เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ  

 
  คาวีสูตร อุปมาเรื่องแม่โคกับภิกษุ 231  
 
  (โดยย่อ)ค้นหาคำที่ต้องการ  

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
แม่โคเที่ยวไปตามภูเขา คิดว่าเราจะไปยังทิศที่ไม่เคยไป ไปกินหญ้า ไปดึ่มน้ำในเขตที่ไม่เคย กิน แถมเท้าหน้าก็ไม่ดี และโคนั้นไม่อาจกลับมาได้โดยสวัสดี เพราะเหตุใด ..เพราะเป็นโคโง่ ไม่ฉลาด ไม่รู้จักเขตที่หากิน ไม่เข้าใจที่จะเที่ยวไปบนเขาอันขรุขระ

ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุบางรูป เป็นคนโง่ ไม่ฉลาด ไม่รู้จักเขต ไม่เข้าใจเพื่อสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ไม่บรรลุ ฌาณ 1- ฌาน 4 … เรากล่าวว่า เปรียบเหมือนแม่โคเที่ยวไปบนภูเขา เป็นโคโง่ ไม่ฉลาด ไม่รู้จักเขตที่หากิน ไม่เข้าใจ เพื่อจะเที่ยวไปบนภูเขาอันขรุขระฉันนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุเข้าก็ดี ออกก็ดี ซึ่งสมาบัตินั้น(สมาธิ 8 ระดับ) ในกาลนั้น จิตของเธอเป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน สมาธิอันหาประมาณมิได้ ย่อมเป็นอันเธอเจริญ ดีแล้ว ด้วยจิต อ่อน ควรแก่การงาน เธอมีสมาธิอันหาประมาณมิได้ เจริญดีแล้ว ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งธรรมใดๆที่ควรกระทำให้แจ้ง ด้วยปัญญา อันยิ่ง

 


พระไตรปิฎกไทย(ฉบับหลวง) เล่มทื่ ๒๓ หน้าที่ ๓๓๘-๓๔๑ ข้อที่ ๒๓๙

คาวีสูตร
(อุปมาเรื่องแม่โคกับภิกษุ)


              [๒๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่โคเที่ยวไปตามภูเขา เป็นโคโง่ ไม่ฉลาด ไม่รู้จักเขต ที่หากิน ไม่เข้าใจที่จะเที่ยวไปบนเขาอันขรุขระ แม่โคนั้นพึงคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงไปยังทิศที่ไม่เคยไป พึงกินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และพึงดื่มน้ำ ที่ยังไม่เคยดื่ม แม่โคนั้นยันเท้าหน้าก็ไม่ดีเสียแล้ว พึงยกเท้าหลังอีก ก็คงจะไปยังทิศ ที่ไม่เคยไปไม่ได้ พึงกินหญ้าที่ยังไม่เคยกินไม่ได้ และพึงดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่มไม่ได้

แม่โคนั้นเมื่อยืนอยู่ในที่ใด พึงคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงไปยังทิศที่ไม่เคยไป พึงกินหญ้า ที่ยังไม่เคยกิน และพึงดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม มันกลับมายังที่นั้นอีก โดยสวัสดี ไม่ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไรพราะแม่โคนั้นเที่ยวไปบนภูเขา เป็นโคโง่ ไม่ฉลาด ไม่รู้จักเขตที่หากิน ไม่เข้าใจที่จะเที่ยวไปบนภูเขาอันขรุขระ ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นคนโง่ ม่ฉลาด ไม่รู้จักเขต ไม่เข้าใจเพื่อสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เธอไม่เสพโดยมาก ไม่เจริญ ไม่กระทำให้มาก ซึ่งนิมิตนั้น ไม่อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงบรรลุ ทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดจากสมาธิอยู่

เธอไม่อาจเพื่อบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวกอยู่ เธอย่อมไม่อาจ เพื่อสงัด จากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจาก วิเวกอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า มีชื่อเสียงปรากฏพลาด เสื่อมจากผลทั้ง ๒ แล้ว เปรียบเหมือนแม่โคเที่ยวไปบนภูเขา เป็นโคโง่ ไม่ฉลาด ไม่รู้จักเขตที่หากิน ไม่เข้าใจ เพื่อจะเที่ยวไปบนภูเขาอันขรุขระฉันนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่โคที่เที่ยวไปบนภูเขา เป็นโคฉลาดเฉียบแหลม รู้จักเขต ที่ หากิน เข้าใจที่จะเที่ยวไปบนภูเขาอันขรุขระ แม่โคนั้นพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงไปยังทิศที่ไม่เคยไป พึงกินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และพึงดื่มน้ำ ที่ยังไม่เคยดื่ม แม่โคนั้นยันเท้าหน้าไว้ดีแล้ว พึงยกเท้าหลัง แม่โคนั้นพึงไปยังทิศที่ไม่เคยไป พึงได้กินหญ้า ที่ยังไม่เคยกิน และพึงได้ดื่มน้ำที่ไม่เคยดื่ม เมื่อยืนอยู่ในที่ใด พึงคิด อย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงไปยังทิศที่ยังไม่เคยไป พึงกินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน พึงดื่มน้ำ ที่ยังไม่เคยดื่ม และพึงกลับมายังที่นั้นโดยสวัสดี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะแม่โค เที่ยวไปบนภูเขา เป็นโคฉลาด เฉียบแหลม รู้จักเขตที่หากิน เข้าใจที่จะเที่ยวไป บนภูเขาอันขรุขระ ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นบัณฑิต ฉลาด รู้จักเขต เข้าใจที่จะสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติ และ สุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เธอเสพโดยมาก เจริญ กระทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตก วิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดจากสมาธิอยู่

