เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 สันติวรบททางสู่ความสงบอันประเสริฐ คือทำความรู้แจ้งใน อายตนะ ๖ 1282
 

(โดยย่อ)

สันติวรบท (รู้อายตนะ ๖)

ก็สันติวรบท (บทอันประเสริฐสงบ) ไม่มีบทอื่นยิ่งกว่า คือ  
   ความรู้ เหตุเกิด - เหตุดับ
   รู้คุณ รู้โทษ
   รู้ อุบายเป็นเครื่องสลัดออก จากผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง  
   แล้วจึงหลุดพ้นได้เพราะไม่ถือมั่น



เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน


พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ (ภาษาไทย ๑) เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๔๓


สันติวรบท (ทางสู่ความสงบอันประเสริฐ)

        {๔๑} ภิกษุทั้งหลาย ก็ สันติวรบท (บทอันประเสริฐสงบ) ไม่มีบทอื่นยิ่งกว่า  ที่ตถาคตรู้แล้วนี้  คือ ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่อง สลัดออกจากผัสสายตนะ ๖  ตามความเป็นจริง แล้วจึงหลุดพ้นได้ เพราะไม่ถือมั่น

        สันติวรบท ที่ตถาคตรู้แล้วนี้นั้น  คือ ความรู้เหตุเกิด  เหตุดับ  คุณโทษ และ อุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง แล้วจึงหลุดพ้นได้ เพราะไม่ถือมั่น

            พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชม พระภาษิต ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๕๐๖

สันติวรบท
(ทางสู่ความสงบอันประเสริฐ)


การเข้าไปหาอาฬารดาบส (ตรัสกับภาระทวาชะ)


           [๗๓๘] ดูกรภารทวาชะ ในโลกนี้ ก่อนแต่การตรัสรู้ เรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ได้มีความคิดเห็นว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ ให้บริบูรณ์ ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึง ปลงผม และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด.

สมัยต่อมา เรานั้นยังเป็นหนุ่ม ผมดำสนิท ประกอบด้วยวัยกำลังเจริญเป็นปฐมวัย เมื่อพระมารดา และพระบิดาไม่ปรารถนา (จะให้บวช) ทรงกันแสงพระเนตร นองด้วย อัสสุชล เราปลงผมและหนวด นุ่งผ้ากาสาวพัตร์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.

เมื่อเราบวชแล้วอย่างนี้ แสวงหาสิ่งไรจะเป็นกุศล ค้นหา สันติวรบท อันไม่มีสิ่งอื่น ยิ่งกว่าอยู่ จึงเข้าไปหาอาฬารดาบสกาลามโคตร ถึงสำนักแล้วได้กล่าวว่า ดูกรท่านกาลามะ ข้าพเจ้าปรารถนา จะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้.

ดูกรภารทวาชะ เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว อาฬารดาบสกาลามโคตร ได้กล่าวว่า อยู่เถิดท่าน วิญญูบุรุษทำลัทธิของอาจารย์ตน ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งโดยไม่ช้า ในธรรมใดแล้วเข้าถึงอยู่ ธรรมนี้ก็เช่นนั้น.

เรานั้นเล่าเรียนธรรมนั้นได้โดยฉับพลันไม่นานเลย.

เรากล่าวญาณวาท และเถรวาท ได้ด้วยอาการเพียงหุบปากเจรจา เพียงชั่วกาล ที่พูดตอบเท่านั้น อนึ่งทั้งเราและผู้อื่นปฏิญาณได้ว่า เรารู้ เราเห็น.

เรามีความคิดเห็นว่า อาฬารดาบสกาลามโคตร จะประกาศว่า เราทำธรรมนี้ให้ แจ้งชัด ด้วยปัญญาอันยิ่งเองด้วย เข้าถึงธรรมนี้ด้วยเหตุเพียงศรัทธาอย่างเดียว ดังนี้ หามิได้ ที่แท้ อาฬารดาบสกาลามโคตร รู้เห็นธรรมนี้อยู่.

ครั้งนั้นเราจึงเข้าไปหาอาฬารดาบสกาลามโคตรได้ถามว่า ท่านกาลามะ ท่านทำธรรมนี้ ให้แจ้งชัดด้วยปัญญา อันยิ่งเองบรรลุแล้ว ประกาศให้ทราบด้วยเหตุ เพียงเท่าไรหนอ? เมื่อเราถามอย่างนี้ อาฬารดาบสกาลามโคตร ได้ประกาศ อากิญจัญญายตนะ.

