เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
สุมนสูตร (ความแตกต่างของผู้ให้กับผู้ไม่ให้) 1433
 

(โดยย่อ)

สุมนสูตร (ความแตกต่างของผู้ให้กับผู้ไม่ให้)

คนทั้งสองมีความพิเศษแตกต่างกัน
คือ คนที่ให้เป็นบรรพชิต ย่อมข่มคน ที่ไม่ให้ ด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ

๑) เมื่อออกปากขอ ย่อมได้จีวรมาก เมื่อไม่ออกปากขอย่อมได้น้อย
๒) เมื่อออกปากขอ ย่อมได้บิณฑบาตมาก เมื่อไม่ออกปากขอย่อมได้น้อย
๓) เมื่อออกปากขอ ย่อมได้เสนาสนะมาก เมื่อไม่ออกปากขอ ย่อมได้น้อย
๔) เมื่อออกปากขอ ย่อมได้บริขาร คือ ยา ที่เป็นเครื่องบำบัดไข้มาก เมื่อไม่ออกปากขอ ย่อมได้น้อย
๕) เมื่ออยู่ร่วมกับเพื่อนพรหมจรรย์ เพื่อนพรหมจรรย์ก็ประพฤติ ต่อเธอเป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก ไม่เป็นที่พอใจเป็นส่วนน้อย

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน

 

ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๒๙

๑. สุมนสูตร (ความแตกต่างของผู้ให้กับผู้ไม่ให้)

            [๓๑] ครั้งนั้นแล สุมนาราชกุมารี แวดล้อมด้วยรถ ๕๐๐ คัน และราชกุมารี ๕๐๐คน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส สาวกของ พระผู้มีพระภาค ๒ คน มีศรัทธา มีศีล มีปัญญาเท่าๆกัน คนหนึ่งเป็นผู้ให้ คนหนึ่ง ไม่ให้ คนทั้งสองนั้น เมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค แต่คนทั้งสองนั้น ทั้งที่เป็นเทวดาเหมือนกัน พึงมีความพิเศษ แตกต่างกันหรือ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรสุมนา คนทั้งสองนั้น พึงมีความพิเศษแตกต่างกัน คือ ผู้ให้เป็นเทวดา ย่อมข่ม เทวดา ผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ ๕ ประการคือ อายุ วรรณะ สุข ยศ และ อธิปไตย ที่เป็นทิพย์

ดูกรสุมนา ผู้ที่ให้เป็นเทวดา ย่อมข่มเทวดาผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ ๕ ประการนี้

สุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ถ้าเทวดาทั้งสองนั้น จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว มาสู่ความ เป็นมนุษย์ แต่คนทั้งสองนั้น ทั้งที่เป็นมนุษย์เหมือนกัน พึงมีความพิเศษแตกต่าง กันหรือ

พ. ดูกรสุมนา คนทั้งสองนั้น มีความพิเศษแตกต่างกัน คือ ผู้ให้เป็นมนุษย์ ย่อมข่มคนไม่ให้ได้ด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ ด้วยอายุ วรรณะ สุขยศ และอธิปไตย ที่เป็นของมนุษย์ ดูกรสุมนา ผู้ให้เป็นมนุษย์ ย่อมข่มคนผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ ๕ ประการนี้

สุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ถ้าคนทั้งสองนั้นออกบวช แต่คนทั้งสองนั้น ทั้งที่เป็น บรรพชิตเหมือนกัน พึงมีความพิเศษแตกต่างกันหรือ

พ. ดูกรสุมนา คนทั้งสองนั้น มีความพิเศษแตกต่างกัน คือ คนที่ให้เป็นบรรพชิต ย่อมข่มคน ที่ไม่ให้ ด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ

๑) เมื่อออกปากขอ ย่อมได้จีวรมาก เมื่อไม่ออกปากขอย่อมได้น้อย
๒) เมื่อออกปากขอ ย่อมได้บิณฑบาตมาก เมื่อไม่ออกปากขอย่อมได้น้อย
๓) เมื่อออกปากขอ ย่อมได้เสนาสนะมาก เมื่อไม่ออกปากขอ ย่อมได้น้อย
๔) เมื่อออกปากขอ ย่อมได้บริขาร คือ ยา ที่เป็นเครื่องบำบัดไข้มาก เมื่อไม่ออกปาก ขอ ย่อมได้น้อย
๕) และจะอยู่ร่วมกับเพื่อนพรหมจรรย์เหล่าใด เพื่อนพรหมจรรย์เหล่านั้น ก็ประพฤติ ต่อเธอด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก ไม่เป็นที่พอใจ เป็นส่วนน้อย ย่อมนำสิ่งเป็นที่พอใจมาเป็นส่วนมาก ย่อมนำ สิ่งไม่เป็นที่พอใจมา เป็นส่วนน้อย
ดูกรสุมนา ผู้ให้เป็นบรรพชิตย่อมข่มผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ ๕ ประการนี้

สุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ถ้าคนทั้งสองนั้นบรรลุอรหัตแต่คนทั้งสองนั้น ทั้งที่ได้ บรรลุอรหัตเหมือนกัน พึงมีความพิเศษแตกต่างกันหรือ

พ. ดูกรสุมนา เราไม่กล่าวว่ามีเหตุแตกต่างกันใดๆ ในวิมุตติ กับวิมุตติ ข้อนี้

สุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญไม่เคยมี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้กำหนดได้ว่า ควรให้ทาน ควรทำบุญ เพราะบุญเป็น อุปการะ แม้แก่เทวดา แม้แก่มนุษย์ แม้แก่บรรพชิต

พ. อย่างนั้น สุมนา อย่างนั้นสุมนา ควรให้ทาน ควรทำบุญ เพราะบุญเป็นอุปการะ แม้แก่เทวดา แม้แก่มนุษย์ แม้แก่บรรพชิต

พระผู้มีพระภาค ผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถา ประพันธ์ต่อไปว่า

ดวงจันทร์ปราศจากมลทิน เดินไปในอากาศย่อมสว่างกว่า หมู่ดาวทั้งปวงในโลก ด้วยรัศมี ฉันใด บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วย ศีล มีศรัทธา ก็ฉันนั้น ย่อมไพโรจน์กว่า ผู้ตระหนี่ทั้งปวงในโลกด้วยจาคะ


เมฆที่ลอยไปตามอากาศ มีสายฟ้า ปลาบแปลบ มีช่อตั้งร้อย ตกรดแผ่นดินเต็มที่ ดอนและที่ลุ่ม ฉันใด สาวกของ พระสัมมา สัมพุทธเจ้า ผู้สมบูรณ์ด้วยทัสนะ เป็น บัณฑิต ก็ฉันนั้น ย่อมข่มผู้ตระหนี่ได้ ด้วยฐานะ ๕ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุข ยศ และเปี่ยมด้วยโภคะ ย่อมบันเทิงใจ ในสวรรค์ ในปรโลก ดังนี้






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์