ภิกษุ ท. !
เนกขัมมวิตก ย่อมเกิดอย่างมีเหตุให้เกิด (นิทาน) ไม่ใช่เกิดอย่าง ไม่มีเหตุ ให้เกิด
อัพ๎ยาปาทวิตก ย่อมเกิดอย่างมีเหตุให้เกิด ไม่ใช่เกิด
อย่างไม่มีเหตุ ให้เกิด
อวิหิงสาวิตก ย่อมเกิดอย่างมีเหตุให้เกิด ไม่ใช่เกิดอย่างไม่มีเหตุ ให้เกิด
(สังกัปปะ แปลว่า ดำริ)
(สัมมาสังกับปะ แปลว่า ดำริชอบ)
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ก. กรณี เนกขัมมวิตก (ความตริในทางออกจากกาม)
ภิกษุ ท. ! เนกขัมมวิตก [ความตริตรึกในเนกขัมมะ (ออกจากกาม)] ย่อมเกิดอย่างมี เหตุให้เกิด ไม่ใช่เกิดอย่างไม่มีเหตุให้เกิด นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท.! เพราะอาศัยเนกขัมมธาตุ จึงเกิดเนกขัมมสัญญา
เพราะอาศัยเนกขัมมสัญญา จึงเกิดเนกขัมมสังกัปปะ
เพราะอาศัยเนกขัมมสังกัปปะ จึงเกิดเนกขัมมฉันทะ
เพราะอาศัยเนกขัมมฉันทะ จึงเกิดเนกขัมมปริฬาหะ(ความเร่าร้อนเพื่อจะได้ เนกขัมมะ)
เพราะอาศัยเนกขัมมปริฬาหะ จึงเกิดเนกขัมมปริเยสนา
ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้มีการสดับ เมื่อแสวงหาอยู่อย่างแสวงหาเนกขัมมะ ย่อมปฏิบัติ
ถูกโดยฐานะสาม คือโดยกาย โดยวาจา โดยใจ.
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข. กรณี อัพ๎ยาปาทวิตก (ความตริในทางไม่พยาบาท)
ภิกษุ ท. ! อัพ๎ยาปาทวิตก (ความตริตรึกในอัพ๎ยาบาท) ย่อมเกิดอย่างมีเหตุให้เกิด ไม่ใช่เกิดอย่างไม่มีเหตุให้เกิด นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุท. ! เพราะอาศัยอัพ๎ยาปาทธาตุ จึงเกิดอัพ๎ยาปาทสัญญา
เพราะอาศัยอัพ๎ยาปาทสัญญา จึงเกิดอัพ๎ยาปาทสังกัปปะ เพราะอาศัยอัพ๎ยาปาทสังกัปปะ จึงเกิดอัพ๎ยาปาทฉันทะ
เพราะอาศัยอัพ๎ยาปาทฉันทะ จึงเกิดอัพ๎ยาปาทปริฬาหะ(ความเร่าร้อนเพื่อจะได้ อัพ๎ยาบาท)
เพราะอาศัยอัพ๎ยาปาทปริฬาหะ จึงเกิดอัพ๎ยาปาทปริเยสนา.
ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้มีการสดับ เมื่อแสวงหาอยู่อย่างแสวงหาอัพ๎ยาบาท ย่อมปฏิบัติถูกโดยฐานะสาม คือ โดยกาย โดยวาจา โดยใจ.
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ค. กรณี อวิหิงสาวิตก (ความตริในทางไม่เบียดเบียน)
ภิกษุ ท. ! อวิหิงสาวิตก (ความตริตรึกในอวิหิงสา) ย่อมเกิดอย่างมีเหตุ
ให้เกิด ไม่ใช่เกิดอย่างไม่มีเหตุให้เกิด นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุท.! เพราะอาศัยอวิหิงสาธาตุ จึงเกิดอวิหิงสาสัญญา
เพราะอาศัยอวิหิงสาสัญญา จึงเกิดอวิหิงสาสังกัปปะ
เพราะอาศัยอวิหิงสาสังกัปปะ จึงเกิดอวิหิงสาฉันทะ
เพราะอาศัยอวิหิงสาฉันทะ จึงเกิดอวิหิงสาปริฬาหะ (ความเร่าร้อนเพื่อจะได้ อวิหิงสา)
เพราะอาศัยอวิหิงสาปริฬาหะ จึงเกิดอวิหิงสาปริเยสนา
ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้มีการสดับ เมื่อแสวงหาอยู่อย่างแสวงหาอวิหิงสา ย่อมปฏิบัติถูกโดยฐานะสาม คือ โดยกาย โดยวาจา โดยใจ.
- นิทาน.สํ. ๑๖/๑๘๒ - ๑๘๓/๓๕๘ - ๓๕๙.