เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 มูลเหตุแห่งความวิวาท ๖ อย่าง 1350
 

(โดยย่อ)
(ย่อ)
หลังจากเจ้าสำนัก นิครนถ์นาฏบุตร เสียชีวิต พวกนิครนถ์ได้แตกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่ง คือ นิครนถ์พวก คฤหัสถ์ คือพวกนุ่งขาวห่มขาว กับ นิครนถ์ที่เป็นศิษย์นาฏบุตร
ทั้งสองฝ่าย ทิ่มแทงกันด้วยหอกปาก ว่าพวกท่านไม่รู้ทั่วถึง เรารู้ทั่ว ท่านปฏิบัติผิด เราปฏิบัติถูกของเรามีประโยชน์ ของท่านไม่มีประโยชน์ ฯลฯ

พระผู้มีพระภาคตรัส เหตุแห่งการทะเลาะกัน
(๑) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักโกรธ มีความผูกโกรธ
(๒) ภิกษุเป็นผู้มีความลบหลู่ มีความตีเสมอ...
(๓) ภิกษุเป็นผู้มีความริษยา มีความตระหนี่...
(๔) ภิกษุเป็นผู้โอ้อวด เป็นผู้มีมายา...
(๕) ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด...
(๖) ภิกษุเป็นผู้มีความเห็นเอาเอง มีความเชื่อถือผิวเผิน


เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน

 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๓๗

มูลเหตุแห่งความวิวาท ๖ อย่าง

  สืบเนื่องมาจากเจ้าสำนัก นิครนถ์นาฏบุตร เสียชีวิต พวกนิครนถ์ได้แตกเป็น 2 ฝ่าย
  ฝ่ายหนึ่ง คือ นิครนถ์พวกคฤหัสถ์ คือพวกนุ่งขาวห่มขาว กับนิครนถ์ที่เป็นศิษย์นาฏบุตร
  ทั้งสองฝ่าย ทิ่มแทงกันด้วยหอกปาก ว่าพวกท่านไม่รู้ทั่วถึงเรารู้ทั่ว ท่านปฏิบัติผิด
  เราปฏิบัติถูก ของเรา มีประโยชน์ ของท่านไม่มีประโยชน์ ฯลฯ สมณุทเทสจุนทะ 
  ที่เมืองปาวาทราบเรื่อง จึงเข้าหาพระอานนท์ แล้วพากันไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค

     


           [๕๕] ดูกรอานนท์ มูลเหตุแห่งความวิวาทนี้มี ๖ อย่าง ๖ อย่างเป็นไฉน  ดูกรอานนท์ (๑) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักโกรธ มีความผูกโกรธ ภิกษุที่เป็น ผู้มักโกรธ มีความผูกโกรธนั้น ย่อมไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง แม้ในพระ ศาสดา แม้ในพระธรรม แม้ในพระสงฆ์อยู่ ทั้งไม่เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ ในสิกขา ภิกษุที่ ไม่มี ความเคารพ ไม่มีความ ยำเกรงแม้ในพระศาสดา แม้ในพระธรรมแม้ใน พระสงฆ์ อยู่ ทั้งไม่เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา นั้น ย่อมก่อความวิวาทให้เกิด ในสงฆ์ ซึ่งเป็น ความวิวาท มีเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก ไม่ใช่สุข ของชนมากไม่ใช่ประโยชน์ ของชนมาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดา และมนุษย์

           ดูกรอานนท์ ถ้าหากพวกเธอพิจารณา เห็นมูลเหตุ แห่งความวิวาทเช่นนี้ ในภายใน หรือในภายนอก พวกเธอพึงพยายามละ มูลเหตุแห่งความวิวาท อันลามก นั้นเสีย ในที่นั้น ถ้าพวกเธอพิจารณา ไม่เห็นมูลเ หตุแห่งความวิวาทเช่นนี้ ในภายใน หรือ ในภายนอก พวกเธอพึงปฏิบัติ ไม่ให้มูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามก นั้นแล  ลุกลามต่อไปในที่นั้น การละมูลเหตุ แห่งความวิวาทอันลามกนี้ ย่อมมีได้ด้วย อาการ เช่นนี้ ความไม่ลุกลามต่อไปของมูลเหตุ แห่งความวิวาทอันลามกนี้  ย่อมมีได้ด้วยอาการ เช่นนี้

       [๕๖] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก
(๒) ภิกษุเป็นผู้มีความลบหลู่ มีความตีเสมอ...
(๓) ภิกษุเป็นผู้มีความริษยา มีความตระหนี่...
(๔) ภิกษุเป็นผู้โอ้อวด เป็นผู้มีมายา...
(๕) ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด...
(๖) ภิกษุเป็นผู้มีความเห็นเอาเอง มีความเชื่อถือผิวเผิน มีความถือรั้นสละคืน ได้ยาก

       ภิกษุที่เป็นผู้มีความเห็นเอาเอง มีความเชื่อถือผิวเผิน มีความถือรั้น สละคืน ได้ยากนั้น ย่อมไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง แม้ในพระศาสดา แม้ในพระธรรม แม้ใน พระสงฆ์อยู่ ทั้งไม่เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ภิกษุที่ไม่มีความเคารพ ไม่มีความ ยำเกรง แม้ในพระศาสดาแม้ในพระธรรม แม้ในพระสงฆ์อยู่ ทั้งไม่เป็นผู้ทำ ให้บริบูรณ์ในสิกขานั้น ย่อมก่อความวิวาทให้เกิดในสงฆ์ ซึ่งเป็นความวิวาท มีเพื่อไม่ เกื้อกูลแก่ชนมาก ไม่ใช ่สุขของชนมาก ไม่ใช่ประโยชน์ของชนมาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ แก่เทวดา และมนุษย์ 

       ดูกรอานนท์ ถ้าพวกเธอพิจารณาเห็นมูลเหตุ แห่งความวิวาทเช่นนี้ ในภายใน หรือในภายนอก พวกเธอพึงพยายามละมูลเหตุ แห่งความวิวาท อันลามกนั้นเสีย ในที่นั้น ถ้า พวกเธอพิจารณา ไม่เห็นมูลเหตุ แห่งความวิวาทเช่นนี้ ในภายใน หรือในภายนอก 

       พวก เธอพึงปฏิบัติไม่ให้มูลเหตุ แห่งความวิวาทอันลามกนั้นแล ลุกลามต่อไป ในที่นั้นการละ มูลเหตุ แห่งความวิวาทอันลามกนี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการเช่นนี้ ความไม่ ลุกลาม ต่อไป ของมูลเหตุ แห่งความวิวาทอันลามกนี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการ เช่นนี้

       ดูกรอานนท์เหล่านี้แล มูลเหตุแห่งความวิวาท ๖ อย่าง


 






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์