เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 สังฆสูตร (อุปมาการทำทองให้บริสุทธิ์ กับการขัดเกลากิเลสจนสิ้นอาสวะ) 1273
 

(โดยย่อ)

สังฆสูตร (อุปมาการทำทองให้บริสุทธิ์ กับการขัดเกลากิเลสจนสิ้นอาสวะ)
ทรงอุปมาการร่อนทอง เพื่อขจัดกรวดหยาบ ล้างกรวดละเอียด ล้างแล้วล้างอีก จนละเอียด หมดจนเพื่อนำไปสู่เบ้าหลอม เป่าแล้วเป่าอีก เพื่อนำเอารสฝาดออก จนหมด ย่อมได้ทองที่ผุดผ่อง ควรแก่การนำไปทำเครื่องประดับ

ฉันนั้นเหมือนกันแล
1. อุปกิเลสอย่างหยาบ คือกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
2. อุปกิเลสอย่างกลาง คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก
3. อุปกิเลสอย่างละเอียด คือ ความวิตกถึงชาติ ความ วิตก ถึงชนบท และวิตกอันปฏิสังยุต ด้วยความไม่ดูหมิ่น
4. จิตดำรงอยู่ในภายในสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น สมัยนั้นสมาธินั้นเป็นธรรมละเอียด ประณีต ได้ความสงบระงับ ถึงความเป็นธรรม เอกผุดขึ้น
5. เราพึงฟังเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งใน ที่ไกลและใกล้
6. เราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจของตน คือจิตมีราคะพึงรู้ว่า จิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็พึงรู้ว่าจิตปราศจากราคะ
7. เราพึงระลึกชาติก่อนๆ ได้เป็นอันมาก คือ พึงระลึกได้ชาติหนึ่ง บ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง ... ตลอดสังวัฏวิวัฏกัป เป็นอันมาก
8. เราได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ
9. เราพึงระลึกชาติก่อนๆ ได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการพร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ เธอย่อมสมควรเป็นพยาน ในธรรม นั้นๆ
10. พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ

ด้วยประการฉะนี้ เธอย่อมสมควรเป็นพยาน ในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่เป็นอยู่ ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า เราพึงทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๔๐


สังฆสูตร
(อุปมาการทำทองให้บริสุทธิ์ กับการขัดเกลากิเลสจนสิ้นอาสวะ)

         [๕๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เครื่องเศร้าหมองอย่างหยาบ ของทอง คือ ดินร่วน ทรายก้อนกรวด และกระเบื้องมีอยู่ คนล้างฝุ่นหรือลูกมือของ คนล้าง ฝุ่น เรี่ยรายทองนั้น เทลงไปในรางน้ำแล้วล้าง ล้างแล้วล้างอีก ล้างจนหมด เมื่อล้าง เครื่องเศร้าหมองอย่างหยาบหมดแล้ว ทำมันให้สุดสิ้นแล้ว ทองยังคงมีเครื่องเศร้า หมองอย่างกลาง คือ ก้อนกรวดอย่างละเอียด ทรายอย่างหยาบ

คนล้างฝุ่น หรือลูกมือคนล้างฝุ่น ย่อมล้างทองนั้น ล้างแล้วล้างอีก ล้างจนหมด เมื่อล้างเครื่องเศร้าหมอง อย่างกลางหมดแล้ว ทำมันให้สุดสิ้นแล้ว ทองยังคงมี เครื่องเศร้าหมองอย่างละเอียด คือ ทรายอย่างละเอียด และ สะเก็ดกระลำพัก

คนล้างฝุ่น หรือลูกมือของคนล้างฝุ่น ย่อมล้างทองนั้น ล้างแล้วล้างอีก ล้างจนหมด เมื่อล้างเครื่องเศร้าหมอง อย่างละเอียดจนหมดแล้ว ทำมันให้สิ้นสุดแล้ว คราวนี้ยัง คงเหลือกองทรายทอง

ช่างทอง หรือลูกมือของช่างทอง ใส่ทองลงในเบ้าหลอมแล้วเป่าทองนั้น เป่าแล้ว เป่าเล่า เป่าจนได้ที่ ยังไม่ติดสนิทแนบเป็นเนื้อเดียวกัน ยังไม่ถูกนำเอารสฝาดออก มันย่อมไม่อ่อน ไม่ควรแก่การงานไม่ผุดผ่อง เป็นของแตกง่ายและ เข้าไม่ถึง เพื่อกระทำ โดยชอบ ช่างทอง หรือลูกมือของช่างทองย่อมเป่าทองนั้น เป่าแล้ว เป่าเล่า เป่าจนได้ที่

ในสมัยใด สมัยนั้นมีอยู่ ทองนั้นถูกเป่า ถูกเป่าแล้ว เป่าเล่า ถูกเป่าจนได้ที่ ติดสนิท แนบเป็นเนื้อเดียวกัน ถูกนำเอารสฝาดออกหมด มันย่อมเป็นของอ่อน ควรแก่การงาน ผุดผ่อง ไม่แตกหัก เข้าถึงเพื่อทำโดยชอบ เขามุ่งหมายสำหรับ เครื่องประดับ ชนิดใดๆ คือแผ่นทอง ต่างหู เครื่องประดับคอ หรือดอกไม้ทองก็ดี เครื่องประดับ ชนิดนั้นย่อมสมความประสงค์ของเขา ฉันใด