เราได้มีความคิดเห็นว่า มิใช่อาฬารดาบสกาลามโคตร เท่านั้นมีศรัทธา แม้เราก็มีศ รัทธา มิใช่อาฬารดาบสกาลามโคตรเท่านั้น มีความเพียร มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา แม้เราก็มีความเพียร มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา ถ้ากระไร เราพึงตั้งความเพียรเพื่อจะทำ ให้แจ้งชัด ซึ่งธรรมที่อาฬารดาบสกาลามโคตรประกาศว่า ทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญา อันยิ่งเองแล้ว เข้าถึงอยู่นั้นเถิด.

เรานั้นได้ทำธรรมนั้นให้แจ้งชัด ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว เข้าถึงอยู่โดยฉับพลัน ไม่นานเลย.

ลำดับนั้น เราได้เข้าไปหาอาฬารดาบสกาลามโคตร แล้วได้ถามว่า ท่านกาลามะ ท่านทำธรรมนี้ให้แจ้งชัด ด้วยปัญญาอันยิ่งเองบรรลุแล้ว ประกาศให้ทราบด้วยเหตุ เพียงเท่านี้หรือหนอ?

อาฬารดาบสกาลามโคตรตอบว่า อาวุโส เราทำธรรมนี้ให้แจ้งชัด ด้วยปัญญาอันยิ่ง เอง บรรลุแล้ว ประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่านี้.

เราได้กล่าวว่า แม้เราก็ทำธรรมนี้ให้แจ้งชัด ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว เข้าถึงอยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้.

อาฬารดาบสกาลามโคตรกล่าวว่า อาวุโส เป็นลาภของพวกเรา พวกเราได้ดีแล้ว ที่พวกเราพบเพื่อน พรหมจรรย์ ผู้มีอายุเช่นท่าน เราทำธรรมใดให้แจ้งชัดด้วยปัญญา อันยิ่งเองบรรลุแล้ว ประกาศให้ทราบ ท่านก็ทำธรรมนั้นให้แจ้งชัด ด้วยปัญญา อันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่ ท่านทำธรรมใดให้แจ้งชัด ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว เข้าถึงอยู่ เราก็ทำธรรมนั้นให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองบรรลุแล้ว ประกาศให้ทราบ ดังนี้เรารู้ธรรมใด ท่านก็รู้ธรรมนั้น ท่านรู้ธรรมใด เราก็รู้ธรรมนั้น ดังนี้ เราเช่นใด ท่านก็เช่นนั้นท่านเช่นใด เราก็เช่นนั้น ดังนี้ ดูกรอาวุโส บัดนี้ เราทั้งสองจงมาอยู่ช่วยกันบริหารหมู่คณะนี้เถิด.

ดูกรภารทวาชะ อาฬารดาบสกาลามโคตรเป็นอาจารย์ของเรา ได้ตั้งเราผู้เป็นศิษย์ ไว้เสมอกับตน และบูชาเรา ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง เรามีความคิดเห็นว่า ธรรมนี้ไม่เป็น ไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อนิพพาน ย่อมเป็นไป เพียงเพื่ออุบัติในอากิญจัญญายตนพรหมเท่านั้น. เราไม่พอใจธรรมนั้น เบื่อจากธรรมนั้นหลีกไป.

        [๗๓๙] ดูกรภารทวาชะ เราเป็นผู้แสวงหาอยู่ว่าอะไรจะเป็นกุศล ค้นหา สันติวรบท อันไม่มีธรรมอื่น ยิ่งกว่าอยู่ จึงเข้าไปหาอุทกดาบสรามบุตร ถึงสำนัก แล้วกล่าวว่า ดูกรท่านรามะข้าพเจ้าปรารถนา จะประพฤติ พรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้.

เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว อุทกดาบสรามบุตรได้กล่าวว่า อยู่เถิดท่าน วิญญูบุรุษ ทำลัทธิของอาจารย์ตน ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่ง โดยไม่ช้า ในธรรมใด แล้ว เข้าถึงอยู่ ธรรมนี้ก็เช่นนั้น.

เรานั้นเล่าเรียนธรรมนั้นได้โดยฉับพลันไม่นานเลย.

ย่อมกล่าวญาณวาท และเถรวาท ได้ด้วยอาการเพียงหุบปากเจรจา เพียงชั่วกาล ที่พูดตอบเท่านั้น อนึ่ง เรา และผู้อื่นปฏิญาณได้ว่า เรารู้ เราเห็น.

เรามีความคิดเห็นว่า รามะจะได้ประกาศธรรมนี้ว่า เราทำให้แจ้งชัด ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ด้วยเหตุเพียง ศรัทธาอ ย่างเดียวแล้วเข้าถึงอยู่ ดังนี้ หามิได้ ที่แท้ รามะ รู้เห็นธรรมนี้อยู่.

