พุทธประวัติจากพระโอษฐ์
ภาค ๓ หน้าที่ ๑๙๔ - ๑๙๘
ทรงมีปาฏิหาริย์ชนิดที่คนเขลามองไม่เห็นว่าเป็นปาฏิหาริย์
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงกระทำ อิทธิปาฏิหาริย์ ที่ยิ่งกว่า ธรรมดาแห่งมนุษย์ แก่ข้าพระองค์เลย.”
สุนักขัตตะ ! เราได้กล่าวอย่งนี้กะเธอบ้างหรือว่า
“สุนักขัตตะ ! เธอจงมาอยู่กะเรา เราจักกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งกว่าธรรมดา แห่ง มนุษย์แก่เธอ” ดังนี้ ?
“หามิได้ พระเจ้าข้า ! ” หรือว่า เธอได้ กล่าวกะเราอย่างนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์จักอยู่กะพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคจัก กระทำอิทธิปาฏิหาริย์ ที่ยิ่งกว่า ธรรมดาแห่งมนุษย์แก่ข้าพระองค์” ดังนี้ ?
“หามิได้ พระเจ้าข้า !”
โมฆบุรุษ ! เมื่อเป็นอย่างนั้น ใครมีอยู่ (ในฐานะเป็นคู่สัญญา) เธอจักบอกคืน กะใคร.
สุนักขัตตะ ! เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร อิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งกว่าธรรมดา แห่งมนุษย์ จะเป็นสิ่งที่เรากระทำแล้ว หรือมิได้กระทำก็ตาม ธรรมที่เราแสดง แล้ว เพื่อประโยชน์แก่การสิ้นทุกข์โดยชอบใด ธรรมนั้นจะนำผู้ปฏิบัติตาม เพื่อความสิ้น ทุกข์โดยชอบ หรือไม่ ?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! อิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งกว่าธรรมดาแห่งมนุษย์ จะเป็นสิ่งที่ พระผู้มีพระภาคกระทำแล้วหรือ มิได้กระทำก็ตาม ธรรมที่พระผู้มีพระภาคแสดงแล้ว เพื่อประโยชน์แก่การสิ้นทุกข์โดยชอบใดธรรมนั้น ก็ยังคงนำผู้ปฏิบัติตามเพื่อความ สิ้นทุกข์โดยชอบ พระเจ้าข้า”.
สุนักขัตตะ ! เมื่อฟังได้อย่างนี้ ในเรื่องนั้น ใครจะทำอิทธิปาฎิหาริย์ที่ยิ่งกว่า ธรรมดา แห่งมนุษย์ไปทำไม.
โมฆบุรุษ ! เธอจงเห็นตามที่มันเป็นความผิดของเธอเองเพียงไร.
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงบัญญัติสิ่งที่คน ท. สมมติ กันว่าเลิศ แก่ข้าพระองค์เลย”.
สุนักขัตตะ ! เราได้กล่าวอย่างนี้กะเธอบ้างหรือว่า
“สุนักขัตตะ ! เธอจงมาอยู่ กะเรา เราจักบัญญัติสิ่งที่คน ท. สมมติกันว่าเลิศแก่เธอ” ดังนี้ ? “หามิได้พระเจ้าข้า !” หรือว่า เธอได้กล่าวกะเราอย่างนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์จักอยู่กะพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคจัก บัญญัติสิ่งที่คน ท.
สมมติกันว่าเลิศแก่ข้าพระองค์” ดังนี้ ? “หามิได้ พระเจ้าข้า !”----
โมฆบุรุษ ! เมื่อเป็นอย่างนั้น ใครมีอยู่ (ในฐานะเป็นคู่สัญญา) เธอจักบอกคืน กะใคร. สุนักขัตตะ ! เธอจะสำคัญข้อนี้อย่างไร สิ่งที่คน ท.
