พระไตรปิฎกไทย(ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๑๖๒-๑๖๔ อตีตสูตร อนาคตสูตร ปัจจุปันนสูตร (สูตรที่ ๑) อตีตสูตรที่ ๑ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกขุทั้งหลายว่า ดูกรภิกขุทั้งหลาย ตา ที่เป็นอดีต เป็นของไม่เที่ยง หู ที่เป็นอดีต เป็นของไม่เที่ยง จมูก ที่เป็นอดีต เป็นของไม่เที่ยง ลิ้น ที่เป็นอดีต เป็นของไม่เที่ยง กาย ที่เป็นอดีตเ ป็นของไม่เที่ยง ใจ ที่เป็นอดีต เป็นของไม่เที่ยง ดูกรภิกขุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในตา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในหู ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจมูก ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในลิ้น ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ อนาคตสูตรที่ ๑ ดูกรภิกขุทั้งหลาย ตาที่เป็นอนาคตเป็นของไม่เที่ยง หูที่เป็นอนาคตเป็นของไม่เที่ยง จมูกที่เป็นอนาคตเป็นของไม่เที่ยง ลิ้นที่เป็นอนาคตเป็นของไม่เที่ยง กายที่เป็นอนาคตเป็นของไม่เที่ยง ใจที่เป็นอนาคตเป็นของไม่เที่ยง ดูกรภิกขุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในตา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในหู ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจมูก ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในลิ้น ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ ปัจจุปันนสูตรที่ ๑ ดูกรภิกขุทั้งหลาย ตาที่เป็นปัจจุบันเป็นของไม่เที่ยง หูที่เป็นปัจจุบันเป็นของไม่เที่ยง จมูกที่เป็นปัจจุบันเป็นของไม่เที่ยง ลิ้นที่เป็นปัจจุบันเป็นของไม่เที่ยง กายที่เป็นปัจจุบันเป็นของไม่เที่ยง ใจที่เป็นปัจจุบันเป็นของไม่เที่ยง ดูกรภิกขุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในตา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในหู ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจมูก ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในลิ้น ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ ............................................................................................................................. (สูตรที่ ๒) อตีตสูตรที่ ๒ ดูกรภิกขุทั้งหลาย ตาที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ หูที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ จมูกที่ เป็นอดีตเป็นทุกข์ ลิ้นที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ กายที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ใจที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ ดูกรภิกขุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในตา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในหู ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจมูก ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในลิ้น ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ อนาคตสูตรที่ ๒ ดูกรภิกขุทั้งหลาย ตาที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ หูที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ จมูกที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ ลิ้นที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ กายที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ ใจที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ ดูกรภิกขุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในตา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในหู ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจมูก ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในลิ้น ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ ปัจจุปันนสูตรที่ ๒ ดูกรภิกขุทั้งหลาย ตาที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ หูเป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ จมูกที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ลิ้นที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ กายที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ใจที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ดูกรภิกขุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในตา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในหู ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจมูก ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในลิ้น ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ ............................................................................................................................. (สูตรที่ ๓) อตีตสูตรที่ ๓ ดูกรภิกขุทั้งหลาย ตาที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา หูที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา จมูกที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา ลิ้นที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา กายที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา ใจที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา ดูกรภิกขุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในตา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในหู ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจมูก ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในลิ้น ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ อนาคตสูตรที่ ๓ ดูกรภิกขุทั้งหลาย ตาที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา หูที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา จมูกที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา ลิ้นที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา กายที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา ใจที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา ดูกรภิกขุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในตา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในหู ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจมูก ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในลิ้น ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ ปัจจุปันนสูตรที่ ๓ ดูกรภิกขุทั้งหลาย ตาที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา หูที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา จมูกที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา ลิ้นที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา กายที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา ใจที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา ดูกรภิกขุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในตา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในหู ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจมูก ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในลิ้น ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ เมื่อพระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกขุเหล่านั้นชื่นชม ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ด้วยประการฉะนี้แล.