เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 สรภสูตร ปริพาชก สรภะ พูดในบริษัทว่าธรรมของพระตถาคต เรารู้ทั่วถึงแล้ว 1266
 

(โดยย่อ)

ปริพาชก สรภะ พูดในบริษัท ณ พระนคร ราชคฤห์ ว่าธรรมของพระตถาคต เรารู้ทั่วถึงแล้ว เพราะรู้ทั่วถึงแล้ว เราจึงได้หลีกมาเสีย ....

พระผู้มีพระภาคตรัสถาม ว่าจริงหรือ สรภปริพาชกกลับนิ่งเสีย พ.ได้ตรัสกะ สรภปริพาชก เป็นครั้งที่ ๒ ว่า จงพูดเถิดสรภะ ธรรมของพวกสมณศากยบุตร ท่านรู้ ทั่วถึงแล้วว่าอย่างไร ถ้าความรู้ทั่วถึงของท่าน จักยังไม่บริบูรณ์ เราก็จักช่วยทำให้บริบูรณ์ ถ้าความรู้ของท่านจัก บริบูรณ์ เราก็จักอนุโมทนา แม้ครั้งที่ ๑ ๒ ๓ สรภปริพาชก ก็ได้นิ่งเสีย สรภปริพาชก นั่งนิ่ง เก้อ คอตก หน้าคว่ำ ซบเซา หมดปฏิภาณ ...

ดูกรปริพาชกทั้งหลาย ผู้ใดแล พึงกล่าวกะเราอย่างนี้ว่า ท่านผู้ปฏิญาณตนว่า เป็นพระสัมมา สัมพุทธเจ้า ยังไม่ได้ตรัสรู้ธรรมเหล่านี้ เราพึงไต่ถามซักไซร้ไล่เลียงผู้นั้น ในธรรมนั้นได้เป็นอย่างดี

ผู้นั้นแล เมื่อถูกเราไต่ถามซักไซร้ไล่เลียงเป็นอย่างดี จะไม่พึงถึงฐานะ ๓ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
๑) พูดกลบเกลื่อนเสีย หรือ พูดนอกเรื่องนอกราว
๒) ทำความโกรธ ความขัดเคือง และความเสียใจให้ปรากฏ
๓) นั่งนิ่ง เก้อ คอตก หน้าคว่ำ ซบเซา หมดปฏิภาณ เหมือนกับสรภปริพาชก ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๑๗๖

สรภสูตร
ปริพาชก สรภะ พูดในบริษัท ณ กรุงราชคฤห์ ว่าธรรมของพระตถาคต เรารู้ทั่วถึงแล้ว เราจึงได้หลีกมาเสีย


            [๕๐๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เขาคิชฌกูฏใกล้พระนคร ราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล ปริพาชกชื่อ สรภะ หลีกไปจากธรรมวินัยนี้ไม่นาน เขาพูดใน บริษัท ณ พระนคร ราชคฤห์อย่างนี้ว่า ธรรมของพวกสมณศากยบุตร (พระพุทธเจ้า) เรารู้ทั่วถึงแล้ว ก็แหละเพราะรู้ธรรมของพวกสมณศากยบุตรทั่วถึงแล้ว เราจึงได้หลีก มาเสีย ถ้ามิเช่นนั้นเราก็จะไม่หลีกมาจากธรรมวินัยนั้นเลย
.....

ลำดับนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นเที่ยวบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์ เวลาหลังอาหาร กลับจากบิณฑบาตแล้ว ได้พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้ว กราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญปริพาชก ชื่อสรภะ ได้หลีกไปจากธรรมวินัยนี้ไม่นาน เขาพูดใน บริษัท ณ พระนครราชคฤห์อย่างนี้ว่า ธรรมของพวกสมณศากยบุตรเรารู้ทั่วถึงแล้ว ก็เพราะรู้ธรรมของพวกสมณศากยบุตร ทั่วถึงแล้ว เราจึงได้หลีกมาเสีย ถ้ามิเช่นนั้น เราก็จะไม่หลีกมาจากธรรมวินัยนั้นเลย

ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาสขอพระผู้มีพระภาค จงทรงพระกรุณา เสด็จไปหาสรภปริพาชก ยังปริพาชการาม ฝั่งแม่น้ำสัปปินีเถิด พระผู้มีพระภาคทรง รับด้วยดุษณีภาพ

ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็นพระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่พักผ่อน เสด็จไปหา สรภปริพาชก ยังปริพาชการาม ฝั่งแม่น้ำสัปปินี ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูไว้ ครั้นแล้ว ตรัสถาม สรภปริพาชก ว่า ดูกรสรภะ ท่านพูดว่าธรรมของพวกสมณศากยบุตร เรารู้ทั่วถึงแล้ว ก็แหละเพราะรู้ธรรม ของพวกสมณศากยบุตรทั่วถึงแล้ว เราจึงได้ หลีกมาเสีย ถ้ามิเช่นนั้น เราก็จะไม่หลีกมาจากธรรมวินัยนั้น ดังนี้ จริงหรือ

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามเช่นนั้น สรภปริพาชกได้นิ่งเสีย พระผู้มีพระภาค ได้ตรัส กะสรภปริพาชกเป็นครั้งที่ ๒ ว่า จงพูดเถิดสรภะ ธรรมของพวกสมณศากยบุตร ท่านรู้ ทั่วถึงแล้วว่าอย่างไร ถ้าความรู้ทั่วถึงของท่าน จักยังไม่บริบูรณ์ เราก็จักช่วย ทำให้บริบูรณ์ ถ้าความรู้ของท่านจักบริบูรณ์ เราก็จักอนุโมทนา แม้ครั้งที่ ๒ สรภปริพาชก ก็ได้นิ่งเสีย แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรสรภะ ธรรมของพวกสมณศากยบุตร เราบัญญัติไว้ จงพูดเถิดสรภะ ธรรมของ พวกสมณศากยบุตร ท่านรู้ทั่วถึงแล้วว่าอย่างไร ถ้าความรู้ทั่วถึงของท่านจักยังไม่ บริบูรณ์ เราก็จักช่วยทำให้บริบูรณ์ ถ้าความรู้ทั่วถึงของท่านจักบริบูรณ์ เราก็จัก อนุโมทนา แม้ครั้งที่ ๓ สรภปริพาชกก็ได้นิ่งเสีย ครั้งนั้นแล ปริพาชกพวกนั้น ได้กล่าวกะสรภปริพาชกว่า

ดูกรอาวุโสสรภะ พระสมณโคดม ทรงประทานโอกาสแก่ท่าน ทุกคราวที่เธอ ขอพระองค์ท่าน จงพูดเถิดอาวุโสสรภะ ธรรมของพวกสมณศากยบุตร ท่านรู้ทั่วถึง แล้วอย่างไร ถ้าความรู้ทั่วถึงของท่านจักยังไม่บริบูรณ์ พระสมณโคดมก็จักช่วยทำ ให้บริบูรณ์ แต่ถ้าความรู้ทั่วถึงของท่านจักบริบูรณ์ พระสมณโคดมก็จักอนุโมทนา

เมื่อปริพาชกเหล่านั้นได้พูดเช่นนี้แล้ว สรภปริพาชกนั่งนิ่ง เก้อ คอตก หน้าคว่ำ ซบเซา หมดปฏิภาณ ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า สรภปริพาชกนั่งนิ่ง เก้อ คอตก หน้าคว่ำ ซบเซา หมดปฏิภาณ จึงได้ตรัสกะปริพาชกเหล่านั้นว่า

-----------------------------------------------------------------------------------
ดูกรปริพาชกทั้งหลาย

ผู้ใดแล พึงกล่าวกะเราอย่างนี้ว่า ท่านผู้ปฏิญาณตนว่า เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังไม่ได้ตรัสรู้ธรรมเหล่านี้ เราพึงไต่ถามซักไซร้ไล่เลียงผู้นั้น ในธรรมนั้นได้เป็น อย่างดี

ผู้นั้นแล เมื่อถูกเราไต่ถามซักไซร้ไล่เลียงเป็นอย่างดี จะไม่พึงถึงฐานะ ๓ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
๑) พูดกลบเกลื่อนเสีย หรือ พูดนอกเรื่องนอกราว
๒) ทำความโกรธ ความขัดเคือง และความเสียใจให้ปรากฏ
๓) นั่งนิ่ง เก้อ คอตก หน้าคว่ำ ซบเซา หมดปฏิภาณ เหมือนกับสรภปริพาชก

ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส
-----------------------------------------------------------------------------------

