เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ธรรม ๑๐ ประการ เพื่อเป็นเศษดินปลายฝุ่น 234  
 

 



ธรรม 10 ประการเพื่อเป็นเศษดินปลายฝุ่น

1 งดเว้นจากปาณาติบาต (ละการฆ่า การเบียดเบียน
2 งดเว้นจากอทินนาทาน (ละการลักทรัพย์)
3 งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร (ละกาเม)
4 งดเว้นจากการพูดเท็จ
5 งดเว้นจากคำส่อเสียด
6 งดเว้นจากคำหยาบ
7 งดเว้นจากคำเพ้อเจ้อ

8 งดเว้นจากการพรากพีชคาม(พืชสีเขียว)
9 งดเว้นจากการบริโภคอาหาร ในเวลาวิกาล
10 งดเว้นจากการประดับตกแต่งร่างกายด้วยของหอม และเครื่องประเทืองผิว

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 


พระไตรปิฎกไทย(ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๔๖๑-๔๖๓ ข้อที่ ๑๗๖๖-๑๗๗๕

ธรรม ๑๐ ประการ เพื่อเป็นเศษดินปลายฝุ่น
(อามกธัญญเปยยาล ทุติยวรรคที่ ๘)



(๑) ปาณาติปาตสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นปาณาติบาตมีน้อย

        [๑๗๖๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจักสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ฝุ่นนิดหนึ่งที่เรา ช้อนขึ้น ด้วยปลายเล็บนี้ กับมหาปฐพีนี้ ข้างไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลว่า ข้อแต่พระองค์ผู้เจริญ ฝุ่นนิดหนึ่งที่พระผู้มีพระภาค ทรงช้อนขึ้นด้วย ปลายพระนขานี้ เป็นของมีประมาณน้อย ฝุ่นนั้นเมื่อนำเข้าไปเทียบ กับมหาปฐพี ย่อมไม่ถึงซึ่งการคำนวนได้ เปรียบเทียบได้ ไม่เข้าถึงแม้ซึ่งส่วนเสี้ยว

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้ที่งดเว้นจากปาณาติบาต มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ที่ไม่งดเว้นจากปาณาติบาต มีมากกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่เห็นอริยสัจ๔ อริยสัจ๔ เป็นอย่างไรเล่า คือ อริยสัจคือ ทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์ อริยสัจคือความดับไม่เหลือของทุกข์ อริยสัจคือทาง ดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อให้รู้ ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับสนิทแห่งทุกข์ นี้ทางดำเนิน ให้ถึงความดับสนิทแห่งทุกข์ ดังนี้เถิด
จบ สูตรที่ ๑

(๒) อทินนาทานสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นอทินนาทานมีน้อย

        [๑๗๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้ที่งดเว้นจากอทินนา ทานมีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ที่ไม่งดเว้นจากอทินนาทาน มีมากกว่า ข้อนั้นเพราะ เหตุไรเล่า

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่เห็นอริยสัจ๔ อริยสัจ๔ เป็นอย่างไรเล่า คือ อริยสัจคือ ทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์ อริยสัจคือความดับไม่เหลือของทุกข์ อริยสัจคือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อให้รู้ตาม ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับสนิทแห่งทุกข์ นี้ทางดำเนิน ให้ถึงความดับสนิทแห่งทุกข์ ดังนี้เถิด
จบ สูตรที่ ๒

(๓) กาเมสุมิจฉาจารสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นกาเมสุมิจฉาจารมีน้อย

             [๑๗๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้ที่งดเว้นจากกาเม สุมิจฉาจาร มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ที่ไม่งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร มีมากกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่เห็นอริยสัจ๔ อริยสัจ๔ เป็นอย่างไรเล่า คือ อริยสัจคือ ทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์ อริยสัจคือความดับไม่เหลือของทุกข์ อริยสัจคือทาง ดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อให้รู้ตาม ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับสนิทแห่งทุกข์ นี้ทางดำเนิน ให้ถึงความดับสนิทแห่งทุกข์ ดังนี้เถิด
จบ สูตรที่ ๓

(๔) มุสาวาทสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นมุสาวาทมีน้อย

        [๑๗๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้ที่งดเว้นจากการพูด เท็จมีน้อยโดยที่แท้ สัตว์ผู้ที่ไม่งดเว้นจากการพูดเท็จ มีมากกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เล่า

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่เห็นอริยสัจ๔ อริยสัจ๔ เป็นอย่างไรเล่า คือ อริยสัจคือ ทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์ อริยสัจคือความดับไม่เหลือของทุกข์ อริยสัจคือทาง ดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อให้รู้ตาม ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับสนิทแห่งทุกข์ นี้ทางดำเนิน ให้ถึงความดับสนิทแห่งทุกข์ ดังนี้เถิด
จบ สูตรที่ ๔

(๕) เปสุญญสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นคำส่อเสียดมีน้อย

