พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๔๙
นิทานสูตรที่ ๑
[๕๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๓ อย่างนี้เป็นเหตุให้เกิด กรรม ๓ อย่าง เป็นไฉน คือ โลภะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมใดซึ่งบุคคลทำด้วยความโลภ เกิดแต่ความโลภ มีความโลภ เป็นเหตุมีความโลภเป็นแดนเกิด กรรมนั้นเป็นอกุศล กรรมนั้นมีโทษ กรรมนั้นมีทุกข์เป็นผล กรรมนั้นเป็นไปเพื่อเกิดกรรมต่อไป กรรมนั้นไม่เป็นไป เพื่อความดับกรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมใดซึ่งบุคคลทำด้วยความโกรธ เกิดแต่ความโกรธ มีความโกรธ เป็นเหตุ มีความโกรธเป็นแดนเกิด กรรมนั้นเป็นอกุศลกรรมนั้นมีโทษ กรรมนั้น มีทุกข์ เป็นผล กรรมนั้นเป็นไปเพื่อเกิดกรรมต่อไป กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อ ความดับกรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมใดซึ่งบุคคลทำด้วยความหลง เกิดแต่ความหลง มีความหลง เป็นเหตุ มีความหลงเป็นแดนเกิด กรรมนั้นเป็นอกุศล กรรมนั้นมีโทษ กรรมนั้นมีทุกข์ เป็นผลกรรมนั้น เป็นไปเพื่อเกิดกรรมต่อไป กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อความดับกรรม
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(ในทางตรงกันข้าม)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๓ อย่างนี้ เป็นเหตุเพื่อให้เกิดกรรม ๓ อย่าง เป็นไฉน คือ อโลภะ ๑ อโทสะ ๑ อโมหะ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมใดซึ่งบุคคลทำด้วยความไม่โลภ เกิดแต่ความไม่โลภ มีความไม่โลภเป็นเหตุ มีความไม่โลภเป็นแดนเกิด กรรมนั้น เป็นกุศลกรรมนั้น ไม่มีโทษ กรรมนั้นมีสุขเป็นผล กรรมนั้นเป็นไปเพื่อความดับกรรม กรรมนั้น ไม่เป็นไป เพื่อเกิดกรรมต่อไป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมใดซึ่งบุคคลทำ ด้วยความไม่โกรธ เกิดแต่ความไม่โกรธ มีความไม่โกรธเป็นเหตุ มีความไม่โกรธเป็นแดนเกิด กรรมนั้นเป็นกุศล กรรมนั้น ไม่มีโทษ กรรมนั้นมีสุขเป็นผล กรรมนั้นเป็นไปเพื่อความดับกรรม กรรมนั้นไม่เป็นไป เพื่อเกิดกรรมต่อไป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมใดที่บุคคลทำด้วยความไม่หลง เกิดแต่ความไม่หลง มีความ ไม่หลงเป็นเหตุ มีความไม่หลงเป็นแดนเกิด กรรมนั้นเป็นกุศล กรรมนั้นไม่มีโทษ กรรมนั้นมีสุขเป็นผลกรรมนั้น เป็นไปเพื่อความดับกรรม กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อเกิดกรรม ต่อไป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๓ อย่างนี้แล เป็นเหตุให้เกิดกรรม ฯ
-------------------------------------------------------------------------
ศึกษาต่อ(เนื่อง)
ธรรมชาติ ๓ อย่างนี้ เป็นเหตุให้เกิดกรรม ๓ อย่างเป็นไฉน P1254 |