พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๕๐
นิทานสูตรที่ ๒
[๕๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ธรรมชาติ ๓ อย่างนี้ เป็นเหตุให้เกิดกรรม ๓ อย่างเป็นไฉน คือ
ความพอใจย่อมเกิด เพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง ฉันทราคะ ในอดีต ๑
ความพอใจย่อมเกิด เพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง ฉันทราคะ ในอนาคต ๑
ความพอใจย่อมเกิด เพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง ฉันทราคะ ในปัจจุบัน ๑
(ความพอใจย่อมเกิด ในที่ตั้งแห่ง ฉันทราคะในอดีต)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความพอใจย่อมเกิด เพราะปรารภธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่ง ฉันทราคะในอดีต อย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง ฉันทราคะในอดีต ตรึกตรอง ตามด้วยใจ เมื่อเขาปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง ฉันทราคะในอดีต
ตรึกตรองตาม อยู่ด้วยใจ ย่อมเกิดความพอใจ ผู้ที่เกิดความพอใจแล้ว ย่อมประกอบด้วย ธรรม เหล่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความกำหนัดแห่งใจนั้น ว่าเป็นสังโยชน์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพอใจย่อมเกิด เพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง ฉันทราคะในอดีตอย่างนี้แล
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(ความพอใจย่อมเกิด ในที่ตั้งแห่ง ฉันทราคะในอนาคต)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความพอใจย่อมเกิด เพราะปรารภธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่ง ฉันทราคะในอนาคต อย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลปรารภธรรม อันที่ตั้งแห่ง ฉันทราคะในอนาคต ตรึกตรอง ตามด้วยใจ เมื่อเขาปรารภธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่ง ฉันทราคะในอนาคต
ตรึกตรอง ตามอยู่ด้วยใจ ย่อมเกิดความพอใจ ผู้ที่เกิดความพอใจแล้ว ย่อมประกอบด้วย ธรรมเหล่านั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความกำหนัดแห่งใจนั้น ว่าเป็นสังโยชน์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพอใจย่อมเกิดเพราะปรารภธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่ง ฉันทราคะในอนาคต อย่างนี้แล
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(ความพอใจย่อมเกิด ในที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความพอใจย่อมเกิดเพราะปรารภธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่ง ฉันทราคะในปัจจุบัน อย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลปรารภธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่ง ฉันทราคะในปัจจุบัน ตรึกตรองตามด้วยใจ เมื่อเขาปรารภธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่ง ฉันทราคะในปัจจุบัน ตรึกตรองตามอยู่ด้วยใจ ย่อมเกิดความพอใจ ผู้ที่เกิดความพอใจแล้ว ย่อมประกอบ ด้วยธรรมเหล่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความกำหนัดแห่งใจนั้น ว่าเป็นสังโยชน์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพอใจย่อมเกิดเพราะปรารภธรรม อันเป็นที่ ตั้งแห่ง ฉันทราคะในปัจจุบัน อย่างนี้แล
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(ในทางตรงกันข้าม)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๓ อย่างนี้แลเป็นเหตุให้เกิดกรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลายธรรมชาติ ๓ อย่างนี้เป็นเหตุให้เกิดกรรม ๓ อย่างเป็นไฉน คือ
ความพอใจย่อมไม่เกิดเพราะปรารภธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีต ๑
ความพอใจย่อมไม่เกิดเพราะปรารภธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอนาคต ๑
ความพอใจย่อมไม่เกิด เพราะปรารภธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความพอใจ ย่อมไม่เกิด เพราะปรารภธรรม อันเป็นที่ตั้ง แห่ง ฉันทราคะในอดีต อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้ชัดซึ่งวิบากต่อไปของธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะ ในอดีต ครั้นแล้วละเว้นวิบากนั้นเสีย ครั้นแล้วฟอกด้วย ใจ เห็นตลอดด้วยปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพอใจย่อมไม่เกิด เพราะปรารภ ธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่ง ฉันทราคะ ในอดีต อย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความพอใจย่อมไม่เกิดเพราะปรารภธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่ง ฉันทราคะในอนาคต อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้ชัดซึ่งวิบากต่อไป ของธรรม อันเป็นที่ตั้งฉันทราคะในอนาคต ครั้นแล้วละเว้นวิบากนั้นเสีย ครั้นแล้ว ฟอกด้วยใจ เห็นตลอดด้วยปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพอใจย่อมไม่เกิด เพราะปรารภธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่ง ฉันทราคะ ในอนาคต อย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความพอใจย่อมไม่เกิดเพราะ ปรารภธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่ง ฉันทราคะในปัจจุบัน อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้ชัดซึ่งวิบากต่อไปของ ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะ ในปัจจุบัน ครั้นแล้วละเว้นวิบากนั้นเสีย ครั้นแล้ว ฟอกด้วยใจ เห็นตลอดด้วยปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพอใจย่อมไม่เกิด เพราะปรารภ ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง ฉันทราคะ ในปัจจุบัน อย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๓ อย่างนี้แล เป็นเหตุให้เกิดกรรม ฯ |