เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 ฉันนสูตร ฉันนปริพาชก เข้าหาพระอานนท์ ถามเรื่อง การละราคะ โทสะ โมหะ 1268
 

(โดยย่อ)

ฉันนสูตร
(ฉันนปริพาชก เข้าหาพระอานนท์)

ละราคะ .. บุคคลผู้ถูกความกำหนัดครอบงำจิตไว้
1. เขาย่อมคิด เพื่อจะเบียดเบียนตนเองบ้าง ผู้อื่นบ้าง ทั้งตนเองและผู้อื่น เขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส
เมื่อละราคะได้แล้ว ย่อมไม่คิดเบียดเบียน... เขาย่อมไม่เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิต
2. เขาย่อมประพฤติทุจริต ด้วยกาย วาจา ใจ เมื่อละราคะได้ ย่อมไม่ประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ
3. เขาย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ทั้งตนเองและผู้อื่นตามความเป็นจริง เมื่อละราคะ ได้แล้ว ย่อมรู้แม้ซึ่งประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ทั้งตนเองและผู้อื่น ตามความเป็นจริง 4.เขาย่อมคนไร้จักษุ ทำให้ไม่รู้อะไร ทำปัญญาให้ดับ คับแค้นใจ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน

การละโทหะ ละโมหะ ก็ทำนองเดียวกันกับการละราคะ
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฉันนะ  ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาปฏิปทาเพื่อละ ราคะ โทสะ โมหะ นั้นมีหรือ
อานนท์ มรรคาปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ โมหะ นั้นมีอยู่

ฉันนะ  ก็มรรคาปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ โมหะนั้นเป็นไฉน
อานนท์ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แหละ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ  สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ ...

ฉันนะ  ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ โมหะนั้นดี และสมควร เพื่อความไม่ประมาท

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๐๔


ฉันนสูตร


         [๕๑๑] ๗๒. สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ฉันนปริพาชก ได้ไปหา ท่านพระอานนท์ ยังที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์ ครั้นผ่านการ ปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะ ท่านพระอานนท์ว่า

ดูกรท่านพระอานนท์ ท่านทั้งหลาย บัญญัติการละราคะ บัญญัติการละโทสะ บัญญัติ การละโมหะหรือ ท่านพระอานนท์ตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เราบัญญัติการละราคะ บัญญัติการละโทสะ บัญญัติการละโมหะ

ฉ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็ท่านทั้งหลาย
เห็นโทษในราคะอย่างไร จึงบัญญัติการ ละราคะ
เห็นโทษในโทสะอย่างไร จึงบัญญัติการ ละโทสะ
เห็นโทษในโมหะอย่างไร จึงบัญญัติการ ละโมหะ


อา. ดูกรท่านผู้มีอายุ

ละราคะ
บุคคลผู้กำหนัดถูกความกำหนัดครอบงำรัดรึงจิตไว้ ย่อมคิด เพื่อจะเบียดเบียน ตนเองบ้าง คิดเพื่อจะเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง คิดเพื่อจะเบียดเบียน ตนเองและผู้อื่น ทั้งสองฝ่ายบ้าง เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิตบ้าง เมื่อละราคะ ได้แล้ว ย่อมไม่ คิด เพื่อจะเบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิด เพื่อจะเบียดเบียน ตนเอง และผู้อื่นทั้งสองฝ่าย ไม่เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิต

บุคคลผู้กำหนัด ถูกความกำหนัดครอบงำรัดรึงจิตไว้ ย่อมประพฤติทุจริตด้วย กาย ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ประพฤติทุจริตด้วยใจ เมื่อละราคะได้แล้ว ย่อมไม่ ประพฤติ ทุจริตด้วยกาย ไม่ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ไม่ประพฤติทุจริตด้วยใจ

บุคคลผู้กำหนัด อันความกำหนัดครอบงำ รัดรึงจิตไว้ ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ ตน ตามความเป็นจริง ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่น ตามความเป็นจริง ย่อมไม่รู้แม้ ซึ่ง ประโยชน์ตน และผู้อื่น ทั้งสองฝ่าย ตามความเป็นจริง เมื่อละราคะได้แล้ว ย่อมรู้ แม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง ย่อมรู้แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่นตามความ เป็นจริง ย่อมรู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนและผู้อื่น ตามความเป็นจริง

ความกำหนัดแล ทำให้เป็นคนมืด ทำให้เป็นคนไร้จักษุ ทำให้ไม่รู้อะไร ทำปัญญา ให้ดับ เป็นไปในฝ่ายความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน

ละโมหะ
บุคคลผู้ดุร้าย ฯลฯ บุคคลผู้หลง ถูกความหลง ครอบงำ รัดรึงจิตไว้ ย่อมคิด เพื่อ จะเบียดเบียนตนเองบ้าง คิดเพื่อจะเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง คิดเพื่อจะเบียดเบียน ตนเอง และผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิตบ้าง เมื่อละ โมหะได้แล้ว ย่อมไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อจะ เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่นทั้งสองฝ่าย ไม่เสวยทุกข์โทมนัส ที่เป็นไป ทางจิต

บุคคลผู้หลง ถูกความหลงครอบงำ รัดรึงจิตไว้ ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย ย่อม ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ย่อมประพฤติทุจริตด้วยใจ เมื่อละโมหะได้แล้ว ย่อมไม่ ประพฤติทุจริตด้วยกาย ไม่ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ไม่ประพฤติทุจริตด้วยใจ

บุคคลผู้หลง ถูกความหลงครอบงำจิตรัดรึงจิตไว้ ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ตน ตามความ เป็นจริง ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่น ตามความเป็นจริง ย่อมไม่รู้แม้ซึ่ง ประโยชน์ตน และผู้อื่นทั้งสองฝ่าย ตามความเป็นจริง เมื่อละโมหะได้แล้ว ย่อมรู้แม้ ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง ย่อมรู้แม้ซึ่ง ประโยชน์ ผู้อื่นตามความเป็นจริง ย่อมรู้แม้ซึ่งประโยชน์ตน และผู้อื่นทั้งสองฝ่าย ตามความเป็นจริง ไม่หลง และ ทำให้เป็นคนมืด ทำให้เป็นคนไร้จักษุ ทำให้ไม่รู้อะไร ทำปัญญาให้ดับ เป็นไปใน ฝ่ายความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน

ละโทสะ

ดูกรผู้มีอายุ เรา
เห็นโทษในราคะเช่นนี้แล จึงบัญญัติการละราคะ
เห็นโทษในโทสะ เช่นนี้ จึงบัญญัติการละโทสะ
เห็นโทษในโมหะเช่นนี้แล จึงบัญญัติการละโมหะ


ฉ.  ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาปฏิปทาเพื่อละ ราคะ โทสะ โมหะ นั้นมีหรือ ฯ
อา. มรรคาปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ โมหะนั้นมีอยู่ ฯ
ฉ.  ก็มรรคาปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ โมหะนั้นเป็นไฉน ฯ

อา. อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แหละ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ  สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ดูกรท่านผู้มีอายุ นี้แล มรรคาปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ โมหะ นั้น ฯ
ฉ.  ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ โมหะนั้นดี และสมควร เพื่อความไม่ประมาท ฯ






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์