เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  บุรพกรรมของการได้มหาปุริสลักขณะ(๓๒ ประการ) ของตถาคต 1245
 

(โดยย่อ)

บุรพกรรมของการได้มหาปุริสลักขณะ(๓๒ ประการ) ของตถาคต

1. ภิกษุ ท. ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ในภพที่อยู่อาศัยก่อน ได้เป็นผู้บากบั่นในกุศล ถือมั่นในการสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ในการบริจาคทาน การสมาทานศีล การรักษาอุโบสถ การ ปฎิบัติมารดาบิดา การปฏิบัติสมณพราหมณ์ การอ่อนน้อมต่อผู้เจริญในตระกูล และในอธิกุศลธรรมอื่น

2. เป็นผู้นำสุขมาให้ แก่มหาชน
3. เป็นผู้เว้นจากปาณาติบาต
4. เป็นผู้ให้ทานของควร เคี้ยว ควรบริโภค
5. สงเคราะห์ผู้อื่นด้วย สังคหวัตถุทั้งสี่
6. เป็นผู้กล่าววาจา ประกอบด้วย อรรถด้วยธรรม
7. เป็นผู้บอกศิลปะ วิทยา ข้อประพฤติ และลัทธิกรรม
8. เป็นผู้เข้าไปหาสมณ พราหมณ์
9. เป็นผู้ไม่มักโกรธ
10. เป็นผู้สมานญาติมิตร
11. รู้ได้สม่ำเสมอ รู้ได้เอง
12. เป็นผู้ใคร่ต่อประโยชน์
13. เป็นผู้ไม่เบียดเบียนสัตว์
14. เป็นผู้ไม่ถลึงตา
15. เป็นหัวหน้าของชน เป็นอันมาก
16. เป็นผู้ละเว้นจาก มุสาวาท พูดคำจริง
17. เป็นผู้ละเว้นวาจา ส่อเสียด
18. เป็นผู้ละเว้นการกล่าว คำหยาบ
19. เป็นผู้ละเว้นการพูด เพ้อเจ้อ
20. เป็นผู้ละมิจฉาชีพ มีการเลี้ยงชีพชอบ

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน


พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้าที่ ๓๓
บาลี ลักขณสูตร ปา. ที. ๑๑/๑๕๙-๑๙๓/๑๓๐-๑๗๑.



บุรพกรรมของการได้มหาปุริสลักขณะ ๑

 

        ....ภิกษุ ท. !  พวกฤาษีภายนอก จำมนต์มหาปุริสลักขณะได้ก็จริง แต่หารู้ไม่ว่า การที่มหาบุรุษได้ลักขณะอันนี้ ๆ เพราะทำกรรมเช่นนี้ ๆ

(ก) ภิกษุ ท. !  เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ในภพที่อยู่อาศัยก่อน ได้เป็น ผู้บากบั่นในกุศล ถือมั่นในการสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ในการบริจาคทาน การสมา ทานศีล การรักษาอุโบสถ การปฎิบัติมารดา บิดาการปฏิบัติสมณพราหมณ์ การ อ่อนน้อมต่อผู้เจริญในตระกูล และในอธิกุศลธรรมอื่น. เพราะได้กระทำ ได้สร้างสม ได้พอกพูน ได้มั่วสุมกรรมนั้น ๆ ไว้ ภายหลังแต่การตาย เพราะกายแตก ย่อมเข้าถึง สุคติโลกสวรรค์. ตถาคตนั้นถือเอายิ่งกว่าในเทพเหล่าอื่นโดย ฐานะ ๑๐ คือ อายุทิพย์ วรรณะทิพย์ สุขทิพย์ ยศทิพย์ อธิบดีทิพย์ รูปทิพย์ เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ สัมผัสทิพย์ ครั้นจุติจากภพ นั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหา ปุริสลักขณะข้อนี้คือ มีฝ่าเท้าเสมอ จดลงก็เสมอ ยกขึ้นก็เสมอ ฝ่าเท้า ถูกต้องพื้น พร้อมกัน... (ลักขณะที่ ๑) ย่อมเป็นผู้ไม่หวาดหวั่นต่อข้าศึก ทั้งภายใน และภายนอก คือราคะ โทสะ โมหะ ก็ตาม สมณะพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ก็ตาม ในโลกที่เป็นศัตรู.

