(โดยย่อ)
1) ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นไฉน (ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้ช้า)
บุคคล มีราคะกล้า ย่อมเสวยทุกข์โทมนัส อันเกิดแต่ ราคะเนืองๆ บ้าง
บุคคล มีโทสะกล้า ย่อมเสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ โทสะเนืองๆ บ้าง
บุคคล โมหะกล้า ย่อมเสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ โมหะเนืองๆ บ้าง
อินทรีย์ ๕ สัทธินทรีย์ ....ปัญญินทรีย์ ของเขาอ่อน
เขาย่อมสิ้นอาสวะได้ช้า เพราะอินทรีย์ ๕ เหล่านี้อ่อน
นี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา
2) ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นไฉน (ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว)
ภิกษุฯ พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม
มีความสำคัญในอาหารว่าเป็นของ ปฏิกูล
มีความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดี
พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่า ไม่เที่ยง
อนึ่ง มรณสัญญาของเธอตั้งอยู่ดีแล้วในภายใน
เธออาศัยธรรมอันเป็นกำลัง ของพระเสขะ ๕ ประการคือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา
อินทรีย์ ๕ ประการ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ
ปัญญินทรีย์ ของเธออ่อน เธอสิ้นอาสวะช้า เพราะอินทรีย์ ๕ อ่อน
นี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
3) สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญาเป็นไฉน (ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า)
บางคนไม่เป็นผู้มีราคะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัส อันเกิดแต่ราคะ
บางคนไม่เผ็นผู้มีโทสะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์ โทมนัส อันเกิดแต่โทสะ
บางคนไม่เป็นผู้มีโมหะกล้า ย่อมไม่ได้เสวย ทุกข์ โทมนัสอันเกิดแต่โมหะ
อินทรีย์ ๕ คือ สัทธินทรีย์ฯลฯ ปัญญินทรีย์ เขาปรากฏว่าอ่อน
เขาย่อมได้บรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า เพราะอินทรีย์ ๕ อ่อน
นี้เรียกว่าสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา
4) สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นไฉน (ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้เร็ว)
บุคคลบางคน เป็นผู้ไม่มีราคะกล้า ไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัส อันเกิดแต่ราคะเนือง
บุคคลบางคน เป็นผู้ไม่มีโทสะกล้า ไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โทสะเนือง
บุคคลบางคน เป็นผู้ไม่มีโมหะกล้า ไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โมหะ
อินทรีย์ ๕ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯปัญญินทรีย์ ของเขา ปรากฏว่าแก่กล้า
เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อสิ้นอาสวะได้ฉับพลัน เพราะอินทรีย์ ๕ แก่กล้า
นี้เรียกว่าสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
|