เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  ปฏิปทา ๔ ประการ การปฏิบัติอดทน ไม่อดทน การปฏิบัติข่มใจ การปฏิบัตระงับ 1230
 

(โดยย่อ)

การปฏิบัติอดทน ไม่อดทน การปฏิบัติข่มใจ-ระงับ

1) ก็การปฏิบัติไม่อดทนเป็นไฉน
- เป็นผู้ไม่อดทนต่อหนาว ร้อน หิว ระหาย
- ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลมแดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย
- ต่อถ้อยคำอันหยาบคาย ร้ายแรง
- ไม่อดทน ต่อทุกขเวทนาทางกาย
นี้เรียกว่า การปฏิบัติไม่อดทน

2) ก็การปฏิบัติอดทนเป็นไฉน
- ผู้อดทนต่อหนาว ร้อน หิว ระหาย
- ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลมแดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย
- ต่อถ้อยคำอันหยาบคาย ร้ายแรง
- อดทน ต่อทุกขเวทนาทางกาย
นี้เรียกว่าการปฏิบัติ อดทน

3) ก็การปฏิบัติข่มใจเป็นไฉน
-เห็นรูปด้วยจักษุ ... ฟังเสียงด้วยหู ... สูดกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรส ด้วยลิ้น ... ถูกต้อง โผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ถือโดย นิมิต ไม่ถือโดย อนุพยัญชนะ
-ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุ ให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
-ย่อม รักษา มนินทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในมนินทรีย์
นี้เรียกว่าการปฏิบัติข่มใจ

4) ก็การปฏิบัติระงับเป็นไฉน
- ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ให้ระงับไป
-กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งพยาบาทวิตก (ดำริพยาบาท) วิหิงสาวิตก(ดำริเบียดเบียน)
-ธรรมอันเป็นบาปอกุศล ที่เกิดขึ้นแล้วให้ระงับไป กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี
นี้เรียกว่าการปฏิบัติระงับ



เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๑๕๕

ปฏิปทา ๔ ประการ (นัยยะที่ ๔)
การปฏิบัติอดทน ไม่อดทน การปฏิบัติข่มใจ-ระงับ


             [๑๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉนคือ
๑) การปฏิบัติไม่อดทน
๒) การปฏิบัติอดทน
๓) การปฏิบัติข่มใจ
๔) การปฏิบัติระงับ


             (๑) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติไม่อดทนเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้เป็นผู้ไม่อดทนต่อหนาว ร้อน หิว ระหาย ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลมแดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย ต่อถ้อยคำอันหยาบคาย ร้ายแรง เป็นผู้ไม่ อดทน ต่อทุกขเวทนาทางกายอันเกิดขึ้นแล้ว กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่น่าชื่นใจไม่น่า พอใจ อาจปลงชีวิตเสียได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า การปฏิบัติไม่อดทน (๑)

             (๒) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติอดทนเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้เป็น ผู้อดทนต่อหนาว ร้อน ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการปฏิบัติ อดทน (๒)

             (๓) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติข่มใจเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุ ... ฟังเสียงด้วยหู ... สูดกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรส ด้วยลิ้น ... ถูกต้อง โผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ถือโดย นิมิต ไม่ถือโดย อนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุ ให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อม รักษา มนินทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการปฏิบัติข่มใจ (๔)

             (๔) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติระงับเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ให้ระงับไป กระทำให้ สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่ง พยาบาทวิตก... วิหิงสาวิตก ... ธรรมอันเป็นบาปอกุศล ที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้ระงับไป กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการปฏิบัติระงับ (๔)

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์