ครั้งนั้น เราเข้าไปหาอุทกดาบสรามบุตรแล้วได้ถามว่า ดูกรท่านรามะ ท่านทำธรรมนี้ ให้แจ้งชัด ด้วยปัญญา อันยิ่งเองบรรลุแล้ว ประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่าไร หนอ? เมื่อเราถามอย่างนี้แล้ว อุทกดาบสรามบุตร ได้ประกาศ แนวสัญญา นาสัญญายตนะ.

เรานั้นได้มีความคิดเห็นว่า มิใช่ท่านรามบุตรเท่านั้นมีศรัทธา แม้เราก็มีศรัทธา มิใช่ ท่านรามบุตรเท่านั้น มีความเพียร มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา แม้เราก็มีความเพียร มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา ถ้ากระไร เราพึงตั้งความเพียร เพื่อ ทำให้แจ้งชัดซึ่งธรรม ที่ท่าน รามบุตรประกาศว่า เราทำให้แจ้งด้วยปัญญา อันยิ่งเองแล้ว เข้าถึงอยู่นั้นเถิด.

เรานั้นได้ทำธรรมนั้นให้แจ้งชัดด้วยปัญญา อันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่ โดยฉับพลัน ไม่นานเลย.

ลำดับนั้น เราได้เข้าไปหาอุทกดาบสรามบุตรแล้วได้ถามว่า ท่านรามะ ท่านทำธรรมนี้ ให้แจ้งชัดด้ วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หรือหนอ?

อุทกดาบสรามบุตรตอบว่า อาวุโส เราทำธรรมนี้ให้แจ้งชัด ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุแล้ว ประกาศด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.

เรากล่าวว่า อาวุโส แม้เราก็ทำธรรมให้แจ้งชัด ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้.

อุทกดาบสรามบุตรกล่าวว่า อาวุโสเป็นลาภของพวกเรา พวกเราได้ดีแล้ว ที่พวกเรา พบเพื่อนพรหมจรรย์ผู้มีอายุเช่นท่าน เราทำธรรมใดให้แจ้งชัดด้วยปัญญา อันยิ่งเอง บรรลุแล้ว ประกาศให้ทราบ ท่านก็ทำธรรมนั้นให้แจ้งชัด ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว เข้าถึงอยู่ เราก็ทำธรรมนั้นให้แจ้งชัด ด้วยปัญญาอันยิ่งเองบรรลุแล้ว ประกาศให้ทราบ ดังนี้

เรารู้ ธรรมใด ท่านก็รู้ธรรมนั้น ท่านรู้ธรรมใด เราก็รู้ธรรมนั้น ดังนี้เราเช่นใด ท่าน ก็เช่นนั้น ท่านเช่นใด เราก็เช่นนั้น ดังนี้ ดูกรอาวุโส บัดนี้ เชิญท่านมาบริหาร หมู่คณะนี้เถิด.

ดูกรภารทวาชะ อุทกดาบสรามบุตร เป็นเพื่อนพรหมจรรย์ของเรา ได้ตั้งเราไว้ ในฐานะอาจารย์ และบูชาเราด้วยการบูชาอย่างยิ่ง.

เรามีความคิดเห็นว่า ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้เพื่อนิพพาน ย่อมเป็นไปเพียง เพื่ออุบัติใน เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม เท่านั้น.

เราจึงไม่พอใจธรรมนั้น เบื่อจากธรรมนั้นหลีกไป.

        [๗๔๐] ดูกรภารทวาชะ เรานั้นเป็นผู้แสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล ค้นหา สันติวรบท อันไม่มีสิ่งอื่นยิ่งขึ้นไปกว่าอยู่ จึงเที่ยวจาริกไปในมคธชนบทโดยลำดับ บรรลุถึงอุรุเวลาเสนานิคม.

ณ ที่นั้น เราได้เห็นภูมิภาคน่ารื่นรมย์ มีไพรสณฑ์น่าเลื่อมใส มีแม่น้ำไหลอยู่ น้ำเย็น จืดสนิท มีท่าน้ำราบเรียบน่ารื่นรมย์ มีโคจรคามโดยรอบ.

เรานั้นมีความคิดเห็นว่า ภูมิภาคน่ารื่นรมย์หนอไพรสณฑ์น่าเลื่อมใส แม่น้ำไหลอยู่ น้ำเย็นจืดสนิท มีท่าราบเรียบน่ารื่นรมย์ ทั้งโคจรคามมีอยู่โดยรอบ สถานที่นี้สมควร เป็นที่ตั้งความเพียรของกุลบุตร ผู้ต้องการความเพียรหนอ.