ดูกรปริพาชกทั้งหลาย
ผู้ใดแล พึงกล่าวกะเราเช่นนี้ว่า ท่านผู้ปฏิญาณตนว่า เป็น พระขีณาสพ มีอาสวะ เหล่านี้ ยังไม่สิ้นแล้ว เราพึงไต่ถามซักไซร้ไล่เลียงผู้นั้น ในเรื่องอาสวะนั้นได้เป็น อย่างดี---

ผู้นั้นแล เมื่อถูกเราไต่ถาม ซักไซร้ไล่เลียง เป็นอย่างดี เขาจะไม่พึงถึงฐานะ ๓ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
พูดกลบเกลื่อนเสีย หรือพูดนอกเรื่องนอกราว ๑
ทำความโกรธ ความขัดเคือง และความเสียใจให้ปรากฏ ๑
นั่งนิ่ง เก้อ คอตก  หน้าคว่ำซบเซา หมดปฏิภาณ เหมือนกับสรภปริพาชก ๑

ข้อนี้มิใช่ฐานะไม่ใช่โอกาส
-----------------------------------------------------------------------------------

ดูกรปริพาชกทั้งหลาย
ผู้ใดแล พึงกล่าวกะเราเช่นนี้ว่า ก็ท่านแสดงธรรม เพื่อประโยชน์อันใด ธรรมที่ท่าน แสดงแล้วนั้น ไม่นำออกเพื่อความสิ้นทุกข์ โดยชอบ แก่ผู้ทำ ตามได้จริง เราพึงไต่ถาม ซักไซ้ไล่เลียงผู้นั้น ในเรื่องนั้นได้เป็นอย่างดี

ผู้นั้นแล เมื่อถูกเราไต่ถาม ซักไซร้ ไล่เลียงเป็นอย่างดีจะไม่พึงถึงฐานะ ๓ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
พูดกลบเกลื่อนเสีย หรือพูดนอกเรื่องนอกราว ๑
ทำความโกรธ ความขัดเคือง และความเสียใจให้ปรากฏ ๑
นั่งนิ่ง เก้อ คอตก หน้าคว่ำ ซบเซา หมดปฏิภาณ เหมือนกับสรภปริพาชก ๑

ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส
-----------------------------------------------------------------------------------

     ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ทรงบันลือสีหนาท ณ ปริพาชการาม ฝั่งแม่น้ำ สัปปินี ๓ ครั้ง แล้วเสด็จไปสู่เวหาส

ลำดับนั้น พวกปริพาชกนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาค เสด็จไปแล้วไม่นาน ต่างช่วยกันเอา ปฏัก คือ วาจาทิ่มแทงสรภปริพาชก รอบข้างว่า

ดูกรสรภะ สุนัขจิ้งจอกแก่ในป่าใหญ่ คิดว่า จักบันลือสีหนาท มันคงบันลือเป็นสุนัข จิ้งจอกอยู่นั่นเอง บันลือไม่ต่างสุนัขจิ้งจอกไปได้เลย แม้ฉันใด ตัวเธอก็ฉันนั้น เหมือนกัน คิดว่า นอกจากพระสมณโคดม เราก็บันลือสีหนาทได้ บันลือได้เหมือน สุนัขจิ้งจอก บันลือไม่ต่างสุนัขจิ้งจอกไปได้เลย 

ดูกรสรภะ ลูกไก่ตัวเมีย คิดว่า จักขันให้เหมือนพ่อไก่ มันคงขันได้อย่างลูกไก่ตัวเมีย อยู่นั่นเอง แม้ฉันใดตัวท่าน ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล คิดว่า นอกจากพระสมณโคดม เราจักขันได้เหมือนพ่อไก่ แต่ก็ขันได้เหมือนลูกไก่ตัวเมียอยู่นั้นเอง

ดูกรสรภะ โค ผู้ย่อมเข้าใจว่า ในโรงโคที่ว่างเปล่า ตนต้องบันลือได้อย่างลึกซึ้ง แม้ฉันใด ตัวท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเข้าใจว่า นอกจากพระสมณโคดม ตนต้อง บันลือได้อย่างลึกซึ้ง ครั้งนั้นแล ปริพาชกพวกนั้นต่างช่วยกันเอาปฏักคือ วาจา ทิ่มแทงสรภปริพาชกรอบข้าง ฯ






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์