(ข) ภิกษุ ท. !  เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน....๑ ได้เป็นผู้นำสุขมาให้ แก่มหาชน เป็นผู้บรรเทาภัยคือความสะดุ้งหวาดเสียว จัดการคุ้มครองรักษาโดย ธรรม ได้ถวายทานมีเครื่องบริวาร. เพราะได้กระทำ....กรรมนั้น ๆ ไว้....ครั้นมาสู่ความ เป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะข้อนี้คือ ภายใต้ฝ่าเท้ามีจักรทั้งหลาย เกิดขึ้น มีซี่ตั้งพัน พร้อมด้วยกงและดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง มีระยะ อันจัดไว้ ด้วยดี....(ลักขณะที่ ๒) ย่อมเป็นผู้มีบริวารมาก ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกอุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์  ย่อมเป็น บริวารของตถาคต.

(ค) ภิกษุ ท. !  เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน.... ได้เป็นผู้เว้นจากปาณา ติบาต วางแล้วซึ่งศาสตราและอาชญา มีความละอาย เอ็นดู กรุณาเกื้อกูลแก่สัตว์ มีชีวิตทั้งปวง.  เพราะ....กรรมนั้น ๆ....ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหา ปุริสลักขณะทั้ง ๓ ข้อนี้คือ  มีส้นยาว  มีข้อนิ้วยาว  มีกายตรงดุจกายพรหม.... (ลักขณะที่ ๓, ๔, ๑๕) ย่อมเป็นผู้มีชนมายุยืนยาวตลอดกาลนาน สมณะ หรือ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม ก็ตาม หรือใคร ๆ ที่เป็นศัตรู ไม่สามารถปลงชีวิต ตถาคตเสียในระหว่างได้.

(ฆ) ภิกษุ ท. !  เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน.... ได้เป็นผู้ให้ทานของควร เคี้ยว ควรบริโภค ควรลิ้ม ควรจิบ ควรดื่ม มีรสอันประณีต.  เพราะ ....กรรมนั้น ๆ....ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้แล้ว จึงได้มหาปุริสลักขณะข้อนี้ คือมีเนื้อนูน หนาในที่ ๗ แห่ง คือที่มือทั้งสอง ที่เท้าทั้งสอง ที่บ่าทั้งสอง และที่คอ.. (ลักขณะที่ ๑๖)  ย่อมได้ของควรเคี้ยว ควรบริโภค ควรลิ้ม ควรจิบ ควรดื่มอันมีรสประณีต.

(ง) ภิกษุ ท. !  เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน....ได้สงเคราะห์ผู้อื่นด้วย สังคหวัตถุทั้งสี่ คือ การให้สิ่งของ วาจาที่ไพเราะ การประพฤติประโยชน์ผู้อื่น และความมีตนเสมอกัน. เพราะ....กรรมนั้น ๆ....ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้แล้ว จึงได้มหาปุริสลักขณะ ๒ ข้อนี้คือ มีมือและเท้าอ่อนนุ่ม มีลายฝ่ามือฝ่าเท้าดุจ ตาข่าย .... (ลักขณะที่ ๕, ๖) ย่อมเป็นผู้สงเคราะห์บริษัท คือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ ย่อมได้รับความสงเคราะห์จากตถาคต.

(จ) ภิกษุ ท. !  เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน.... ได้เป็นผู้กล่าววาจา ประกอบด้วย อรรถด้วยธรรม แนะนำชนเป็นอันมาก เป็นผู้นำประโยชน์สุขมาให้แก่ ชนทั้งหลาย ตนเองก็เป็นผู้บูชาธรรม. เพราะ....กรรมนั้น ๆ....ครั้นมาสู่ความเป็น มนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะ ๒ ข้อนี้คือ มีข้อเท้าอยู่สูง มีปลายขนช้อนขึ้น ....(ลักขณะที่ ๗, ๑๔) ย่อมเป็นผู้เลิศประเสริฐเยี่ยมสูงกว่าสัตว์ทั้งหลาย.