        [๑๗๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลายฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้ที่งดเว้นจากคำส่อเสียด
มีน้อย
โดยที่แท้ สัตว์ผู้ที่ไม่งดเว้นจากคำส่อเสียด มีมากกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่เห็นอริยสัจ๔ อริยสัจ๔ เป็นอย่างไรเล่า คือ อริยสัจคือ ทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์ อริยสัจคือความดับไม่เหลือของทุกข์ อริยสัจคือทาง ดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อให้รู้ตาม ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับสนิทแห่งทุกข์ นี้ทางดำเนิน ให้ถึงความดับสนิทแห่งทุกข์ ดังนี้เถิด
จบ สูตรที่ ๕


(๖) ผรุสสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นคำหยาบมีน้อย

             [๑๗๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้ที่งดเว้นจากคำ หยาบ มีน้อยโดยที่แท้ สัตว์ผู้ที่ไม่งดเว้นจากคำหยาบมีมากกว่า ข้อนั้นเพราะ เหตุไรเล่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่เห็นอริยสัจ๔ อริยสัจ๔ เป็นอย่างไรเล่า คือ อริยสัจคือ ทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์ อริยสัจคือความดับไม่เหลือของทุกข์ อริยสัจคือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อให้รู้ตาม ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับสนิทแห่งทุกข์ นี้ทางดำเนิน ให้ถึงความดับสนิทแห่งทุกข์ ดังนี้เถิด
จบ สูตรที่ ๖


(๗) สัมผัปปลาปสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการเพ้อเจ้อมีน้อย

        [๑๗๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้ที่งดเว้นจากคำเพ้อเจ้อ
มีน้อย
โดยที่แท้ สัตว์ผู้ที่ไม่งดเว้นจากคำเพ้อเจ้อ มีมากกว่า ข้อนั้นเพราะ เหตุไรเล่า

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่เห็นอริยสัจ๔ อริยสัจ๔ เป็นอย่างไรเล่า คือ อริยสัจคือ ทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์ อริยสัจคือความดับไม่เหลือของทุกข์ อริยสัจคือทาง ดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อให้รู้ตาม ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับสนิทแห่งทุกข์ นี้ทางดำเนิน ให้ถึงความดับสนิทแห่งทุกข์ ดังนี้เถิด
จบ สูตรที่ ๗


(๘) พีชสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการพรากพืชคามมีน้อย

        [๑๗๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้ที่งดเว้นจากการพราก พีชคาม และภูตคาม มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ที่ไม่งดเว้นจากการพรากพีชคาม และ ภูตคาม มีมากกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่ เห็น อริยสัจ๔ อริยสัจ๔ เป็นอย่างไรเล่า คือ อริยสัจคือ ทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิด ทุกข์ อริยสัจคือความดับไม่เหลือของทุกข์ อริยสัจคือทาง ดำเนินให้ถึงความดับ ไม่เหลือ ของทุกข์

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อให้รู้ ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับสนิทแห่งทุกข์ นี้ทางดำเนิน ให้ถึงความดับสนิทแห่งทุกข์ ดังนี้เถิด
จบ สูตรที่ ๘


(๙) วิกาลโภชนสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นบริโภคในเวลาวิกาลมีน้อย

        [๑๗๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้ที่งดเว้นจากการ บริโภคอาหาร ในเวลาวิกาล มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ที่ไม่งดเว้นจากการบริโภค อาหารในเวลาวิกาล มีมากกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่ เห็นอริยสัจ๔ อริยสัจ๔ เป็นอย่างไรเล่า คือ อริยสัจ คือทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิด ทุกข์ อริยสัจคือความดับไม่เหลือของทุกข์ อริยสัจคือ ทางดำเนินให้ถึงความดับ ไม่เหลือของทุกข์

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อให้รู้ตาม ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับสนิทแห่งทุกข์ นี้ทางดำเนิน ให้ถึงความดับสนิทแห่งทุกข์ ดังนี้เถิด
จบ สูตรที่ ๙


(๑๐) คันธวิเลปนสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นเครื่องลูบไล้มีน้อย

        [๑๗๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้ที่งดเว้นจากการ ทัดทรง ประดับ ตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ ของหอมและเครื่องประเทืองผิว อันเป็นฐานแห่งการ แต่งตัว มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ที่ไม่งดเว้น จากการทัดทรง ประดับ ตกแต่งร่างกาย ด้วยดอกไม้ ของหอม และเครื่องประเทืองผิว อันเป็นฐาน แห่งการแต่งตัว มีมากกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่เห็น อริยสัจ๔ อริยสัจ๔ เป็นอย่างไรเล่า คือ อริยสัจคือ ทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์ อริยสัจคือความดับไม่เหลือของทุกข์ อริยสัจคือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือ ของทุกข์

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อให้รู้ตาม ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับสนิทแห่งทุกข์ นี้ทางดำเนิน ให้ถึงความดับสนิทแห่งทุกข์ ดังนี้เถิด เมื่อพระผู้มีพระภาคได้ตรัส พระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ สูตรที่ ๑๐

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์