เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 ทีฆนขสูตร เรื่องทีฆนขปริพาชก (พระสารีบุตรสำเร็จอรหันต์) 1479
 

(โดยย่อ)

พระสารีบุตรสำเร็จอรหันต์

ก็โดยสมัยนั้น ท่านพระสารีบุตร นั่งถวายอยู่งานพัด ณ เบื้องพระปฤษฎางค์พระผู้มีพระภาค.

ได้มีความดำริว่า ได้ยินว่าพระผู้มีพระภาคตรัส การละธรรมเหล่านั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งแก่เราทั้งหลาย ได้ยินว่าพระสุคตตรัสการ สละคืนธรรมเหล่านั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งแก่เราทั้งหลาย

เมื่อท่านพระสารีบุตร เห็นตระหนักดังนี้ จิตก็หลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ธรรมจักษุปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้ว แก่ทีฆนขปริพาชกว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้น เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน

 


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๒๐๔-๒๐๘


๔. ทีฆนขสูตร
เรื่องทีฆนขปริพาชก

              [๒๖๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ถ้ำสุกรขาตาเขาคิชฌกูฏ เขตพระนคร ราชคฤห์. ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อทีฆนขะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึก ถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว.

ได้กราบทูลว่า ท่านพระโคดม ความจริงข้าพเจ้ามีปกติ กล่าวอย่างนี้ มีปกติเห็น อย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

อัคคิเวสสนะ แม้ความเห็นของท่านว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรานั้น ก็ไม่ควรแก่ท่าน. ท่านพระโคดม ถ้าความเห็นนี้ควรแก่ข้าพเจ้า แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้น แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้น.

อัคคิเวสสนะ แม้ความเห็นนั้น ก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น แม้ความเห็นนั้น ก็พึงเป็น เช่นนั้นทั้งนั้น ดังนี้ ชนเหล่านั้นละความเห็นนั้นไม่ได้ และยังยึดถือความเห็นอื่นนั้น มีมาก คือมากกว่าคนที่ละได้.

อัคคิเวสสนะ แม้ความเห็นนั้น ก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น แม้ความเห็นนั้น ก็พึงเป็น เช่นนั้น ทั้งนั้น ดังนี้ ชนเหล่านั้นละความเห็นนั้นได้ และ ไม่ยึดถือความเห็นอื่น นั้น มีน้อยคือน้อยกว่าคนที่ยังละไม่ได้.

ทิฏฐิเป็นเหตุให้เกิดวิวาท

              [๒๗๐] อัคคิเวสสนะ
สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า
สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา(๑)
ดังนี้ ก็มี

สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า
สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา(๒)
ดังนี้ ก็มี

สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า
บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา(๓)
ดังนี้ ก็มี

อัคคิเวสสนะ บรรดาความเห็นนั้น ความเห็นของสมณพราหมณ์ พวกที่มักกล่าว อย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา(๑) นั้น
ใก
ล้ข้างกิเลสอันเป็นไปกับ ด้วยความกำหนัด
ใกล้ข้างกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้
ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุเพลิดเพลิน
ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุกล้ำกลืน
ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุยึดมั่น

อัคคิเวสสนะ บรรดาความเห็นนั้น ความเห็นของสมณพราหมณ์ พวกที่มักกล่าว อย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา(๒) นั้น
ใก
ล้ข้างธรรมไม่เป็นไปกับ ด้วยความกำหนัด ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้
ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุเพลิดเพลิน
ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุกล้ำกลืน
ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุยึดมั่น

อัคคิเวสสนะ ในความเห็นนั้นๆ ความเห็นของสมณพราหมณ์ พวกที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา(๓) นั้น

ส่วนที่เห็นว่าควร
ใกล้ข้างกิเลส อันเป็นไปกับด้วยความกำหนัด
ใกล้ข้างกิเลส เครื่องประกอบสัตว์ไว้
ใกล้ข้างกิเลส เป็นเหตุเพลิดเพลิน
ใกล้ข้างกิเลส เป็นเหตุกล้ำกลืน
ใกล้ข้างกิเลส เป็นเหตุยึดมั่น

