เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  อานิสงส์ ๔ ประการ จากการฟังธรรมเนืองๆ 1225
 

(โดยย่อ)

1.ศึกษาเล่าเรียนสุตตะ ฟังธรรมเนือง ๆ จนคล่องปากขึ้นใจ แทงตลอด
-มีสติหลงลืมเมื่อทำกาละ บทแห่งธรรมย่อมปรากฎ 
-ย่อมเข้าถึงเทพเทวดาหมู่ใดหมู่หนึ่ง และจะบรรลุธรรมในภพนั้น

2.ศึกษาเล่าเรียนสุตตะ ฟังธรรมเนือง ๆ จนคล่องปากขึ้นใจ แทงตลอด
-มีสติหลงลืมเมื่อทำกาละ และบทแห่งธรรม ไม่ปรากฎ 
-แต่มีภิกษุผู้มีฤทธิ์ แสดงธรรมแก่เทพเทวดา
-ย่อมระลึกบทแห่งธรรมที่เคยประพฤติมาในอดีต จะบรรลุธรรมในภพนั้น

3..ศึกษาเล่าเรียนสุตตะ ฟังธรรมเนือง ๆ จนคล่องปากขึ้นใจ แทงตลอด
-มีสติหลงลืมเมื่อทำกาละ และบทแห่งธรรม ไม่ปรากฎ 
-ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ก็ไม่แสดงแสดงธรรมแก่เทพเทวดา
-แต่เทพเทวดา(ในภพนั้น)ได้แสดงธรรม แก่เทพเทวดาด้วยกัน
-ย่อมระลึกบทแห่งธรรมที่เคยประพฤติมาในอดีต จะบรรลุธรรมในภพนั้น

3..ศึกษาเล่าเรียนสุตตะ ฟังธรรมเนือง ๆ จนคล่องปากขึ้นใจ แทงตลอด
-มีสติหลงลืมเมื่อทำกาละ และบทแห่งธรรม ไม่ปรากฎ 
-ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ก็ไม่แสดงแสดงธรรมแก่เทพเทวดา
-เทพเทวดา ก็ไม่ได้แสดงธรรม แก่เทพเทวดาด้วยกัน
-แต่เทพเทวดาที่เกิดก่อน เตือนเทพเทวดาที่เกิดทีหลัง
-ย่อมระลึกบทแห่งธรรมที่เคยประพฤติมาในอดีต จะบรรลุธรรมในภพนั้น


(สรุป)
1 ระลึกบทแห่งธรรมเมื่อทำกาละ จากการศึกษา จากการฟัง จนคล่องปาก - ย่อมบรรลุธรรมในภพนั้น
2.ภิกษุมีฤทธิ์ขึ้นไปแสดงธรรมแก่เทวดา ทำให้ระลึกถึงบทธรรมในอดีต - ย่อมบรรลุธรรมในภพนั้น
3.เทวดาในภพนั้น แสดงธรรมแก่เทวดาด้วยกัน ทำให้ระลึกถึงบทธรรมในอดีต - ย่อมบรรลุธรรม
4.เทวดาที่เกิดก่อน เตือนเทวดาที่เกิดทีหลัง ทำให้ระลึกถึงบทธรรมในอดีต - ย่อมบรรลุธรรม

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน


หนังสือภพ-ภูมิ พุทธวจน บทที่ ๙๗ หน้า ๓๖๘


อานิสงส์ ๔ ประการ จากการฟังธรรมเนืองๆ



ภิกษุทั้งหลาย ! อานิสงส์ ๔ ประการแห่งธรรม ทั้งหลายที่บุคคลฟังเนือง ๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอด ด้วยดีด้วยความเห็น อันบุคคลพึงหวังได้

อานิสงส์ ๔ ประการ อย่างไรเล่า ?

(๑) ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยา กรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ ธรรมเหล่านั้น เป็นธรรมอัน ภิกษุนั้นฟังเนืองๆ คล่องปากขึ้นใจแทงตลอด ด้วยดีด้วยความเห็น เธอมีสติหลงลืม เมื่อกระทํากาละ ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง บทแห่งธรรมทั้งหลาย ย่อม ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขในภพนั้น สติบังเกิดขึ้นซ้า แต่สัตว์นั้นย่อม เป็นผู้บรรลุ คุณวิเศษเร็วพลัน

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑ แห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคลฟังเนือง ๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น อันบุคคลพึงหวังได้

(๒) ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ..เวทัลละ ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันภิกษุ อั้นฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น เธอมีสติ หลงลืม เมื่อกระทํากาละ ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง บทแห่งธรรมทั้งหลาย ย่อม ไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุข อยู่ในภพนั้นเลย แต่ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชํานาญ แห่งจิต แสดงธรรมแก่เทพบริษัท เธอมีความปริวิตกอย่างนี้ว่า ในกาลก่อน เราได้ ประพฤติ พรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด นี้คือธรรมวินัยนั้น สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้น ย่อม เป็นผู้บรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน

ภิกษุทั้งหลาย ! บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงกลอง เขาเดินทางไกล จึงได้ยินเสียงกลอง เขาไม่พึงมีความสงสัย หรือเคลือบแคลงว่าเสียงกลองหรือไม่ใช่หนอ ที่แท้เขาพึง ถึง ความตกลงใจว่าเสียงกลองทีเดียว ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียน ธรรม คือ สุตตะ ... เวทัลละ ธรรมเหล่านั้น เป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น ... สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้ บรรลุ คุณวิเศษ เร็วพลัน

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒ แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนือง ๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น อันบุคคลพึงหวังได้

