.

สัมมาสังกัปปะโดยปริยายสองอย่าง
(โลกิยะ - โลกุตตระ)

ภิกษุ ท. ! สัมมาสังกัปปะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เรากล่าวแม้สัมมาสังกัปปะว่ามีอยู่โดยส่วนสอง คือ
(1) สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นไปกับด้วย อาสวะ (สาสว) เป็นส่วนแห่งบุญ (ปุญฺญภาคิย)
มีอุปธิเป็นวิบาก (อุปธิเวปกฺก) ก็มีอยู่
(2) สัมมาสังกัปปะอัน เป็นอริยะ (อริย) ไม่มีอาสวะ (อานาสว) เป็นโลกุตตระ (โลกุตฺตร)
เป็นองค์แห่งมรรค (มคฺคงฺค) ก็มีอยู่.

ภิกษุ ท. ! สัมมาสังกัปปะ ที่ยังเป็นไปกับด้วย อาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีอุปธิเป็นวิบาก นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? คือ
เนกขัมมสังกัปปะ (ดำริออกจากกาม)
อัพ๎ยาปาทสังกัปปะ (ดำริที่จะไม่พยาบาท)
อวิหิงสาสังกัปปะ.
(ดำริที่จะไม่เบียดเบียน)
ภิกษุ ท. ! นี้คือ สัมมาสังกัปปะ ที่ยังเป็นไปกับด้วย อาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีอุปธิเป็นวิบาก.

ภิกษุ ท. ! สัมมาสังกัปปะอัน เป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? คือ
ตักกะ (ตริตรึก)
วิตักกะ (วิตก)
สังกัปปะ (ดำริ)
อัปปนา (แน่วแน่)
พ๎ยัปปนา (แน่วแน่อย่างวิเศษ)
เจตโสอภินิโรปนา (งอกงามแห่งความคิดถึงที่สุดของจิต)
และวจีสังขาร (สิ่งปรุงแต่งการพูด) ของผู้มีอริยจิต ของผู้มีอนาสวจิต ของผู้มีอริยมัคคสมังคี ผู้เจริญอยู่ซึ่งอริยมรรค.

ภิกษุ ท. ! นี้คือสัมมาสังกัปปะอันเป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค.

- อุปริ.ม. ๑๔/๑๘๒/๓๖๑ - ๒๖๓.
๑. คำเหล่านี้ทุกคำ มีความหมายเป็นความแน่วแน่แห่งจิตในอารมณ์ ที่จิตกำหนดในรูปแห่ง ความคิด อย่างใดอย่างหนึ่ง และทำหน้าที่ปรุงแต่งการพูดด้วย คือ ตักกะ = ตริตรึก, วิตักกะ = วิตก, สังกัปปะ = ดำริ, อัปปนา = แน่วแน่, พยัปปนา=แน่วแน่อย่างวิเศษ, เจตโสอภินิโรปนา = งอกงามแห่งความคิดถึงที่สุดของจิต, วจีสังขาร = สิ่งปรุงแต่งการพูด

 

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์