เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 สาฬหสูตร (ธรรมเป็นอกุศล) ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ติเตียน 1267
 

(โดยย่อ)

ธรรมเหล่านี้เป็น อกุศล  ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ใครสมาทาน ให้บริบูรณ์ แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ เมื่อนั้นท่านทั้งหลาย ควรละธรรมเหล่านั้นเสีย

เมื่อใดท่านทั้งหลาย พึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็น กุศล ธรรมเหล่านี้ ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ ผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ผู้ใดสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อม เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรม เหล่านั้นอยู่ ดังนี้

เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า
เมื่อก่อนเรามีโลภะ ข้อนั้นเป็นการไม่ดี
บัดนี้ โลภะนั้นไม่มี ความไม่มีโลภะเป็นความดี

เมื่อก่อนเรามีโทสะ ...เมื่อก่อนเรามีโมหะ
ข้อนั้นเป็นการไม่ดี
บัดนี้ โมหะนั้นไม่มี ความไม่มีโมหะนั้นเป็นความดี



เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๑๘๔

สาฬหสูตร (ธรรมเป็นอกุศล ควรละเสีย)


         [๕๐๖] ๖๗. สมัยหนึ่ง ท่านพระนันทกะ อยู่ที่ปราสาท ของนางวิสาขา มิคารมาตา ในปุพพาราม ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล นายสาฬหะ หลานชาย ของมิคารเศรษฐี กับนายโรหนะหลานชายของเปขุณิยเศรษฐี ได้ชวนกัน เข้าไปหาท่านพระนันทกะจนถึงที่อยู่ กราบไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้ว ท่านพระนันทกะได้กล่าวว่า ดูกรสาฬหะและโรหนะ มาเถอะท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา ... สมณะนี้เป็นครูของเรา

     ดูกรสาฬหะ และ โรหนะ เมื่อใด ท่านพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็น อกุศล  ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์ แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ เมื่อนั้นท่านทั้งหลาย ควรละธรรมเหล่านั้นเสีย
-----------------------------------------------------------------------------------------

     ดูกรสาฬหะ และ โรหนะ ท่านทั้งหลายจะสำคัญความในข้อนั้นเป็นไฉน ความโลภ มีอยู่หรือ
     นายสาฬหะ และ นายโรหนะ รับรองว่ามี ขอรับ ฯ

     น.  ดูกรสาฬหะและโรหนะ ความข้อนี้เรากล่าวว่า อภิชฌาบุคคล ผู้โลภมาก ด้วยความอยากได้นี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้สิ่งใด ย่อม เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ สิ้นกาลนานบุคคลผู้โลภ ย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้ ฯ
     สา. จริงอย่างนั้น ขอรับ ฯ
-----------------------------------------------------------------------------------------

     น.  ดูกรสาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน ความโกรธ มีอยู่หรือ ฯ
     สา. มี ขอรับ ฯ

     น.  ดูกรสาฬหะและโรหนะ ความข้อนี้เรากล่าวว่า ความพยาบาท บุคคลผู้ ดุร้าย มีจิตพยาบาทนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้สิ่งใด ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ สิ้นกาลนาน บุคคลผู้โกรธย่อม ชักชวนผู้อื่น เพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้ ฯ
     สา. จริงอย่างนั้น ขอรับ ฯ
-----------------------------------------------------------------------------------------

     น.  ดูกรสาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน ความหลง มีอยู่หรือ ฯ
     สา. มี ขอรับ ฯ

     น.  ดูกรสาฬหะและโรหนะ ความข้อนี้เรากล่าวว่า อวิชชา บุคคลผู้หลง ตกอยู่ในอำนาจอวิชชานี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้ สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ สิ้นกาลนาน บุคคลผู้หลง ย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้ ฯ
     สา. จริงอย่างนั้น ขอรับ ฯ
-----------------------------------------------------------------------------------------

     น.  ดูกรสาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน  ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล หรือ เป็นอกุศล ฯ
     สา. เป็นอกุศล ขอรับ ฯ

     น.  มีโทษหรือไม่มีโทษ ฯ
     สา. มีโทษ ขอรับ ฯ

     น.  ท่านผู้รู้ติเตียนหรือท่านผู้รู้ สรรเสริญ ฯ
     สา. ท่านผู้รู้ติเตียน ขอรับ ฯ

     น.  ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์หรือหาไม่ ในข้อนี้ ท่านทั้งหลายมีความเห็นอย่างไร ฯ
     สา. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ในข้อนี้ ผมมีความเห็นอย่างนี้ ฯ
-----------------------------------------------------------------------------------------

     น.  ดูกรสาฬหะและโรหนะ เราได้กล่าวคำใดไว้ว่า ดูกรสาฬหะและโรหนะ มาเถอะท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยิน ได้ฟังมา ..อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา เมื่อใดท่านทั้งหลาย พึงรู้ ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็น อกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ ติเตียน ธรรมเหล่านี้ผู้ใดสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ เมื่อนั้นท่านทั้งหลายควรละธรรมเหล่านี้เสียดังนี้ เพราะอาศัย คำ ที่ได้กล่าวไว้แล้ว ฉะนั้น เราจึงได้กล่าวไว้ดังนี้