(๓) ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ...เวทัลละ ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันภิกษุ นั้น ฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น เธอมีสติหลงลืม เมื่อ กระทํากาละ ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง บทแห่งธรรมทั้งหลาย ย่อมไม่ ปรากฏ แก่เธอผู้มีความสุข อยู่ในภพนั้นเลย ทั้งภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชํานาญแห่งจิต ก็ไม่ได้ แสดงธรรมในเทพบริษัท แต่เทพบุตรย่อมแสดงธรรมในเทพบริษัท เธอมีความคิด อย่างนี้ว่าในกาลก่อน เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด นี้คือ ธรรมวินัยนั้นเอง สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุ คุณวิเศษเร็วพลัน

ภิกษุทั้งหลาย ! บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงสังข์ เขา เดินทางไกลพึงได้ฟังเสียงสังข์เข้า เขาไม่พึงมีความสงสัย หรือเคลือบแคลงว่าเสียงสังข์หรือมิใช่หนอ ที่แท้เขาพึงถึง ความตกลงใจว่า เสียงสังข์ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ... เวทัลละ ธรรมเหล่านั้น เป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอด ด้วยดีด้วยความเห็น ... สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้น ย่อมเป็นผู้บรรลุ คุณวิเศษเร็วพลัน

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓ แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น อันบุคคลพึงหวังได้

(๔) ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ .... เวทัลละ ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรม อัน ภิกษุ นั้น ฟังเนือง ๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น เธอมีสติ หลงลืม เมื่อกระทํากาละ ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง บทแห่งธรรมทั้งหลาย ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุข อยู่ในภพนั้นเลย แม้ภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชํานาญ แห่งจิต ก็มิได้แสดงธรรมในเทพบริษัท แม้เทพบุตรก็ไม่ได้ แสดงธรรมในเทพบริษัท แต่เทพบุตรผู้เกิดก่อนเตือน เทพบุตรผู้เกิดทีหลังว่า “ท่านผู้นิรทุกข์ย่อมระลึกได้ หรือ ว่า เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในกาลก่อน” เธอกล่าวอย่างนี้ว่า “เราระลึกได้ ท่าน ผู้นิรทุกข์ เราระลึกได้ท่านผู้นิรทุกข์” สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็น ผู้บรรลุ คุณวิเศษ เร็วพลัน

ภิกษุทั้งหลาย ! สหายสองคนเล่นฝุ่นด้วยกัน เขามาพบกัน บางครั้งบางคราว ในที่ บางแห่ง สหายคนหนึ่ง พึงกล่าวกะสหายคนนั้นอย่างนี้ว่า “สหาย ท่านระลึกกรรม

แม้นี้ได้หรือ” เขาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เราระลึกได้เราระลึกได้” ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น เหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ... เวทัลละ ธรรมเหล่านั้น เป็นธรรมอัน ภิกษุนั้นฟัง เนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น .... สติบังเกิด ขึ้นซ้า แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔ แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น อันบุคคลพึงหวังได้

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แลอานิสงส์ ๔ ประการ แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังแล้วเนื่อง ๆ คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น อันบุคคลพึงหวังได้ การเข้าถึง สวรรค์ ในภพปัจจุบัน

ภิกษุทั้งหลาย! ลาภของเธอทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ! เป็นการได้ที่ดีของเธอ ทั้งหลายแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย ! ขณะสําหรับการประพฤติพรหมจรรย์ พวกเธอก็ได้โดยเฉพาะแล้ว.
ภิกษุทั้งหลาย ! สวรรค์ ชื่อผัสสายตนิกะ ๕ ชั้น เราได้เห็นแล้วในบรรดาสวรรค์ เหล่านั้น บุคคลเห็นรูปใด ๆ ด้วยตา ย่อมเห็นแต่รูปที่น่า ปรารถนาเท่านั้น ไม่เห็นรูป ที่ไม่น่า ปรารถนาเลย เห็นแต่รูปที่น่ารักใคร่เท่านั้น ไม่เห็นรูปที่ไม่น่า รักใคร่เลย เห็นแต่รูปที่น่าพอใจเท่านั้น ไม่เห็นรูปที่ไม่น่าพอใจเลย

ในบรรดาสวรรค์เหล่านั้น บุคคลฟังเสียงใดๆ ด้วยหู
ในบรรดาสวรรค์เหล่านั้น บุคคลดมกลิ่นใด ๆ ด้วยจมูก
ในบรรดาสวรรค์เหล่านั้น บุคคลลิ้มรสใดๆ ด้วยลิ้น
ในบรรดาสวรรค์เหล่านั้น บุคคลถูกต้องโผฏฐพพะ ใด ๆ ด้วยผิวกาย ....
ในบรรดาสวรรค์เหล่านั้น บุคคลรู้แจ้งธรรมารมณ์ ใด ๆ ด้วยใจ ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์ที่น่าปรารถนาเท่านั้น ไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ ที่ไม่น่าปรารถนา เลย รู้แจ้งธรรมารมณ์ ที่น่ารักใคร่เท่านั้น ไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารักใคร่เลย รู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์ที่น่าพอใจเท่านั้น ไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ ที่ไม่น่าพอใจเลย.

ภิกษุทั้งหลาย ! ลาภของเธอทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ! เป็นการได้ที่ดีของเธอ ทั้งหลายแล้ว ภิกษุทั้งหลาย! ขณะสําหรับการประพฤติพรหมจรรย์ พวกเธอก็ได้โดย เฉพาะแล้ว ดังนี้แล.







พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์