ส่วนที่เห็นว่าไม่ควร
ใกล้ข้างธรรม ไม่เป็นไปด้วยความกำหนัด
ใกล้ข้างธรรม ไม่เป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้
ใกล้ข้างธรรม ไม่เป็นเหตุเพลิดเพลิน
ใกล้ข้างธรรม ไม่เป็นเหตุกล้ำกลืน
ใกล้ข้างธรรม ไม่เป็นเหตุยึดมั่น
-----------------------------------------------------------------------------------------------------

[๒๗๑] อัคคิเวสสนะ บรรดาความเห็นนั้น ในความเห็นของสมณพราหมณ์ ผู้ที่มัก กล่าวอย่างนี้มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา นั้น วิญญูชนย่อมเห็นตระหนัก ว่าเราจะยึดมั่นถือมั่น ซึ่งทิฏฐิของเราว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ดังนี้ แล้วยืนยันโดย แข็งแรงว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริงสิ่งอื่นเปล่า เราก็พึงถือผิดจากสมณ พราหมณ์สองพวกนี้ คือ สมณพราหมณ์ ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ๑
สมณพราหมณ์ ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควร แก่เรา ๑
เมื่อความถือผิดกันมีอยู่ดังนี้ ความทุ่มเถียงกันก็มี เมื่อมีความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกันก็มี. เมื่อมีความแก่งแย่งกัน ความเบียดเบียนกันก็มี.

วิญญูชนนั้น พิจารณาเห็นความถือผิดกัน ความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกัน และ ความเบียดเบียนกันในตนดังนี้อยู่ จึงละทิฏฐินั้นเสียด้วย ไม่ยึดถือทิฏฐิอื่นด้วย การละ การสละคืนทิฏฐิเหล่านี้ ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้.
-----------------------------------------------------------------------------------------------------

อัคคิเวสสนะ บรรดาความเห็นนั้น ในทิฏฐิของสมณพราหมณ์ ผู้ที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ดังนี้นั้น วิญญูชน ย่อมเห็นตระหนักว่า ถ้าเราจะยึดมั่น ถือมั่นซึ่งทิฏฐิของเราว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เราดังนี้ แล้วยืนยัน โดยแข็งแรงว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เราก็พึงถือผิดจากสมณพราหมณ์ สองพวกนี้ คือ สมณพราหมณ์ ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควร แก่เรา ๑ สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควร แก่เรา ๑. เมื่อความถือผิดกันมีอยู่ดังนี้ ความทุ่มเถียงกันก็มี เมื่อมี ความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกันก็มี เมื่อมีความแก่งแย่งกัน ความเบียดเบียนกัน ก็มี.

วิญญูชนนั้นพิจารณาเห็นความถือผิดกัน ความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกัน และ ความเบียดเบียนกัน ในตนดังนี้อยู่ จึงละทิฏฐินั้นเสียด้วยไม่ยึดถือทิฏฐิอื่นด้วย. การละ การสละคืนทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้.
-----------------------------------------------------------------------------------------------------

อัคคิเวสสนะ บรรดาความเห็นนั้น ในทิฏฐิของสมณพราหมณ์ ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา ดังนี้นั้น วิญญูชนย่อม เห็นตระหนักว่า ถ้าเราจะยึดมั่นถือมั่น ซึ่งทิฏฐิของเราว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควร แก่เราดังนี้ แล้วยืนยันโดยแข็งแรงว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เราก็พึงถือผิดจาก สมณพราหมณ์สองพวกนี้ คือ สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ๑ สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็น อย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวง ไม่ควรแก่เรา ๑. เมื่อความถือผิดกันมีอยู่ดังนี้ ความทุ่มเถียงกัน ก็มี เมื่อมีความทุ่มเถียงกัน ความแก่ง แย่งกันก็มี เมื่อมีความแก่งแย่งกัน ความ เบียดเบียนกันก็มี.

