เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 วิวิตตสูตร ความสงัด จากกิเลส ๓ อย่าง ในแบบของปริพาชก และแบบของภิกษุในธรรมวินัย 1272
 

(โดยย่อ)

ความสงัด จากกิเลส ๓ อย่าง ในแบบของปริพาชก และ แบบของพระผู้มีพระภาค

ความสงัดจากกิเลส แบบพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก
๑. ในความสงัดจากกิเลส เพราะจีวร.. ทรงผ้าป่านบ้าง ผ้าแกมกันบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง ผ้าบังสุกุล บ้าง ผ้าเปลือกไม้ หนังเสือบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยผมคนบ้างทำด้วยขนสัตว์บ้าง ผ้าทำด้วยปีกนกบ้าง

๒. ในความสงัดจากกิเลส เพราะบิณฑบาต.. มีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่างบ้าง ลูกเดือย บ้าง กากข้าวบ้าง สาหร่ายบ้าง รำบ้าง ข้าวตังบ้าง กำยานบ้าง หญ้าบ้าง โคมัยบ้าง ผลไม้บ้าง

๓. ในความสงัดจากกิเลส เพราะเสนาสนะ.. คืออยู่ป่า โคนไม้ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง โรงลาน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ความสงัดจากกิเลส ของภิกษุในธรรมวินัย

๑.เป็นผู้มีศีลละความเป็นผู้ทุศีล และเป็นผู้สงัดกิเลส เพราะศีลนั้นด้วย
๒.เป็นผู้มีความเห็นชอบ ละความเห็นผิด และเป็นผู้สงัดจากกิเลส เพราะความ เห็นชอบนั้นด้วย
๓.เป็นพระขีณาสพ ละอาสวะทั้งหลาย และเป็นผู้สงัดจากอาสวะทั้งหลายเหล่านั้น ด้วย

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๓๐


วิวิตตสูตร

 

         [๕๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก บัญญัติความสงัด จากกิเลสไว้ ๓ อย่างนี้

๓ อย่างเป็นไฉน คือ
ความสงัดจากกิเลสเพราะจีวร ๑ 
ความสงัดจากกิเลสเพราะบิณฑบาต ๑
ความสงัดจากกิเลสเพราะเสนาสนะ ๑


(๑) ในความสงัดจากกิเลส เพราะจีวร

พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ปฏิบัติไว้ดั่งนี้ คือทรงผ้าป่านบ้าง ผ้าแกมกัน บ้าง ผ้าห่อศพบ้าง ผ้าบังสุกุลบ้าง ผ้าเปลือกไม้บ้าง หนังเสือบ้าง หนังเสือทั้งเล็บ บ้าง ผ้าคากรองบ้าง ผ้าเปลือกปอกรองบ้าง ผ้าผลไม้กรองบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยผม คนบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยขนสัตว์บ้าง ผ้าทำด้วยปีกนกเค้าบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แล พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก บัญญัติไว้ในความสงัดจากกิเลสเพราะจีวร

(๒) ในความสงัดจากกิเลส เพราะบิณฑบาต
พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกบัญญัติไว้ดังนี้ คือเป็นผู้มีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษาบ้าง มียางเป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง มีรำเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็น ภักษาบ้าง มีกำยานเป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง มีเหง้า และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่นเยียวยาอัตภาพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แล พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกบัญญัติไว้ ในความสงัดจาก กิเลสเพราะบิณฑบาต

(๓) ในความสงัดจากกิเลส เพราะเสนาสนะ
พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก บัญญัติไว้ดังนี้ คือป่า โคนไม้ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง โรงลาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แล พวกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชกบัญญัติไว้ ในความสงัดจากกิเลส เพราะเสนาสนะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชก บัญญัติความสงัดจากกิเลส ๓ อย่างนี้แลไว้ ฯ

-----------------------------------------------------------------------

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนความสงัดจากกิเลส ของภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๓

อย่าง ๓ อย่างเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีศีลละความเป็นผู้ทุศีล และเป็นผู้สงัดกิเลส เพราะศีลนั้นด้วย
เป็นผู้มีความเห็นชอบ ละความเห็นผิด และเป็นผู้สงัดจากกิเลส เพราะความ เห็นชอบนั้นด้วย
เป็นพระขีณาสพ ละอาสวะทั้งหลาย และเป็นผู้สงัดจากอาสวะทั้งหลายเหล่านั้น ด้วย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ภิกษุนี้จึงเรียกว่า เป็นผู้บรรลุส่วนอันเลิศ บรรลุ ส่วนที่เป็นแก่นสาร เป็นผู้บริสุทธิ์ ตั้งอยู่ในธรรมที่เป็นสาระ

ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เปรียบเหมือนคฤหบดีชาวนา พึงใช้คนให้รีบเร่งเก็บเกี่ยวข้าว สาลี ในนาของเขา ซึ่งถึงพร้อมแล้ว

ครั้นแล้วพึงใช้คนให้รีบเร่งรวบรวมเข้าไว้
ครั้นแล้วพึงใช้คนให้รีบเร่งขนเอาไปเข้าลาน

ครั้นแล้วพึงใช้คนให้รีบเร่งลอมไว้
ครั้นแล้วพึงใช้คนให้รีบเร่งนวดเสีย

ครั้นแล้วพึงใช้คนให้รุเอาฟางออกเสีย
ครั้นแล้วพึงใช้คนให้รวมข้าวเปลือกเป็นกองเข้าไว้

ครั้นแล้วพึงใช้คนให้รีบเร่งฝัดข้าว
ครั้นแล้วพึงใช้คนให้รีบเร่งขนเอาไป

ครั้นแล้วพึงใช้คนให้รีบเร่งซ้อม
ครั้นแล้วพึงใช้คนให้รีบเร่งเอาแกลบออกเสีย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนี้ ข้าวเปลือกเหล่านั้น ของคฤหบดีชาวนานั้น พึงเป็นของถึงส่วนอันเลิศ ถึงส่วนเป็นแก่นสารสะอาดหมดจด ตั้งอยู่ในความเป็น ของมีแก่นสาร ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศีล ละความเป็นผู้ทุศีล และสงัดจากกิเลสแล้ว เพราะศีลนั้น ด้วยเป็นผู้มีความเห็นชอบ ละความเห็นผิด และสงัดจากกิเลสแล้ว เพราะความเห็นชอบนั้นด้วย เป็นพระขีณาสพ ละอาสวะทั้งหลาย และสงัดจาก อาสวะทั้งหลายนั้นด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเช่นนี้เรียกว่า เป็นผู้บรรลุส่วน อันเลิศบรรลุส่วนที่เป็นแก่นสาร เป็นผู้หมดจด ตั้งอยู่ในธรรม ที่เป็นแก่นสาร ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์