เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  ปฏิปทา ๔ ประการ เพื่อความสิ้นอาสวะ (นัยยะที่ ๒) 1228
 

(โดยย่อ)

ปฏิปทา ๔ ประการเป็นไฉน คือ

๑) ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า)
๒) ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้เร็ว)
๓) สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติสะดวกแต่รู้ได้ช้า)
๔) สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติสะดวกแต่รู้ได้เร็ว)

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

๑)ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นไฉน
-พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม มีความสำคัญในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล
-มีความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดี
-พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่า ไม่เที่ยง
-มรณสัญญาของเธอ ตั้งไว้ดีแล้วในภายใน
-เธอเข้าไปอาศัยธรรม อันเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการ คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา
-อินทรีย์ ๕ ประการ ของเธอปรากฏว่าอ่อนเธอ
-ได้บรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า เพราะอินทรีย์ ๕ อ่อน
นี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา

๒) ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นไฉน
-พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม ...
-แต่อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่าแก่กล้า
-เธอย่อมได้บรรลุคุณวิเศษ เพื่อความสิ้นอาสวะเร็วพลัน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า
นี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา

๓) สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นไฉน
- สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
-ไม่มีสุขเพราะละสุขละทุกข์  ดับโสมนัสโทมนัส ก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
-เธออาศัยธรรม อันเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการคือ สัทธาหิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญาอยู่
-อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ของเธอปรากฏว่าอ่อน เธอบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า
นี้เรียกว่า สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา

๔) สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาเป็นไฉน
-เพราะสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
-อาศัยธรรมอันเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการคือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา
-อินทรีย์ ๕ ประการของเธอปรากฏว่าแก่กล้า
-เธอย่อมได้บรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะเร็วพลันเพราะอินทรีย์ ๕ แก่กล้า
นี้เรียกว่า สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา



เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๑๔๙

ปฏิปทา ๔ ประการ (นัยยะที่ ๒)

พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม มีความสำคัญในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล

           
[๑๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล
๔ ประการเป็นไฉน คือ

๑)
ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา
(ปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า)
๒) ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้เร็ว)
๓) สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติสะดวกแต่รู้ได้ช้า)
๔) สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติสะดวกแต่รู้ได้เร็ว)

             (๑) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม มีความสำคัญในอาหารว่าเป็นของ ปฏิกูล มีความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดี พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่า ไม่เที่ยง อนึ่ง มรณสัญญาของเธอตั้งอยู่ดีแล้วในภายใน เธอเข้าไปอาศัยธรรม อันเป็นกำลัง ของพระเสขะ ๕ ประการนี้ คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่าอ่อนเธอ ได้บรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา (1)

           (๒)  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม ... แต่อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ
สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่าแก่กล้า เธอย่อมได้บรรลุคุณวิเศษ เพื่อความสิ้นอาสวะเร็วพลัน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (๒)

           (๓)  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขอันเกิดแต่ สมาธิอยู่ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ บรรลุจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุขเพราะละสุขละทุกข์ และ ดับโสมนัส โทมนัส ก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธออาศัยธรรม อันเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้ คือ สัทธาหิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญาอยู่ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่าอ่อน เธอบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้าเพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา (๓)

         (๔) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ เธออาศัยธรรมอันเป็นกำลังของพระเสขะ
๕ ประการนี้ คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา ทั้งอินทรีย์ ๕ ประการนี้คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่าแก่กล้า เธอย่อมได้บรรลุคุณวิเศษ เพื่อความสิ้นอาสวะเร็วพลัน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้าดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา (๔)

                    
ดูกรภิกษุทั้งหลายปฏิปทา ๔ ประการนี้แล ฯ







พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์