เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 เรื่องวิตก (ความตริตรึก ความคิด) #2 วิตักกสัณฐานสูตร ว่าด้วยอาการแห่งวิตก 1309
 

(โดยย่อ)

วิตักกสัณฐานสูตร ว่าด้วยอาการแห่ง วิตก (ความตรึก ความตริ ความคิด)

ภิกษุ ท. ผู้หมั่นประกอบ อธิจิต(จิตที่ละเอียด) ควรมนสิการถึงนิมิต ๕ ประการ ตามเวลาอันสมควร

นิมิต ๕ ประการเป็นไฉน?


1. ภิกษุนั้น ควรมนสิการนิมิตอื่น จาก นิมิตนั้น (ควรเปลี่ยนนิมิต) อันประกอบด้วยกุศล เมื่อเธอ มนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศลอยู่ วิตกอันเป็นบาป อกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้

2. ภิกษุนั้น ควรพิจารณาโทษ ของวิตกเหล่านั้น ว่า วิตกเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นอกุศล แม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นโทษ แม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ ล้วนแต่ มีทุกข์เป็นวิบาก แม้อย่างนี้ ดังนี้ เมื่อเธอ พิจารณาโทษของวิตก เหล่านั้นอยู่ วิตกอัน เป็นบาปอกุศล ประกอบด้วย ฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้

3. ภิกษุนั้น พึงถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจ วิตก เหล่านั้น เมื่อเธอถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้น อยู่ วิตกอันเป็นบาป อกุศล ประกอบด้วย ฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะ อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึง ความ ตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละ วิตก อันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได

4. ภิกษุนั้น ควรมนสิการสัณฐาน (ลักษณะ) แห่ง วิตก สังขาร ของวิตก เหล่านั้น เมื่อเธอ มนสิการสัณฐาน แห่งวิตก สังขารของวิตก เหล่านั้นอยู่วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศล เหล่านั้นได้

5. ภิกษุนั้น พึงกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วย ลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับ จิตด้วยจิต เมื่อเธอกัดฟัน ด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับจิตด้วยจิตอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศลประกอบด้วย ฉันทะ บ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๑๖๖



๑๐. วิตักกสัณฐานสูตร
ว่าด้วยอาการแห่งวิตก

        [๒๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.

        [๒๕๗] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้หมั่นประกอบอธิจิต ควรมนสิการถึงนิมิต ๕ ประการ ตามเวลาอันสมควร

        นิมิต ๕ ประการเป็นไฉน?

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ อาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการ นิมิตใดอยู่ วิตกทั้งหลายอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วย ฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ย่อมเกิดขึ้น (1) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น ควรมนสิการนิมิตอื่น จากนิมิตนั้น (ควรเปลี่ยนนิมิต) อันประกอบด้วยกุศล เมื่อเธอมนสิการนิมิตอื่นจาก นิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศลอยู่ วิตกอันเป็นบาป อกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตก อันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล เหมือนช่างไม้ หรือลูกมือของช่างไม้ ผู้ฉลาด ใช้ลิ่มอันเล็ก ตอก โยก ถอน ลิ่มอันใหญ่ออก แม้ฉันใด

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้น เมื่ออาศัยนิมิต ใดแล้ว มนสิการนิมิตใดอยู่ วิตกทั้งหลาย อันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้าง ย่อมเกิดขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรมนสิการ นิมิตอื่น จากนิมิตนั้น อันประกอบด้วย กุศล เมื่อเธอมนสิการนิมิตนั้นอันประกอบ ด้วยกุศลอยู่ วิตกอันเป็น บาปอกุศล อันประกอบด้วย ฉันทะบ้างโทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อม ละเสียได้ ย่อมถึงความ ตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศล เหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล.