วิญญูชนนั้นพิจารณาเห็นความถือผิดกัน ความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกัน และ ความเบียดเบียนกัน ในตนดังนี้อยู่ จึงละทิฏฐินั้นเสียด้วย ไม่ยึดถือทิฏฐิอื่นด้วย การละ การสละคืนทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้
-----------------------------------------------------------------------------------------------------

กาย เป็นที่ประชุมมหาภูตทั้งสี่

              [๒๗๒] อัคคิเวสสนะ ก็กายนี้มีรูป เป็นที่ประชุมมหาภูตทั้งสี่ มีมารดา บิดา เป็นแดนเกิด เจริญด้วยข้าวสุก และขนมสด ต้องอบและขัดสีกันเป็นนิจ มีความแตก กระจัดกระจาย เป็นธรรมดา ท่านควรพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้ เป็นดังผู้อื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของว่างเปล่าเป็นของมิใช่ตน.

เมื่อท่านพิจารณาเห็นกายนี้ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรคเป็นดัง หัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้ เป็นดังผู้อื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของว่างเปล่า เป็นของมิใช่ตนอยู่ ท่านย่อมละความพอใจในกาย ความเยื่อใย ในกาย ความอยู่ในอำนาจ ของกายในกายได้

เวทนา ๓

              [๒๗๓] อัคคิเวสสนะ เวทนาสามอย่างนี้ คือ สุขเวทนา ๑
ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑.

อัคคิเวสสนะ สมัยใดได้เสวยสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ไม่ได้ เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่สุขเวทนาเท่านั้น. ในสมัยใดได้เสวย ทุกขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวย แต่ทุกขเวทนาเท่านั้น. ในสมัยใดได้เสวยอทุกขมสุขเวทนาในสมัยนั้นไม่ได้เสวย สุขเวทนา ไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ได้เสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาเท่านั้น.

อัคคิเวสสนะ สุขเวทนาไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป เป็นธรรมดา. แม้ทุกขเวทนาก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็น ธรรมดา. แม้อทุกขมสุขเวทนาก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความ สิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา.

อัคคิเวสสนะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายทั้งในสุข เวทนา ทั้งในทุกขเวทนา ทั้งในอทุกขมสุข เวทนา เมื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติ สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้ มิได้มี.

อัคคิเวสสนะ ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้แล ย่อมไม่วิวาทแก่งแย่งกับใครๆ โวหารใดที่ชาวโลกพูดกัน ก็พูดไปตามโวหารนั้น แต่ไม่ยึดมั่นด้วยทิฏฐิ

พระสารีบุตรสำเร็จอรหันต์

              [๒๗๔] ก็โดยสมัยนั้น ท่านพระสารีบุตร นั่งถวายอยู่งานพัด ณ เบื้องพระปฤษฎางค์พระผู้มีพระภาค. ได้มีความดำริว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคตรัส การละธรรมเหล่านั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งแก่เราทั้งหลาย ได้ยินว่า พระสุคตตรัสการ สละคืนธรรมเหล่านั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งแก่เราทั้งหลาย เมื่อท่านพระสารีบุตร เห็นตระหนักดังนี้ จิตก็หลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ธรรมจักษุปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้ว แก่ทีฆนขปริพาชกว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา.

ทีฆนขปริพาชกแสดงตนเป็นอุบาสก

              [๒๗๕] ลำดับนั้น ทีฆนขปริพาชก มีธรรมอันเห็นแล้ว มีธรรมอันถึงแล้ว มีธรรมอันทราบแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากความ เคลือบแคลง ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อต่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์ แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทาง หรือ ตามประทีปในที่มืด ด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด

ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรม โดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์ ขอถึง พระผู้มีพระภาค พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดม จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้แล

จบ ทีฆนขสูตร ที่ ๔.

 






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์