เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

มักกฏสูตร..ลิงติดตัง ลิงโง่ท่องเที่ยวไปในที่ ไม่ควรโคจร จึงติดตังทั้งมือเท้า และปาก 1281
 

(โดยย่อ)

มักกฏสูตร ว่าด้วยอารมณ์อันมิใช่โคจร (เรื่องลิงติดตัง ของนายพราน)

ลิงติดตัง ลิงโง่ ไม่มีความระวังในการท่องไปในถิ่นที่ไม่เคยไป
ลิงใดโง่ ลอกแลก ลิงตัว ก็จะเข้าไปใกล้ตัง ครั้นเอามือจับ มือก็ติดตัง
ครั้นเอามือข้างที่สองจับ ด้วยคิดจะปลดออกได้ มือข้างที่สองก็ติดตังอีก
มันจึงเอาเท้าจับ คิดว่าจะปลดมือทั้งสองออกได้ เท้าก็ติดตังอีก
มันจึงเอาเท้าอีกข้างจับ คิดว่าจะปลดมือและเท้าที่ติดออกได้ เท้าก็ติดตังอีก
มันจึงเอาปากกัด คิดว่าจะปลดมือ และเท้าออกได้ ปากก็ติดตังอีก
(สรุปว่า ลิงติดตั่งทั้งมือ 2 ข้าง เท้า 2 ข้าง และปาก)

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่ท่องเที่ยวไปใน กามคุณ ๕

คือ รูปที่พึงรู้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด
เสียงที่พึงรู้ ด้วยหู ... กลิ่นที่พึงรู้ด้วยจมูก ... รสที่พึงรู้ด้วยลิ้น ... โผฏฐัพพะที่พึงรู้ด้วยกาย...
นี้คืออารมณ์อื่น
อันมิใช่โคจรของภิกษุ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมท่องเที่ยวไปใน สติปัฏฐาน ๔

ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต ... เห็นธรรมในธรรม
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
นี่คืออารมณ์
อันเป็นที่โคจรของภิกษุ



เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๑๖๘

มักกฏสูตร ว่าด้วยอารมณ์อันมิใช่โคจร (เรื่องลิงติดตัง)

 

        [๗๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถิ่นแห่งขุนเขาชื่อหิมพานต์ อันไปได้ยาก ขรุขระ ไม่เป็นที่เที่ยวไปทั้งของฝูงลิง ทั้งของหมู่มนุษย์มีอยู่ ถิ่นแห่งขุนเขาชื่อหิมพานต์ อันไปได้ยากขรุขระ เป็นที่เที่ยวของฝูงลิงเท่านั้น ไม่ใช่ของหมู่มนุษย์มีอยู่

ภูมิภาค แห่งขุนเขา ชื่อหิมพานต์ราบเรียบ น่ารื่นรมย์ เป็นที่เที่ยวไปทั้งของฝูงลิง ทั้งของ หมู่มนุษย์ มีอยู่ ณ ที่นั้น พวกพรานวางตังไว้ในทางเดินของฝูงลิงเพื่อดักลิง ในลิงเหล่านั้น ลิงเหล่าใดไม่โง่ ไม่ลอกแลก ลิงเหล่านั้น เห็นดังนั้น ย่อมหลีก ออกห่าง

ส่วนลิงใดโง่ ลอกแลก ลิงตัวนั้นเข้าไปใกล้ตังนั้น เอามือจับ มือก็ติดตัง มันจึงเอามือ ข้างที่สองจับ ด้วยคิดว่า จักปลดมือออก มือข้างที่สองก็ติดตังอีก มันจึงเอาเท้าจับ ด้วยคิดว่า จักปลดมือทั้งสองออก เท้าก็ติดตังอีก มันจึงเอาเท้าข้างที่สองจับ ด้วยคิดว่า จักปลดมือทั้งสองและเท้าออก เท้าที่สองก็ติดตังอีก มันจึงเอาปากกัด ด้วยคิดว่าจักปลดมือทั้งสอง และเท้าทั้งสองออก ปากก็ติดตังอีก

ลิงตัวนั้นถูกตรึง ๕ ประการอย่างนี้แล นอนถอนใจ ถึงความพินาศ ยุบยับแล้ว อันพรานจะพึงกระทำได้ตามความปรารถนา พรานแทงลิงตัวนั้นแล้วจึงยกขึ้นไว้ ในที่นั้นเอง ไม่ละทิ้ง หลีกไปตามความปรารถนา

ดูกรภิกษุทั้งหลายเรื่องลิงเที่ยวไปในถิ่นอื่น อันมิใช่ที่ควรเที่ยวไป ย่อมเป็นเช่นนี้แหละ.

        [๗๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าเที่ยวไป ในอารมณ์อื่น อันมิใช่โคจร เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในอารมณ์อื่น อันมิใช่โคจร มารได้ช่อง มารจักได้อารมณ์ ก็อารมณ์อื่นอันมิใช่โคจรของภิกษุ คืออะไร?

คือ กามคุณ ๕ กามคุณ ๕ เป็นไฉน?
คือ รูปที่พึงรู้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้ กำหนัดเสียงที่พึงรู้ด้วยหู ... กลิ่นที่พึงรู้ด้วยจมูก ... รสที่พึงรู้ด้วยลิ้น ... โผฏฐัพพะ ที่พึงรู้ด้วยกายอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้ คืออารมณ์อื่นอันมิใช่โคจรของภิกษุ.

        [๗๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในอารมณ์ ซึ่งเป็นของ บิดาตน อันเป็นโคจร เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในอารมณ์ซึ่งเป็นของบิดาตน อันเป็นโคจร มารจักไม่ได้อารมณ์

ก็อารมณ์อันเป็นของบิดาตนอันเป็นโคจรของภิกษุ คืออะไร? คือ สติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็น กายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัส ในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ...ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้ คือ อารมณ์ซึ่งเป็นของบิดาตน อันเป็นโคจรของภิกษุ.






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์