     ดูกรสาฬหะและโรหนะ มาเถอะท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่ายึดถือ ตาม ถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา ... อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่า สมณะนี้เป็นครูของเรา เมื่อใดท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็น กุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ผู้ใดสมาทานให้บริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เมื่อนั้นท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่
-----------------------------------------------------------------------------------------

     ดูกรสาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ความไม่โลภ มีอยู่หรือ ฯ
     สา. มี ขอรับ ฯ

     น.  ดูกรสาฬหะและโรหนะ ความข้อนี้เรากล่าวว่า อนภิชฌาบุคคลผู้ไม่โลภ ไม่มากด้วยความอยากได้นี้ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้ ไม่พูดเท็จ  สิ่งใด ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน บุคคลผู้ไม่โลภย่อม ชักชวน ผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น ฯ
     สา. จริงอย่างนั้น ขอรับ ฯ
-----------------------------------------------------------------------------------------

     น.  ดูกรสาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ความไม่โกรธมีอยู่หรือ ฯ
     สา. มี ขอรับ ฯ

     น.  ดูกรสาฬหะและโรหนะ ความข้อนี้เรากล่าวว่า ความไม่พยาบาทบุคคล ผู้ไม่โกรธ มีจิตใจไม่พยาบาทนี้ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้ ไม่พูดเท็จ สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน บุคคลผู้ไม่โกรธ ย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น ฯ
     สา. จริงอย่างนั้น ขอรับ ฯ
-----------------------------------------------------------------------------------------

     น.  ดูกรสาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน ความไม่หลง มีอยู่หรือ ฯ
     สา. มี ขอรับ ฯ

     น.  ดูกรสาฬหะและโรหนะ ความข้อนี้เรากล่าวว่า วิชชา  บุคคลผู้ไม่หลงถึง ความรู้แจ้งนี้ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้ ไม่พูดเท็จ สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุขสิ้นกาลนาน บุคคลผู้ไม่หลง ย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อ ความเป็นอย่างนั้น ฯ
     สา. จริงอย่างนั้น ขอรับ ฯ
-----------------------------------------------------------------------------------------

     น.  ดูกรสาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน 
ธรรม เหล่านี้เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล ฯ
     สา. เป็นกุศล ขอรับ ฯ

     น.  มีโทษหรือไม่มีโทษ ฯ
     สา. ไม่มีโทษ ขอรับ ฯ

     น.  ท่านผู้รู้ติเตียนหรือท่านผู้รู้สรรเสริญ ฯ
     สา. ท่านผู้รู้สรรเสริญ ขอรับ ฯ

     น.  ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข หรือไม่เล่า ในข้อนี้ ท่านทั้งหลายมีความเห็นอย่างไร ฯ
     สา. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ขอรับ ในข้อนี้ ผมมีความเห็นเช่นนี้ ฯ

     น.  ดูกรสาฬหะและโรหนะ เราได้กล่าวคำใดไว้ว่า ดูกรสาฬหะและโรหนะ มาเถอะท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา อย่าได้ยึดถือถ้อยคำสืบๆ กันมา อย่าได้ยึดถือโดยความตื่นข่าวว่า เขาว่าอย่างนี้ อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา อย่าได้ยึดถือโดยนึกเดาเอาเอง อย่าได้ยึดถือโดยคาด คะเน อย่าได้ยึดถือโดยความตรึกตามอาการ อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่าต้องกัน กับทิฐิของตัว อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่า ผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ อย่าได้ยึดถือโดย ความนับถือว่า สมณะนี้เป็นครูของเรา

     เมื่อใด ท่านทั้งหลาย พึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ผู้ใดสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อม เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรม เหล่านั้นอยู่ ดังนี้ เพราะอาศัยคำที่ได้กล่าวไว้แล้วนั้น  ฉะนั้น เราจึงได้กล่าวไว้ดังนี้

     ดูกรสาฬหะและโรหนะ อริยสาวกนั้น ปราศจากความโลภ ปราศจากความ พยาบาท ไม่หลงแล้วอย่างนี้ มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคง มีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลกทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอัน ประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่

มีใจประกอบด้วยกรุณา ...
มีใจประกอบด้วยมุทิตา ...
มีใจประกอบด้วยอุเบกขา
แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่างเบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วย อุเบกขา อันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่

พระอริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ขันธ์ ๕ นี้มีอยู่ ธรรมชาติชนิดทรามมีอยู่ ธรรมชาติชนิดประณีต มีอยู่ การที่สัญญานี้สลัดสังขารทุกข์ เสียได้อย่างสูง มีอยู่ เมื่อเธอรู้เห็น อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จาก ภวาสวะ แม้จาก อวิชชาสวะ

เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี

เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า
เมื่อก่อนเรามีโลภะ ข้อนั้นเป็นการไม่ดี
บัดนี้ โลภะนั้นไม่มี ความไม่มีโลภะเป็นความดี

เมื่อก่อนเรามีโทสะ ...เมื่อก่อนเรามีโมหะ
ข้อนั้นเป็นการไม่ดี
บัดนี้ โมหะนั้นไม่มี ความไม่มีโมหะนั้นเป็นความดี

เธอย่อมเป็นผู้ไม่มีความทะยานอยาก ดับสนิท เยือกเย็น เสวยสุข
มีตนเป็นประหนึ่งพรหมอยู่ในปัจจุบัน ฯ






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์