--------------------------------------------------------------------------------------

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล อุปกิเลสอย่างหยาบ คือกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ของภิกษุผู้ประกอบอธิจิต ยังมีอยู่ ภิกษุผู้มีสัญชาติเป็นคนฉลาด ย่อมละทิ้ง บรรเทาอุปกิเลสอย่างหยาบของใจตนนั้นเสีย ทำให้สิ้นไป ให้หมดไป เมื่อละ มันได้เด็ดขาด ทำให้มันสิ้นไปแล้ว

ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต ยังคงมีอุปกิเลสอย่างกลาง คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ภิกษุผู้มีสัญชาติเป็นคนฉลาด ย่อมละทิ้ง บรรเทาอุปกิเลสอย่างกลาง ของใจตนนั้นเสีย ทำให้สิ้นไป ให้หมดไป เมื่อละมันได้เด็ดขาด ทำให้มันสิ้นสุดแล้ว

ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต ยังคงมีอุปกิเลสอย่างละเอียด คือ ความวิตกถึงชาติ ความ วิตก ถึงชนบท และวิตกอันปฏิสังยุต ด้วยความไม่ดูหมิ่น ภิกษุผู้มีสัญชาติเป็น คนฉลาด ย่อมละทิ้ง บรรเทาอุปกิเลส อย่างละเอียดของใจตนนั้นเสีย ทำให้สิ้นไป ให้หมดไป เมื่อละมันได้เด็ดขาด ทำมันให้สิ้นสุดไปแล้ว ยังคงเหลือแต่ธรรมวิตก (วิปัสสนูป กิเลส) ต่อไปเท่านั้น สมาธินั้นยังไม่ละเอียด ไม่ประณีต ไม่ได้ความสงบ ระงับ ยังไม่ถึงความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ยังมีการห้ามการข่มกิเลส ด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง  

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตดำรงอยู่ในภายในสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ สมัยนั้น สมาธินั้นเป็นธรรมละเอียด ประณีต ได้ความสงบระงับ ถึงความเป็นธรรม เอกผุดขึ้น ไม่มีการห้ามการข่มกิเลส ด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง และภิกษุนั้นจะโน้ม น้อมจิตไป เพื่อทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญา อันยิ่งเองใดๆ เธอย่อมสมควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่เป็นอยู่

ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า
เราพึงแสดงฤทธิ์หลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุกำแพง ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดิน เหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตก เหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์ พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมาก อย่างนี้ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกาย ไปตลอดพรหมโลกก็ได้ เธอย่อมสมควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่เป็นอยู่

ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า เราพึงฟังเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งใน ที่ไกลและใกล้ ด้วยทิพโสตธาตุอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์ เธอย่อมสมควรเป็น พยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่เป็นอยู่

ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า เราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจของตน คือจิตมีราคะพึงรู้ว่า จิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็พึงรู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็พึงรู้ว่า จิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็พึงรู้ว่า จิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็พึงรู้ว่า จิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็พึงรู้ว่า จิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็พึงรู้ว่า จิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่านก็พึงรู้ว่า จิตฟุ้งซ่านจิตเป็นมหรคต ก็พึงรู้ว่า จิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคตก็พึงรู้ว่า จิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็พึงรู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็พึงรู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิก็พึงรู้ว่า จิตเป็นสมาธิหรือจิตไม่เป็นสมาธิก็พึงรู้ว่า จิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้นก็พึงรู้ว่า จิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้นก็พึงรู้ว่า จิตไม่หลุดพ้นเธอย่อม สมควร เป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่เป็นอยู่

ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า เราพึงระลึกชาติก่อนๆ ได้เป็นอันมาก คือ พึงระลึกได้ชาติหนึ่ง บ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้างห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้างพันชาติบ้าง แสนชาติ บ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมาก ตลอดวิวัฏกัป เป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัป เป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุข เสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น

ครั้นจุติ จากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น

ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เราพึงระลึกชาติก่อนๆ ได้เป็นอัน มาก พร้อมทั้งอาการพร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ เธอย่อมสมควรเป็นพยาน ในธรรม นั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่เป็นอยู่ ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า เราพึงเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลัง อุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดีมีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพจักษุ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์

พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ ยึดถือการทำด้วยอำนาจ มิจฉาทิฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาตนรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบ ด้วย กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฐิยึดถือการทำ ด้วย อำนาจสัมมาทิฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เราพึงเห็นหมู่สัตว์ กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยากด้วย ทิพจักษุ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม

ด้วยประการฉะนี้ เธอย่อมสมควรเป็นพยาน ในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่เป็นอยู่ ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า เราพึงทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ เธอย่อม สมควรเป็นพยาน ในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่เป็นอยู่ ฯ






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์