เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  ของน่าอัศจรรย์ ๔ อย่าง ที่ไม่เคยมี จากการบังเกิดของพระตถาคต 1244
 

(โดยย่อ)

ของน่าอัศจรรย์ ๔ อย่าง ที่ไม่เคยมี จากการบังเกิดของพระตถาคต

๑. ประชาชนพอใจในกามคุณครั้นตถาคตแสดง ธรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับกามคุณ ประชาชนเหล่านั้น ก็ฟัง เงี่ยหูฟัง นี่คือ ของน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี อย่างที่หนึ่ง

๒. ประชาชนพอใจในการถือตัว ครั้นตถาคตแสดง ธรรมที่กำจัดการถือตัว ประชาชนเหล่านั้นก็ฟัง เงี่ยหูฟัง นี่คือของน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี อย่างที่สอง

๓. ประชาชนพอใจในความวุ่นวายไม่สงบ ครั้นตถาคตแสดงธรรมที่เป็นไปเพื่อความสงบ ประชาชน เหล่านั้นก็ฟัง นี่คือของน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี อย่างที่สาม

๔. ประชาชนประกอบอยู่ด้วยอวิชชา เป็นคนบอด ถูกความครั้นตถาคตแสดง ธรรมที่กำจัดอวิชชา ประชาชน เหล่านั้นก็ฟัง นี่คือของน่า อัศจรรย์ ไม่เคยมี อย่างที่สี่



เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน


พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้าที่ ๘

ของน่าอัศจรรย์ ๔ อย่าง ที่ไม่เคยมี
จากการปรากฏของพระตถาคต

        ภิกษุ ท. !  การมาปรากฏของ บุคคลเอก (ไม่มีใครซ้ำสอง) มีได้ยากในโลก. ใครเล่า เป็นบุคคลเอก ? ตถาคต ผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ ชอบเอง เป็นบุคคลเอก (ไม่มีใครซ้ำสอง). ภิกษุ ท. ! การมาปรากฏของบุคคลเอกนี้แล มีได้ยากในโลก. โลกที่กำลัง มัวเมา ก็ยังสนใจในธรรมของพระตถาคต (๒) ภิกษุ ท. !  เพราะเหตุที่ ตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะเกิดขึ้น จึงเกิดมี ของน่าอัศจรรย์ไม่เคยมี สี่อย่างนี้ ปรากฏขึ้น.

สี่อย่างอะไรเล่า ?

๑. ภิกษุ ท. !  ประชาชนทั้งหลาย พอใจในกามคุณ ยินดีในกามคุณ บันเทิงอยู่ใน กามคุณ ครั้นตถาคตแสดง ธรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับกามคุณ ประชาชนเหล่านั้นก็ฟัง เงี่ยหูฟัง ตั้งใจฟัง เพื่อให้เข้าใจทั่วถึง. ภิกษุ ท. ! นี่คือ ของน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี อย่างที่หนึ่ง มีขึ้นมา เพราะการบังเกิดของตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ.

๒. ภิกษุ ท. ! 
ประชาชนทั้งหลาย พอใจในการถือตัว ยินดีในการถือตัวบันเทิงอยู่ ในการถือตัว ครั้นตถาคตแสดง ธรรมที่กำจัดการถือตัว ประชาชนเหล่านั้นก็ฟัง เงี่ยหูฟัง ตั้งใจฟัง เพื่อให้เข้าใจทั่วถึง. ภิกษุ ท. ! นี่คือของน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี อย่างที่สอง มีขึ้นมา เพราะการบังเกิดของตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ.

๓. ภิกษุ ท. !  ประชาชนทั้งหลาย พอใจในความวุ่นวายไม่สงบ ยินดีในความ วุ่นวายไม่สงบ บันเทิงอยู่ในความวุ่นวายไม่สงบ ครั้นตถาคตแสดง ธรรมที่เป็นไป เพื่อความสงบ ประชาชนเหล่านั้นก็ฟัง เงี่ยหูฟัง ตั้งใจฟัง เพื่อให้เข้าใจทั่วถึง. ภิกษุ ท. ! นี่คือของน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี อย่างที่สาม มีขึ้นมา ผู้อรหันตสัมมา สัมพุทธะ.

๔. ภิกษุ ท. !  ประชาชนทั้งหลาย ประกอบอยู่ด้วยอวิชชา เป็นคนบอด ถูกความมืด ครอบงำเอาแล้ว ครั้นตถาคตแสดง ธรรมที่กำจัดอวิชชา ประชาชน เหล่านั้นก็ฟัง เงี่ยหูฟัง ตั้งใจฟัง เพื่อให้เข้าใจทั่วถึง. ภิกษุ ท. !  นี่คือของน่า อัศจรรย์ ไม่เคยมี อย่างที่สี่ มีขึ้นมา เพราะการบังเกิดของตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ.

การมีธรรม ของพระตถาคตอยู่ในโลก คือความสุขของโลก (๑)

ภิกษุ ท. !  เมื่อพระสุคตก็ดี ระเบียบวินัยของพระสุคตก็ดี ยังคงมีอยู่ในโลกเพียงใด อันนั้นก็ยังเป็นไปเพื่อความเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขของชน เป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย อยู่เพียงนั้น.

ภิกษุ ท. !  พระสุคตนั้นคือใครเล่า ? คือตถาคตบังเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ผู้ตรัสรู้ชอบเอง ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถี ฝึกคน ควรฝึกไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว จำแนกธรรม ออกสอนสัตว์. นี้คือ พระสุคต.

ภิกษุ ท. !  ระเบียบวินัยของพระสุคตนั้นคืออะไรเล่า ?  คือตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด ประกาศพรหมจรรย์

๑.  บาลี เอก. อํ. ๒๐/๒๙/๑๔๐. ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย.
๒.  บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๗๗/๑๒๘. ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน.









พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์