สมมติกันว่าเลิศ จะเป็น สิ่งที่เราบัญญัติแล้ว หรือมิได้บัญญัติก็ตาม ธรรมที่เราแสดง แล้ว เพื่อประโยชน์ แก่การสิ้นทุกข์โดยชอบใด ธรรมนั้นจะนำผู้ปฏิบัติตาม เพื่อความ สิ้นทุกข์โดยชอบ หรือไม่ ?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สิ่งที่คน ท. สมมติกันว่าเลิศ จะเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาค บัญญัติแล้วหรือมิได้บัญญัติก็ตาม ธรรมที่พระผู้มีพระภาคแสดงแล้ว เพื่อประโยชน์ แก่ การสิ้นทุกข์โดยชอบใด ธรรมนั้นจะนำผู้ปฎิบัติตามเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ พระเจ้าข้า”.
สุนักขัตตะ ! เมื่อฟังได้อย่างนี้ ในเรื่องนั้น ใครจะกระทำการบัญญัติสิ่งที่คน ท. สมมติกันว่าเลิศไปทำไม.
โมฆบุรุษ ! เธอจงเห็นตามที่มันเป็น ความผิดของเธอเองเพียงไร.
หมายเหตุ : จากการโต้ตอบกันสองครั้งนี้ มีการแสดงให้เห็นอยู่แล้วว่ามีปาฏิหาริย์ อย่างสูงสุดอยู่ในธรรมะที่พระองค์ทรงแสดงแล้ว กล่าวคือจะมีการแสดงปาฏิหาริย์ ในรูปแบบอื่น ๆ อีกหรือไม่ก็ตาม ธรรมะนั้นย่อมดับทุกข์ได้อยู่ตลอดเวลา.
พวกคนเขลา ไม่มองเห็นว่าภาวะการณ์เช่นนี้เป็นปาฏิหาริย์อันสูงสุด กลับต้องการ จะให้ทรงแสดงปาฏิหาริย์ ชนิดที่ควรจะเรียกว่า “ของแปลกประหลาดสำหรับคนโง่” เหมือนที่คนทั่วไปเขาชอบดูกัน.
แม้กระนั้นพระองค์ก็ยังทรงมีการแสดงปาฏิหาริย์ ในระดับนั้นด้วยเหมือนกัน ดังที่ได้ ทรงทวง ให้สุนักขัตตลิจฉวีบุตร ระลึกถึงเรื่องบางเรื่อง ที่ได้เป็นไปแล้วอย่าง ลักษณะ ของปาฏิหาริย์ เช่นเรื่องกุกกุรวัตติกอเจลกได้ตายลงไปจริง ๆ ภายใน ๗ วัน ดังที่พระองค์ทรงพยากรณ์ และเรื่องกฬารมัชฌกอเจลก ผู้แสดงการประพฤติวัตร อย่างเคร่งครัดจนคนทั้งหลายถือกันว่า เป็นพระอรหันต์ แต่ในที่สุดก็สึกออกไป มีภรรยา ดังที่พระองค์ทรงพยากรณ์ไว้.
สุนักขัตตลิจฉวีบุตรก็จำนนต่อถ้อยคำของตนเอง ในการที่กล่าวตัดพ้อพระองค์ ว่า ไม่ทรงแสดง ปาฏิหาริย์เสียเลย. -ผู้รวบรวม.
ทรงมีปาฏิหาริย์สามอย่าง ๑
เกวัฏฏะ ! นี่ปาฏิหาริย์สามอย่าง ที่เราได้ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้.
สามอย่างอะไรเล่า ? สามอย่างคือ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และ อนุศาสนีปาฏิหาริย์.
(๑) เกวัฏฏะ ! อิทธิปาฏิหาริย์ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?
เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ กระทำอิทธิวิธีมีอย่างต่าง ๆ : ผู้เดียวแปลงรูปเป็นหลายคนหลายคนเป็นคนเดียว ทำที่กำบังให้เป็นที่แจ้ง ทำที่แจ้ง ให้เป็นที่กำบัง ไปได้ไม่ขัดข้อง ผ่านทะลุฝา ทะลุกำแพง ทะลุภูเขา ดุจไปในอากาศว่าง ๆ ผุดขึ้น และดำลงในแผ่นดินได้ เหมือนในน้ำ เดินไปได้เหนือ น้ำ เหมือนเดินบนแผ่นดิน ไปได้ในอากาศเหมือนนก มีปีก ทั้งที่ยังนั่งสมาธิคู้บัลลังก์.
ลูกคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์อานุภาพมาก ได้ด้วยฝ่ามือ. และแสดง อำนาจทางกายเป็นไปตลอดถึงพรหมโลกได้.
เกวัฏฏะ ! กุลบุตรผู้มีศรัทธาเลื่อมใสได้เห็นการแสดงนั้นแล้ว เขาบอกเล่าแก่ กุลบุตรอื่นบางคน ที่ไม่ศรัทธาเลื่อมใส ว่าน่าอัศจรรย์นัก.
กุลบุตรผู้ไม่มีศรัทธาเลื่อมใสนั้น ก็จะพึงตอบว่า วิชาชื่อคันธารี ๒ มีอยู่ ภิกษุนั้น แสดงอิทธิวิธีด้วยวิชานั่นเท่านั้น (หาใช่มีปาฏิหาริย์ไม่)
เกวัฏฏะ ! ท่านจะเข้าใจว่าอย่างไร : ก็คนไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส ย่อมกล่าวตอบผู้เชื่อ ผู้เลื่อมใส ได้อย่างนั้น มิใช่หรือ ?
“พึงตอบได้ พระองค์ !”
เกวัฏฏะ ! เราเห็นโทษในการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ดังนี้แล จึงอึดอัดขยะแขยง เกลียดชัง ต่ออิทธิปาฏิหาริย์.
(๒) เกวัฏฏะ ! อาเทสนาปาฏิหาริย์ นั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทายจิต ทายความรู้สึกของจิต ทายความตรึก ทายความตรอง ของสัตว์เหล่าอื่น ของบุคคลเหล่าอื่นได้ ว่า ใจของท่านเช่นนี้ ใจของท่านมีประการ นี้ ใจของท่านมีด้วยอาการอย่างนี้. ---ฯลฯ---
กุลบุตร ผู้ไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส ย่อมค้านกุลบุตรผู้เชื่อผู้เลื่อมใส ว่า วิชา ชื่อ มณิกา มีอยู่ ภิกษุนั้น กล่าวทายใจได้ เช่นนั้น ๆ ก็ด้วยวิชานั้น (หาใช่มีปาฏิหาริย์ไม่) เกวัฏฏะ! ท่านจะเข้าใจว่าอย่างไร ก็คนไม่เชื่อไม่เลื่อมใส ย่อมกล่าวตอบผู้เชื่อ ผู้เลื่อมใสได้อย่างนั้น มิใช่หรือ ?
“พึงตอบได้ พระองค์ !”
เกวัฏฏะ ! เราเห็นโทษในการแสดงอาเทสนาปาฏิหาริย์ดังนี้แล จึงอึดอัด ขยะแขยง เกลียดชัง ต่ออาเทสนาปาฏิหาริย์.
(๓) เกวัฏฏะ ! อนุศาสนียปาฏิหาริย์ นั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมสั่งสอนว่า ท่านจงตรึกอย่างนี้ ๆ อย่าตรึกอย่างนั้น ๆ จงทำไว้ในใจอย่างนี้ ๆ อย่าทำไว้ในใจอย่างนั้น ๆ จงละสิ่งนี้ ๆ เสีย จงเข้าถึงสิ่งนี้ ๆ แล้วแลอยู่ ดังนี้ นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์.
เกวัฏฏะ ! ---ฯลฯ--- เหล่านี้แล เป็นปาฏิหาริย์ ๓ อย่าง ที่เราได้ทำ ให้แจ้งด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตามด้วย.
|