เราจึงนั่งอยู่ณ ที่นั้นเอง ด้วยคิดเห็นว่า สถานที่นี้สมควรเป็นที่ทำความเพียร.


------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๓๓๘


การเข้าไปหาอุทกดาบส (ตรัสกับราชกุมาร)

        [๔๙๐] ดูกรราชกุมาร เมื่ออาตมภาพแสวงหา อะไรเป็นกุศล ค้นคว้า สันติวรบท อันไม่มีสิ่งอื่นยิ่งไปกว่า จึงเข้าไปหาอุทกดาบส รามบุตรแล้วได้กล่าวว่า ดูกรท่านรามะ ข้าพเจ้าปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้.

เมื่ออาตมภาพกล่าวเช่นนี้แล้ว อุทกดาบส รามบุตรได้กล่าวว่า อยู่เถิดท่าน บุรุษผู้ ฉลาดพึงทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ไม่นานเลยก็บรรลุลัทธิของอาจารย์ ตนแล้ว อยู่ในธรรมใด ธรรมนี้เช่นนั้น.

อาตมภาพเล่าเรียนธรรมนั้นได้โดยฉับพลันไม่นานเลย.

กล่าวญาณวาท และเถรวาทได้ด้วยอาการ เพียงหุบปากเจรจาเท่านั้น อนึ่ง ทั้ง อาตมภาพ และผู้อื่นปฏิญาณได้ว่า เรารู้เราเห็น.

อาตมภาพมีความคิดเห็นว่า ท่านรามบุตรจะได้ประกาศว่า เราทำให้แจ้งชัดด้วย ปัญญา อันยิ่งเอง บรรลุถึงธรรมนี้ด้วยอาการเพียงศรัทธาเท่านั้น ดังนี้ ก็หาไม่ที่จริง ท่านรามบุตรรู้เห็นธรรมนี้อยู่.

ครั้นแล้วอาตมภาพ จึงเข้าไปหาอุทกดาบส รามบุตร แล้วได้ถามว่า ดูกรท่านรามะ ท่านทำธรรมนี้ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุแล้วประกาศให้ทราบ ด้วยเหตุ เพียงเท่าไรหนอ.

เมื่ออาตมภาพกล่าวเช่นนี้ อุทกดาบสรามบุตรได้ประกาศ เนวสัญญา นาสัญญายตนะ.

อาตมภาพมีความคิดเห็นว่า ท่านรามะเท่านั้นมีศรัทธาหามิได้ ถึงเราก็มีศรัทธา ท่านรามะ เท่านั้น มีความเพียร ... มีสติ ... มีสมาธิ ... มีปัญญาหามิได้ ถึงเราก็มี ความเพียร ...มีสติ ... มีสมาธิ ... มีปัญญา อย่ากระนั้นเลย เราพึงตั้งความเพียรเพื่อ ทำธรรม ที่ท่านรามะประกาศว่า ทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว บรรลุธรรม นั้น ให้แจ้งเถิด.

อาตมภาพได้ทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วบรรลุธรรมนั้นโดยฉับพลัน ไม่นานเลย.

ครั้นแล้วอาตมภาพเข้าไปหาอุทกดาบส รามบุตรแล้วได้ถามว่า ดูกรท่านรามะ ท่านทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุธรรมนี้แล้วประกาศให้ทราบ ด้วยเหตุ เพียงเท่านี้หรือ?

     อุทกดาบส รามบุตรตอบว่า ดูกรอาวุโส เราทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่ง เอง บรรลุธรรมนี้แล้วประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่านี้.

     อาตมภาพได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโส แม้เราก็ทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุถึงธรรมนี้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้.

     อุทกดาบส รามบุตรกล่าวว่า ดูกรอาวุโส เป็นลาภของเราทั้งหลาย เราทั้งหลาย ได้ดีแล้ว ที่เราทั้งหลายได้พบท่านสพรหมจารีเช่นท่าน รามะทำให้แจ้งชัดด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุถึงธรรมใดแล้วประกาศให้ทราบ ท่านก็ทำให้แจ้งชัดด้วย ปัญญา อันยิ่งเอง บรรลุถึงธรรมนั้นอยู่ ท่านทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุถึงธรรมใด รามะก็ทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญา อันยิ่งเองบรรลุถึงธรรมนั้น แล้ว ประกาศให้ทราบ ดังนี้ รามะรู้ยิ่งธรรมใด ท่านก็รู้ธรรมนั้น ท่านรู้ธรรมใดรามะก็รู้ยิ่ง ธรรมนั้น ดังนี้ รามะเช่นใด ท่านก็เช่นนั้น ท่านเช่นใด รามะก็เช่นนั้น ดังนี้ดูกรอาวุโส บัดนี้เชิญท่านมาบริหารหมู่คณะนี้เถิด.

