เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  อุปมานิวรณ์ เหมือนก้าวข้ามอุปสรรค จนประสพความสำเร็จ 235  
 
 
อุปมานิวรณ์ เหมือนก้าวข้ามอุปสรรค จนประสพความสำเร็จ

1. เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงกู้หนี้ไปประกอบการงาน และการงานสำเร็จผล จนใช้หนี้ ได้หมดสิ้น แถมมีกำไรเหลืออยู่เพื่อเลี้ยงภริยาเขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ความโสมนัส มีความไม่มีหนี้

2.เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงเป็นผู้มีอาพาธถึงความลำบาก จ็บหนัก บริโภคอาหารไม่ได้ ต่อมา เขาหายจากอาพาธ จึงคิดอย่างนี้ว่า บัดนี้เราหายแล้ว เขาย่อมปราโมทย์ ถึงความไม่มีโรค

3. เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงถูกจำอยู่ในเรือนจำ ต่อมาได้พ้นโทษ โดยไม่ต้องเสียทรัพย์อะไรเลย เขาคิดอย่างนี้ว่าเมื่อก่อนเราถูกจองจำ บัดนี้เราพ้นแล้ว  เขาย่อมปราโมทย์โสมนัส ที่ออกจากเรือนจำ

4. เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงเป็นทาส พึ่งใครไม่ได้ ไปไหนไม่ได้ ต่อมาเขาเป็นอิสระ เขาคิดอย่าง นี้ว่า เราเป็นไทยแล้ว ไปไหนได้ตามความพอใจ เขาย่อม ปราโมทย์โสมนัส ในความเป็นไทย

5. เปรียบเหมือนบุรุษ มีทรัพย์ มีโภคสมบัติ ได้เดินทางไกล ในถิ่นกันดาร ต่อมาเขาพ้นแล้วโดย สวัสดี เขาคิดว่าเมื่อก่อนเรามีทรัพย์ต้องเดินทางไกล บัดนี้เราพ้นแล้ว เขาพึงปราโมทย์ โสมนัสใจ

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

อุปมานิวรณ์



             [๑๒๖] ดูกรมหาบพิตร (1) เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงกู้หนี้ไปประกอบ การงาน การงาน ของเขาจะพึงสำเร็จผล เขาจะพึงใช้หนี้ที่เป็นต้นทุนเดิมให้หมดสิ้น และ ทรัพย์ที่เป็น กำไรของเขา จะพึงมีเหลืออยู่สำหรับเลี้ยงภริยา เขาพึงมีความคิด เห็น อย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเรากู้หนี้ไปประกอบการงาน บัดนี้ การงานของเราสำเร็จผล แล้ว เราได้ใช้หนี้ ที่เป็นต้นทุนเดิมให้หมดสิ้นแล้ว และ ทรัพย์ที่เป็นกำไรของเรา ยังมี เหลืออยู่สำหรับ เลี้ยงภริยา ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีความไม่มีหนี้นั้นเป็นเหตุ ฉันใด.

ดูกรมหาบพิตร (2) เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงเป็นผู้มีอาพาธถึงความลำบาก เจ็บหนัก บริโภคอาหารไม่ได้ และไม่มีกำลังกาย สมัยต่อมา เขาพึงหายจาก อาพาธ นั้น บริโภคอาหารได้และมีกำลังกาย เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราเป็นผู้มี อาพาธ ถึงความลำบาก เจ็บหนักบริโภคอาหารไม่ได้ และไม่มีกำลังกาย บัดนี้ เรา หายจาก อาพาธนั้นแล้ว บริโภคอาหารได้ และมีกำลังกายเป็นปกติ ดังนี้ เขาจะพึงได้ ความ ปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีความไม่มีโรคนั้นเป็นเหตุ ฉันใด.

ดูกรมหาบพิตร (3) เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงถูกจำอยู่ในเรือนจำ สมัยต่อมา เขาพึงพ้นจาก เรือนจำนั้นโดยสวัสดีไม่มีภัย ไม่ต้องเสียทรัพย์อะไรๆ เลย เขาจะพึง คิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อน เราถูกจองจำอยู่ในเรือนจำ บัดนี้ เราพ้นจากเรือนจำนั้น โดยสวัสดีไม่มีภัยแล้ว และเราไม่ต้องเสียทรัพย์อะไรๆเลยดังนี้ เขาจะพึงได้ความ ปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีการพ้นจากเรือนจำ นั้นเป็นเหตุ ฉันใด.

ดูกรมหาบพิตร (4) เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงเป็นทาสไม่ได้ พึ่งตัวเอง พึ่งผู้อื่น ไปไหน ตามความพอใจไม่ได้ สมัยต่อมา เขาพึงพ้นจากความเป็นทาสนั้น พึ่งตัวเอง ไม่ต้องพึ่ง ผู้อื่นเป็นไทยแก่ตัว ไปไหนได้ตามความพอใจ เขาจะพึงมี ความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราเป็นทาสพึ่งตัวเองไม่ได้ ต้องพึ่งผู้อื่น ไปไหน ตามความพอใจไม่ได้ บัดนี้ เราพ้นจากความเป็นทาสนั้นแล้ว พึ่งตัวเอง ไม่ต้อง พึ่งผู้อื่น เป็นไทยแก่ตัว ไปไหนได้ ตามความพอใจ ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีความเป็นไทย แก่ตัวนั้นเป็นเหตุ ฉันใด.

ดูกรมหาบพิตร(5) เปรียบเหมือนบุรุษ มีทรัพย์ มีโภคสมบัติ พึงเดินทางไกล กันดาร หาอาหารได้ยาก มีภัยเฉพาะหน้า สมัยต่อมา เขาพึงข้ามพ้นทางกันดารนั้นได้ บรรลุ ถึงหมู่บ้านอันเกษมปลอดภัยโดยสวัสดี เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อน เรามีทรัพย์ มีโภคสมบัติเดินทางไกลกันดาร หาอาหารได้ยาก มีภัย เฉพาะหน้า บัดนี้ เราข้ามพ้นทางกันดารนั้นบรรลุถึงหมู่บ้านอันเกษม ปลอดภัย โดยสวัสดีแล้ว ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีภูมิสถานอันเกษม นั้นเป็นเหตุ ฉันใด.

ดูกรมหาบพิตร ภิกษุพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการ เหล่านี้ที่ยังละไม่ได้ในตน เหมือนหนี้ เหมือนโรค เหมือนเรือนจำ เหมือนความเป็นทาส เหมือนทางไกลกันดาร และเธอ พิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการที่ละได้แล้วในตน เหมือนความไม่มีหนี้ เหมือนความ ไม่มีโรค เหมือนการพ้นจากเรือนจำ เหมือนความเป็นไทยแก่ตน เหมือนภูมิสถาน อันเกษม ฉันนั้นแล.

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์