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

        [๒๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิต นั้น อันประกอบด้วยกุศลอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ทีเดียว (2) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรพิจารณา โทษ ของวิตกเหล่านั้นว่า วิตกเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นอกุศล แม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นโทษ แม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ ล้วนแต่ มีทุกข์เป็นวิบาก แม้อย่างนี้ ดังนี้ เมื่อเธอพิจารณาโทษของวิตก เหล่านั้นอยู่ วิตกอัน เป็นบาปอกุศล ประกอบด้วย ฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศล เหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอก ผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนหญิงสาวหรือชายหนุ่มที่ชอบแต่งตัวรู้สึกอึดอัด ระอา เกลียดชังต่อซากงู ซากสุนัข หรือซากมนุษย์ ซึ่งผูกติดอยู่ที่คอ [ของตน] แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น หากเมื่อเธอมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วย กุศลอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิด ขึ้นเรื่อยๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้น ว่า วิตกเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นอกุศล แม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็นโทษ แม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ ล้วนแต่มีทุกข์เป็นวิบาก แม้อย่างนี้ดังนี้ เมื่อเธอพิจารณา โทษของวิตก เหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้างโทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละ เสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาป อกุศล เหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายใน นั้นแล

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

        [๒๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นพิจารณาโทษของวิตก เหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ (3) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจ วิตก เหล่านั้น เมื่อเธอถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาป อกุศล ประกอบด้วย ฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะ อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความ ตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละ วิตก อันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบเป็นธรรมเอก ผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนบุรุษผู้มีจักษุ ไม่ต้องการจะเห็นรูปที่ผ่านมา เขาพึง หลับตา เสีย หรือเหลียวไปทางอื่นเสีย แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น หากเมื่อเธอพิจารณา โทษ ของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง ฯลฯ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายในนั้นแล
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

        [๒๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจ วิตก เหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิด ขึ้นเรื่อยๆ (4) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรมนสิการสัณฐานแห่ง วิตก สังขาร ของวิตกเหล่านั้น เมื่อเธอมนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตก เหล่านั้นอยู่วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละ เสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศล เหล่านั้นได้ จิตย่อม ตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายในนั้นแล

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนบุรุษพึงเดินเร็ว เขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจะ เดินเร็ว ทำไมหนอ ถ้ากระไร เราพึงค่อยๆ เดิน เขาก็พึงค่อยๆ เดิน เขาพึงมีความคิด อย่างนี้ว่า เราค่อยๆเดินไปทำไมหนอ ถ้ากระไร เราควรยืน เขาพึงยืน เขาพึงมี ความคิดอย่างนี้อีกว่า เราจะยืนทำไมหนอ ถ้ากระไร เราควรนั่ง เขาพึงนั่ง เขาพึงมี ความคิดอย่างนี้ว่า เราจะนั่งทำไมหนอถ้ากระไร เราควรนอน เขาพึงลงนอน

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุรุษคนนั้น มาผ่อนทิ้งอิริยาบถหยาบๆ เสีย พึงสำเร็จ อิริยาบถ ละเอียดๆ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้น หากว่าเมื่อเธอ มนสิการ สัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วย ฉันทะบ้าง ฯลฯ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายในนั้นแล.
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

        [๒๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นมนสิการถึงสัณฐาน แห่งวิตก สังขารของวิตก แม้เหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะ บ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ (5) ภิกษุนั้นพึงกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วย ลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับ จิตด้วยจิต เมื่อเธอกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับจิตด้วยจิตอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศลประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้เพราะละวิตก อันเป็นบาป อกุศล เหล่านั้น จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายในนั้นแล

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนบุรุษผู้มีกำลังมากจับบุรุษผู้มีกำลังน้อยกว่า ไว้ได้ แล้ว บีบ กด เค้นที่ศีรษะ คอ หรือก้านคอไว้ให้แน่น  แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น หาก เมื่อเธอ มนสิการถึงสัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตกแม้เหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็น บาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ

        ภิกษุนั้น พึงกัดฟัน ด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับจิตไว้ด้วยจิต เมื่อเธอ กัดฟัน ด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้นบังคับจิตอยู่ได้ วิตกอันเป็น บาป อกุศล ประกอบด้วย ฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอ ย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความ ตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอก ผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายในนั้นแล.

 






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์