(ฉ) ภิกษุ ท. !  เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน....ได้เป็นผู้บอกศิลปะ วิทยา ข้อประพฤติ และลัทธิกรรม ด้วยความเคารพ ด้วยหวังว่าสัตว์เหล่านั้นพึงรู้ได้รวดเร็ว พึงปฏิบัติได้รวดเร็ว ไม่พึงเศร้าหมองสิ้นกาลนาน. เพราะ....กรรมนั้น ๆ.... ครั้นมาสู่ ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะข้อนี้คือ มีแข้งดังแข้งเนื้อทราย (ลักขณะที่ ๘) ย่อมได้วัตถุอันควรแก่สมณะ เป็นองค์แห่งสมณะเป็นเครื่องอุปโภค แก่สมณะ โดยเร็ว.

(ช) ภิกษุ ท. !  เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน.... ได้เป็นผู้เข้าไปหาสมณ พราหมณ์ แล้วสอบถามว่า ‘ท่านผู้เจริญ ! อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล  อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ ทำอะไรไม่มีประโยชน์ เป็นทุกข์ ไปนาน ทำอะไรมีประโยชน์ เป็นสุขไปนาน’. เพราะ ....กรรมนั้น ๆ.... ครั้นมาสู่ความ เป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะข้อนี้คือมีผิวละเอียดอ่อน ธุลีไม่ติด อยู่ได้....(ลักขณะที่ ๑๒), ย่อมเป็นผู้มีปัญญาใหญ่ มีปัญญาหนาแน่น มีปัญญา เครื่องปลื้มใจ ปัญญาแล่น ปัญญาแหลม ปัญญาแทงตลอด ไม่มีสัตว์อื่นเสมอ หรือยิ่งไปกว่า. 

(ซ) ภิกษุ ท. !  เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน.... ได้เป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่มากไปด้วยความแค้น แม้ชนเป็นอันมาก ว่ากล่าวเอา ก็ไม่เอาใจใส่ ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่คุมแค้น ไม่แสดงความโกรธ ความร้ายกาจ ความเสียใจให้ปรากฏ. ทั้งเป็นผู้ให้ทานผ้าเปลือกไม้ ผ้าด้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ สำหรับลาดและนุ่งห่ม อันมีเนื้อละเอียดอ่อน. เพราะ....กรรมนั้น ๆ....ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะข้อนี้คือ มีกายดุจทอง มีผิวดุจทอง.... (ลักขณะที่ ๑๑) ย่อมเป็นผู้ได้ผ้าเปลือกไม้ ผ้าด้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ สำหรับลาดและห่ม มีเนื้อละเอียดอ่อน. 

(ฌ) ภิกษุ ท. !  เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน....ได้เป็นผู้สมานญาติมิตร สหายชาวเกลอ ผู้เหินห่างแยกกันไปนาน ได้สมานไมตรีมารดากับบุตร บุตรกับ มารดา บิดากับบุตร บุตรกับบิดา พี่น้องชายกับพี่น้องหญิง พี่น้องหญิงกับพี่น้องชาย ครั้นทำความสามัคคีแล้ว พลอยชื่นชมยินดีด้วย. เพราะ.... กรรมนั้น ๆ ....ครั้นมาสู่ ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะข้อนี้คือ มีคุยหฐาน (อวัยวะที่ลับ) ซ่อนอยู่ในฝัก.... (ลักขณะที่ ๑๐) ย่อมเป็นผู้มีบุตร (สาวก) มาก มีบุตรกล้าหาญ มีแววแห่งคนกล้า อันเสนาแห่งบุคคลอื่นจะย่ำยีมิได้ หลายพัน.

(ญ) ภิกษุ ท. !  เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน.... รู้ได้สม่ำเสมอ รู้ได้เอง รู้จักบุรุษธรรมดา และบุรุษพิเศษว่าผู้นี้ ควรแก่สิ่งนี้ ๆ ได้เป็นผู้ทำประโยชน์อย่าง วิเศษในชนชั้นนั้น ๆ. เพราะ ....กรรมนั้น ๆ....ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะ ๒ ข้อนี้ คือ มีทรวดทรงดุจต้นไทร ยืนตรงไม่ย่อกาย ลูบถึง เข่าได้ด้วยมือทั้งสอง.... (ลักขณะที่ ๑๙, ๙) ย่อมมั่งคั่งมีทรัพย์มาก มีโภคะมาก. ทรัพย์ของตถาคตเหล่านี้คือ ทรัพย์คือศรัทธา ทรัพย์คือศีล ทรัพย์คือหิริ ทรัพย์คือ โอตตัปปะ  ทรัพย์คือการศึกษา (สุตะ) ทรัพย์คือจาคะ ทรัพย์คือปัญญา.

