(โดยย่อ)
การปฏิบัติอดทน ไม่อดทน การปฏิบัติข่มใจ-ระงับ
1) การปฏิบัติไม่อดทนเป็นไฉน
- เขาด่า ย่อมด่าตอบ
- เขาขึ้งโกรธ ย่อมขึ้งโกรธตอบ
- เขาทุ่มเถียง ย่อมทุ่ม เถียงตอบ
นี้เรียกว่าการ ปฏิบัติ ไม่อดทน
2) การปฏิบัติอดทนเป็นไฉน
-เขาด่า ย่อมไม่ด่าตอบ
-เขาขึ้งโกรธ ไม่ขึ้งโกรธตอบ
-เขาทุ่มเถียง ไม่ทุ่มเถียงตอบ
นี้เรียกว่าการ ปฏิบัติ อดทน
3) การปฏิบัติข่มใจเป็นไฉน
-เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ
-ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็น บาปอกุศลคือ อภิชฌา และโทมนัสครอบงำได้
-ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
-ฟังเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ...ถูกต้อง โผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้ง ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ
-ย่อมปฏิบัติ เพื่อสำรวมมนินทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้ ธรรมอันเป็นบาปอกุศล คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษามนินทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในมนินทรีย์
นี้เรียกว่าการ ปฏิบัติข่มใจ
4) ก็การปฏิบัติระงับเป็นไฉน
-ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ให้ระงับไป
-ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งพยาบาทวิตก.. วิหิงสาวิตก ...
-ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งธรรมอันเป็น บาปอกุศล ที่เกิดขึ้น
นี้เรียกว่าการ ปฏิบัติระงับ |