เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 วิธีแก้ง่วง ๗ วิธี ตรัสกับพระโมค (โมคคัลลานสูตร) 1323
 

(โดยย่อ)

วิธีแก้ง่วง ตรัสกับพระโมค
1.เธอพึง ตรึกตรอง พิจารณาถึงธรรม ตามที่ตนได้สดับแล้ว
2.เธอพึง สาธยายธรรม ตามที่ตนได้สดับมาแล้ว ได้เรียนมาแล้ว
3.เธอพึง ยอนช่องหูทั้งสองข้าง เอามือลูบตัว
4.เธอพึง ลุกขึ้นยืน เอาน้ำล้างตา เหลียวดูทิศ ทั้งหลาย แหงนดูดาวนักษัตรฤกษ์
5.เธอพึง ทำในใจถึงเอาโลกสัญญา ตั้งความสำคัญว่า กลางวันอย่างไร กลางคืนอย่างนั้น
6.เธอพึง อธิษฐานจงกรม สำรวมอินทรีย์ มีใจไม่คิดไปในภายนอก
7.เธอพึง สำเร็จสีหไสยา นอนตะแคงขวาเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ

(ทำข้อ 1-7 แล้วยังง่วง ก็ทำข้อ 8 คือนอน)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๗๓

วิธีแก้ง่วง ๗ วิธี ตรัสกับพระโมค (โมคคัลลานสูตร)

            [๕๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าเภสกลา มิคทายวัน ใกล้สุงสุมารคีรนคร แคว้นภัคคะ ก็สมัยนั้นแล ท่านมหาโมคคัลลานะนั่งโงกง่วงอยู่ ณ บ้านกัลลวาลมุตตคาม แคว้นมคธ พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็น ท่านพระมหา โมคคัลลานะ นั่งโงกง่วงอยู่ ณ บ้านกัลลวาลมุตตคาม แคว้นมคธด้วย ทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์

     ครั้นแล้วทรงหายจาก เภสกลามิคทายวัน ใกล้สุงสุมารคีรนคร แคว้นภัคคะ เสด็จไป ปรากฏเฉพาะ หน้าท่ านพระมหาโมคคัลลานะ ณ บ้านกัลลวาลมุตตคาม แคว้นมคธ เปรียบเหมือนบุรุษ มีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น พระผู้มีพระภาค ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดแล้ว ครั้นแล้วได้ตรัสถามท่าน พระมหา โมคคัลลานะว่า ดูกรโมคคัลลานะ เธอง่วง หรือ ดูกรโมคคัลลานะ เธอง่วงหรือ

     ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

     ดูกรโมคคัลลานะ เพราะเหตุนั้นแหละ เมื่อเธอมีสัญญาอย่างไรอยู่ ความง่วงนั้น ย่อมครอบงำได้ เธอพึงทำไว้ในใจ ซึ่งสัญญานั้นให้มาก

     ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละ ความง่วงนั้นได้ ถ้าเธอยังละไม่ได้

     แต่นั้น (1) เธอพึงตรึก ตรอง พิจารณา ถึงธรรม ตามที่ตนได้สดับแล้ว ได้เรียนมาแล้ว ด้วยใจ ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอ ละความง่วงนั้นได้ ถ้ายังละไม่ได้

    แต่นั้น (2) เธอพึง สาธยาย ธรรมตามที่ตน ได้สดับ มาแล้ว ได้เรียนมาแล้ว โดย พิสดาร ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละ ความง่วงนั้นได้ ถ้ายังละไม่ได้

   แต่นั้น (3)ธอพึงยอน ช่องหู ทั้งสองข้าง เอามือลูบตัว ข้อนี้จะเป็นเหตุ ให้เธอละ ความง่วงนั้นได้ ถ้ายังละไม่ได้

    แต่นั้น (4) เธอพึงลุกขึ้นยืน เอาน้ำล้างตา เหลียวดูทิศ ทั้งหลาย แหงนดูดาวนัก ษัตรฤกษ์ ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้ ถ้ายังละไม่ได้

    แต่นั้น (5) เธอพึงทำในใจถึง เอาโลกสัญญา ตั้งความสำคัญในกลางวันว่า กลางวัน อย่างไร กลางคืนอย่างนั้น กลางคืนอย่างไร กลางวันอย่างนั้น มีใจเปิดเผย อยู่ฉะนี้ ไม่มีอะไรหุ้มห่อ ทำจิต อันมีแสงสว่างให้เกิด ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละ ความง่วงนั้น ได้ ถ้ายังละไม่ได้

    แต่นั้น (6) เธอพึงอธิษฐาน จงกรม กำหนด หมายเดินกลับ ไปกลับมา สำรวม อินทรีย์ มีใจไม่คิดไปในภายนอก ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้ ถ้ายังละ ไม่ได้

    แต่นั้น (7)เธอพึงสำเร็จสีหไสยา คือนอน ตะแคง เบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำความหมาย ในอันจะลุกขึ้น พอตื่นแล้ว พึงรีบลุกขึ้นด้วย ตั้งใจ ว่า เราจักไม่ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอนข้าง ความสุข ในการ เคลิ้มหลับ

     ดูกรโมคคัลลานะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์