เว็บไซต์ อนาคามี แหล่งเผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  กามทั้งหลาย อันบุคคลพึงรู้แจ้ง เป็นอย่างไรเล่า ? 212  
 
  (โดยย่อ)

กามคุณทั้งหลาย ๕ ประการ เหล่านี้ คือ
รูปทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ.. เสียงทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งด้วยโสตะ..
กลิ่นทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก.. รสทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น..
สัมผัสผิวหนัง อันจะพึงสัมผัสด้วยกาย
   อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา (อิฏฐา)
   น่าใคร่ (กนฺตา)
   น่าพอใจ (มนาปา)
   มีลักษณะอันน่ารัก (ปิยะรูปา)
   เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยแห่งความใคร่ (กามูปสญฺหิตา)
   เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด (รชนิยา) มีอยู่.


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อารมณ์ทั้งหลาย ๕ ประการเหล่านี้หาใช่กามไม่
แต่ว่าความกำหนัด ไปตามอำนาจความตริตรึก นั่นแหละ คือ กามของคนเรา

อารมณ์อันวิจิตร ก็มีอยู่ในโลก ตามประสาของมัน เท่านั้น
ดังนั้น ผู้มีปัญญาจึงนำออกเสียซึ่งฉันทะ ในอารมณ์อันวิจิตรเหล่านั้น ดังนี้.

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 


ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ – หมวดที่ ๖ หน้าที่ ๒๗๑-๓.

กามทั้งหลาย อันบุคคลพึงรู้แจ้ง เป็นอย่างไรเล่า ?


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! กามคุณทั้งหลาย ๕ ประการ เหล่านี้ คือ
รูปทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ..
เสียงทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งด้วยโสตะ..
กลิ่นทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก..
รสทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น..
สัมผัสผิวหนัง อันจะพึงสัมผัสด้วยกาย
  อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา (อิฏฐา)
  น่าใคร่ (กนฺตา)
  น่าพอใจ (มนาปา)
  มีลักษณะอันน่ารัก (ปิยะรูปา)
  เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยแห่งความใคร่ (กามูปสญฺหิตา)
  เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด (รชนิยา) มีอยู่.


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อารมณ์ทั้งหลาย ๕ ประการเหล่านี้หาใช่กามไม่ ในอริยวินัย เรียกอารมณ์ทั้งหลาย ๕ ประการเหล่านี้ว่า "กามคุณ"(หาเรียกว่ากามไม่) แต่ว่าความกำหนัดไปตามอำนาจความตริตรึก (สงฺกปฺปราค) นั่นและ คือ กามของคนเรา

อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลาย ในโลก นั้น หาใช่กามไม่ ความกำหนัดไปตามอำนาจ ความตริตรึก นั่นและคือกามของคนเรา อารมณ์อันวิจิตร ก็มีอยู่ในโลก ตามประสา ของมัน เท่านั้น ดังนั้น ผู้มีปัญญาจึงนำออกเสียซึ่งฉันทะ ในอารมณ์อันวิจิตรเหล่านั้น ดังนี้.
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็นิทานแห่งสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิดพร้อม) แห่งกามทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นิทานสัมภวะแห่งกามทั้งหลาย คือผัสสะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็เวมัตตตา (ประมาณต่าง ๆ ) แห่งกามทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เวมัตตตาแห่งกามทั้งหลาย คือความใคร่ (กาม)ในรูปารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ ความใคร่ในสัททารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ ความใคร่ในคันธารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ ความใคร่ในรสารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ ความใคร่ในโผฏฐัพพารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เราเรียกว่า เวมัตตตาแห่งกามทั้งหลาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็วิบากแห่งกามทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บุคคลมีความใคร่ในอารมณ์ใดอยู่ ย่อมยังอัตตภาพอันเกิดจาก กามในอารมณ์นั้น ๆ ให้เกิดขึ้น เป็นอัตตภาพมีส่วนแห่งบุญบ้าง มีส่วนแห่งบุญ หามิได้บ้าง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรากล่าวว่า วิบากแห่งกามทั้งหลาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! นิโรธแห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ความดับแห่งกามมี เพราะความดับแห่งผัสสะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็นิโรธคามินีปฏิปทาแห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้แล คือนิโรธคามินีปฏิปทาแห่งกาม

ข้อนั้นได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ สัมมทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ในกาลใดแล อริยสาวกย่อมรู้ชัดซึ่งกามทั้งหลายอย่างนี้ ซึ่งนิทานสัมภวะแห่งกามทั้งหลายอย่างนี้ ซึ่งเวมัตตตาแห่งกามทั้งหลายอย่างนี้ ซึ่งวิบากแห่งกามทั้งหลายอย่างนี้ ซึ่งนิโรธแห่งกามอย่างนี้, ซึ่งนิโรธคามินีปฏิปทา แห่งกามอย่างนี้ ในกาลนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์อันเป็นเครื่อง เจาะ แทงกิเลสนี้ว่า เป็นที่ดับแห่งกาม (กามนิโรธ).

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์