(ฎ) ภิกษุ ท. ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน.... ได้เป็นผู้ใคร่ต่อประโยชน์ ใคร่ต่อความเกื้อกูล ใคร่ต่อความผาสุข ใคร่ต่อความเกษมจากโยคะแก่ชน เป็น อันมาก ว่า ไฉนชนเหล่านี้พึงเป็นผู้เจริญด้วยศรัทธา ด้วยศีล ด้วยการศึกษา ด้วยความรู้ ด้วยการเผื่อแผ่ ด้วยธรรม ด้วยปัญญา ด้วยทรัพย์และข้าวเปลือก ด้วยนาและสวน ด้วยสัตว์สองเท้าสี่เท้า ด้วยบุตรภรรยา ด้วยทาสกรรมกร และบุรุษ ด้วยญาติมิตรและพวกพ้อง. เพราะ....กรรมนั้น ๆ....ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะ ๓ ข้อนี้คือ มีกึ่งกายเบื้องหน้า ดุจสีหะ มีหลังเต็ม มีคอกลม... (ลักขณะที่ ๑๗, ๑๘, ๒๐) ย่อมเป็นผู้ไม่เสื่อมเป็นธรรมดาคือ ไม่เสื่อมจากศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ไม่เสื่อมจากสมบัติทั้งปวง.

(ฏ)  ภิกษุ ท. !  เมื่อตถาคตเป็นมนุษย์ในชาติก่อน.... ได้เป็นผู้ไม่เบียดเบียนสัตว์ ทั้งหลาย ด้วยฝ่ามือก็ตาม ก้อนดินก็ตาม ท่อนไม้ก็ตาม ศาสตราก็ตาม. เพราะ.... กรรมนั้น ๆ....ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะข้อนี้คือ มีประสาทรับรสอันเลิศ มีปลายขึ้นเบื้องบน เกิดแล้วที่คอ รับรสโดยสม่ำเสมอ.... (ลักขณะที่ ๒๑) ย่อมเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคน้อย มีความร้อนแห่งกายเป็น วิบากอันสม่ำเสมอ ไม่เย็นเกินร้อนเกิน พอควรแก่ความเพียร.

(ฐ) ภิกษุ ท. !  เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน....ได้เป็นผู้ไม่ถลึงตา ไม่ค้อน ควัก ไม่จ้องลับหลัง เป็นผู้แช่มชื่นมองดูตรง ๆ มองดูผู้อื่นด้วยสายตาอันแสดงความ รัก. เพราะ....กรรมนั้น ๆ....ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะ ๒ ข้อนี้คือ มีตาเขียวสนิท มีตาดุจตาโค.... (ลักขณะที่ ๒๙ ๓๐) ย่อมเป็นที่ต้องตาของ ชนหมู่มาก เป็นที่รักใคร่พอใจของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์.

(ฑ) ภิกษุ ท. !  เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน.... ได้เป็นหัวหน้าของชน เป็นอันมาก ในกุศลธรรมทั้งหลาย ได้เป็นประธานของชนเป็นอันมาก ในกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ในการจำแนกทาน การสมาทานศีล การรักษาอุโบสถ การประพฤติเกื้อกูลในมารดาบิดา สมณพราหมณ์ การนอบน้อมต่อผู้เจริญในตระกูล ในอธิกุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะ....กรรมนั้น ๆ....ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์ อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะข้อนี้คือ มีศีรษะรับกับกรอบหน้า.... (ลักขณะที่ ๓๒) ย่อมเป็นผู้ที่มหาชนประพฤติตาม คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ ประพฤติตาม.