ดูกรราชกุมาร อุทกดาบสรามบุตร เป็นเพื่อนสพรหมจารีของอาตมภาพ ตั้ง อาตมภาพไว้ในตำแหน่งอาจารย์ และบูชาอาตมภาพ ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง.

อาตมภาพ มีความคิดเห็นว่า ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เป็นไปเพียง ให้อุปบัติใน เนวสัญญานาสัญญายตนพรหมเท่านั้น.

อาตมภาพไม่พอใจธรรมนั้น เบื่อจากธรรมนั้นหลีกไป.

[๔๙๑] ดูกรราชกุมาร เมื่ออาตมภาพแสวงหาอยู่ว่าอะไรเป็นกุศล ค้นคว้า สันติวรบท อันไม่มีสิ่งอื่นยิ่งขึ้นไปกว่า เที่ยวจาริกไปในมคธชนบทโดยลำดับ บรรลุถึง อุรุเวลา เสนานิคม.

ณ ที่นั้น อาตมภาพได้เห็นภาคพื้นน่ารื่นรมย์ มีไพรสณฑ์น่าเลื่อมใส มีแม่น้ำไหลอยู่ น้ำเย็นจืดสนิท มีท่าน้ำราบเรียบ น่ารื่นรมย์ และมีโคจรคามโดยรอบ.

อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่าภาคพื้นน่ารื่นรมย์หนอ ไพรสณฑ์ ก็น่าเลื่อมใส แม่น้ำก็ไหล น้ำเย็นจืดสนิท ท่าน้ำก็ราบเรียบน่ารื่นรมย์ และโคจรคามก็โดยรอบ สถานที่เช่นนี้สมควรเป็นที่ตั้งความเพียรของกุลบุตร ผู้ต้องการความเพียรหนอ ดูกรราชกุมาร อาตมภาพนั่งอยู่ ณ ที่นั้นนั่นเอง ด้วยคิดเห็นว่า สถานที่เช่นนี้สมควร เป็นที่ทำความเพียร.


พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๔๗
สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต๑ เล่มที่ ๑ ภาคที่ ๖ฅ


อรรถกถาอรรถกถาปธานสูตรที่  ๒ (ไม่ใช่คำสอนของพระศาสดา)

(ตรัสกับมาร)

           บัดนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าคุกคามมารปรารภคำนี้ว่า ความเป็นอยู่ของท่าน มีส่วนเดียว ตรัสคาถานี้ว่า  อตฺถิ  สทฺธา  ศรัทธามีอยู่ดังนี้. 

ในคาถานั้นมีอธิบายดังนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคุกคามมารอย่างนี้ว่า  

ดูก่อนมารใจร้าย ท่านไม่เชื่อใน สันติวรบท (ทางแห่งความสงบอันประเสริฐ) อันยอดเยี่ยม
หรือแม้มีศรัทธาก็เกียจคร้าน หรือมีศรัทธา แม้ปรารภความเพียรก็มีปัญญาทราม ตามถาม
ความเป็นอยู่ แต่เรามีศรัทธาหยั่งลงใน สันติวรบทอันยอดเยี่ยม เรามีความเพียร

กล่าวคือ ความพยายามไม่ย่อหย่อนทางกายและทางจิต  และเรามีปัญญาเปรียบดัง วชิระ  ท่านถามเราผู้มีตนส่งไปแล้ว  คือมีอัธยาศัยเลิศ  มีความเป็นอยู่อย่างนี้ เพราะเหตุไรท่าน จึงถาม. 

ควรประกอบสติและสมาธิด้วย   ศัพท์ในบทนี้ว่า  ปญฺา  จ  มม  ดังนี้. 

ผู้ประกอบด้วยอินทรีย์  ๕ เหล่าใดย่อมถึงนิพพาน ในอินทรีย์  ๕ เหล่านั้นแม้อย่างเดียว ก็เว้นไม่ได้  ท่านถามเราผู้มีตนส่งไปแล้ว มีความเป็นอยู่อย่างไรมิใช่หรือ.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงข่มมารอย่างนี้ว่า

เอกาหํ  ชีวิตํ  เสยฺโย  วิริยมารภโต  ทฬฺหํ
ปญฺวนฺตสฺส  ฌายิโน ปสฺสโต  อุทยพฺพยํ.









พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์