เธอยังไม่ยินดีเพียง ทุติยฌาน ที่ได้บรรลุนั้น เธอเสพโดยมากซึ่งนิมิตนั้น เจริญ กระทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข

เธอยังไม่ยินดีเพียง ตติยฌาน ที่ได้บรรลุนั้น เธอเสพโดยมาก เจริญ กระทำให้มาก ซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึง บรรลุ จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัส ก่อนๆได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

เธอยังไม่ยินดีเพียง จตุตถฌาน ที่ได้บรรลุนั้น เธอเสพโดยมาก เจริญ กระทำให้มาก ซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เรา เพราะ ล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตต สัญญา พึงบรรลุอากาสานัญจายตน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่าอากาศไม่มีที่สุด

เธอยังไม่ยินดีเพียง อากาสานัญจายตน ที่ได้บรรลุนั้น เธอเสพโดยมาก เจริญ กระทำ ให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราเพราะล่วงอากาสานัญจายตนโดยประการทั้งปวง พึงบรรลุ วิญญา ณัญจายตน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่าวิญญาณไม่มีที่สุด

เธอยังไม่ยินดีเพียง วิญญาณัญจายตน ที่ได้บรรลุนั้น เธอเสพโดยมาก เจริญ กระทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เรา เพราะล่วงวิญญาณัญจายตน โดยประการทั้งปวง พึงบรรลุอากิญ จัญญายตนโดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆหน่อยหนึ่งไม่มี

เธอยังไม่ยินดีเพียง อากิญจัญญายตนะ ที่ได้บรรลุนั้น เธอเสพโดยมาก เจริญ กระทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เรา เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง พึงบรรลุเนวสัญญา นาสัญญายตนะ

เธอยังไม่ยินดีเพียง เนวสัญญานาสัญญายตน ที่ได้บรรลุนั้น เธอเสพโดยมาก เจริญ กระทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราเพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนโดยประการทั้งปวง พึงบรรลุสัญญา เวทยิตนิโรธ เธอยังไม่ยินดีเพียงสัญญาเวทยิตนิโรธที่ได้บรรลุนั้น ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุเข้าก็ดี ออกก็ดี ซึ่งสมาบัตินั้น ในกาลนั้น จิตของเธอเป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน สมาธิอันหาประมาณมิได้ ย่อมเป็นอันเธอเจริญ ดีแล้ว ด้วยจิตอ่อน ควรแก่การงาน เธอมีสมาธิอันหาประมาณมิได้ เจริญดีแล้ว ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งธรรมใดๆที่ควรกระทำให้แจ้ง ด้วยปัญญา อันยิ่ง

เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆได้ ในเมื่อเหตุมีอยู่ ถ้าเธอหวังว่า เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคน เป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำรงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ พึงใช้อำนาจ ทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆได้ ในเมื่อเหตุมีอยู่

อีกประการหนึ่ง ถ้าเธอหวังว่า เราพึงฟังเสียงสองอย่าง คือ เสียงทิพย์ และ เสียง มนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกล และใกล้ ด้วยทิพยโสตธาต ุอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆได้ ในเมื่อเหตุมีอยู่

อีกประการหนึ่ง ถ้าเธอหวังว่า เราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ
จิตมีราคะ ก็พึงรู้ว่าจิตมีราคะ
หรือ จิตปราศจากราคะ ก็พึงรู้ว่าจิตปราศจากราคะ
จิตมีโทสะ ก็พึงรู้ว่าจิตมีโทสะ
หรือ จิตปราศจากโทสะ ก็พึงรู้ว่า จิตปราศจากโทสะ
จิตมีโมหะ ก็พึงรู้ว่า จิตมีโมหะ
หรือ จิตปราศจากโมหะ ก็พึงรู้ว่า จิตปราศจากโมหะ
จิตหดหู่ ก็พึงรู้ว่าจิตหดหู่
หรือ จิตฟุ้งซ่าน ก็พึงรู้ว่า จิตฟุ้งซ่าน
จิตถึงความเป็นใหญ่ ก็พึงรู้ว่า จิตถึงความเป็นใหญ่
หรือ จิตไม่ถึงความเป็นใหญ่ ก็พึงรู้ว่าจิตไม่ถึงความเป็นใหญ่
จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็พึงรู้ว่า จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า
หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็พึงรู้ว่า จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
จิตเป็นสมาธิ ก็พึงรู้ว่า จิตเป็นสมาธิ
หรือ จิตไม่เป็นสมาธิ ก็พึงรู้ว่า จิตไม่เป็นสมาธิ
จิตหลุดพ้น ก็พึงผู้ว่า จิตหลุดพ้น
หรือ จิตไม่หลุดพ้น ก็พึงรู้ว่า จิตไม่หลุดพ้น
เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยาน ในธรรมนั้นๆได้ ในเมื่อเหตุมีอยู่

อีกประการหนึ่ง ถ้าเธอหวังว่า เราพึงระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติ สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัป เป็นอันมากบ้าง

ว่าในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณ อย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียง เท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็น พยานในธรรมนั้นๆได้ ในเมื่อเหตุมีอยู่

อีกประการหนึ่ง ถ้าเธอหวังว่า เราพึงเห็นหมู่สัตว์ ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุ ของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ว่าสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อม เข้าถึง อบายทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียน พระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจ สัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุขติโลกสวรรค์ ดังนี้ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ เธอย่อมถึงความเป็น ผู้ควร เป็นพยานในธรรมนั้นๆได้ ในเมื่อเหตุมีอยู่

อีกประการหนึ่ง ถ้าเธอหวังว่า เราพึงกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหา อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆได้ ในเมื่อเหตุมีอยู่ ดังนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๔

 



 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนคาม อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์