(ฒ) ภิกษุ ท. !  เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน.... ได้เป็นผู้ละเว้นจาก มุสาวาท พูดคำจริง หลั่งคำสัจจ์ เที่ยงแท้ ซื่อตรง ไม่หลอกลวงโลก. เพราะ.... กรรมนั้น ๆ....ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้แล้ว จึงได้มหาปุริสลักขณะ ๒ ข้อนี้คือ มีขนขุมละเส้น, มีอุณาโลมหว่างคิ้วขาวอ่อนดุจสำลี ....(ลักขณะที่ ๑๓ ๓๑) ย่อมเป็นผู้ที่มหาชนเป็นไปใกล้ชิด คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ ใกล้ชิด.

(ณ) ภิกษุ ท. !  เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน.... ได้เป็นผู้ละเว้นวาจา ส่อเสียด (คือคำยุให้แตกกัน) คือไม่ฟังจากข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลาย ชนพวกนี้ ไม่ฟังจากข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้ เพื่อทำลายชนพวกโน้น เป็นผู้สมาน พวกแตกกันแล้ว และส่งเสริมพวกที่พร้อมเพรียงกัน เป็นผู้ยินดีในการพร้อมเพรียง เพลินในการพร้อมเพรียง กล่าวแต่วาจาที่ทำให้เกิดความพร้อมเพรียง. เพราะ....กรรม นั้น ๆ....ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้แล้ว จึงได้มหาปุริสลักขณะ ๒ อย่างนี้คือ มีฟันครบ ๔๐ ซี่ มีฟันสนิท ไม่ห่างกัน ....(ลักขณะที่ ๒๓, ๒๕) ย่อมเป็น ผู้มีบริษัทไม่กระจัดกระจาย คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ เป็นบริษัทไม่กระจัดกระจาย.

(ด) ภิกษุ ท. !  เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน.... ได้เป็นผู้ละเว้นการกล่าว คำหยาบ กล่าวแต่วาจาที่ไม่มีโทษ เป็นสุขแก่หู เป็นที่ตั้งแห่งความรักซึมซาบถึงใจ เป็นคำพูดของชาวเมือง เป็นที่พอใจและชอบใจของชนเป็นอันมาก.  เพราะ.... กรรมนั้น ๆ....ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ ย่อมได้มหาปุริสลักขณะ๒ ข้อนี้คือ มีลิ้นอันเพียงพอ มีเสียงเหมือนพรหม พูดเหมือนนกการวิก ....(ลักขณะที่ ๒๗, ๒๘, ย่อมเป็นผู้มีวาจาที่ผู้อื่นเอื้อเฟื้อเชื่อฟัง คือ ภิกษุ ภิกษุณีอุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ เอื้อเฟื้อเชื่อฟัง.

(ต) ภิกษุ ท. !  เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน.... ได้เป็นผู้ละเว้นการพูด เพ้อเจ้อ เป็นผู้กล่าวควรแก่เวลา กล่าวคำจริง กล่าวเป็นธรรม กล่าวมีอรรถ กล่าว เป็นวินัย กล่าวมีที่ตั้ง มีหลักฐาน มีที่สุด ประกอบด้วยประโยชน์.  เพราะ....กรรมนั้น ๆ....ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้แล้ว ย่อมได้มหาปุริสลักขณะข้อนี้คือ มีคางดุจ คางราชสีห์....(ลักขณะที่ ๒๒) ย่อมเป็นผู้ที่ศัตรูทั้งภายในและ ภายนอกกำจัดไม่ได้ ศัตรูคือ ราคะ โทสะ โมหะ หรือ สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก กำจัดไม่ได้.

(ถ) ภิกษุ ท. !  เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน....ได้เป็นผู้ละมิจฉาชีพ มีการเลี้ยงชีพชอบ เว้นจากการฉ้อโกงด้วยตาชั่ง ด้วยของปลอม ด้วยเครื่องตวง เครื่องวัด จากการโกงการลวง เว้นจากการตัด การฆ่า การผูกมัด การร่วมทำร้าย การปล้น การกรรโชก. เพราะ...กรรมนั้น ๆ....ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะ ๒ ข้อนี้คือ มีฟันอันเรียบเสมอ มีเขี้ยว ขาวงาม....(ลักขณะที่ ๒๔, ๒๖) ย่อมเป็นผู้มีบริวารเป็นคนสะอาด คือ มีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ เป็นบริวารอัน สะอาด.









พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์