เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  ความหมายของ คำว่า ผู้ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม 1224
 

(โดยย่อ)

ความหมายของ คำว่า ผู้ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม คือ ข้อที่ภิกษุ
1.เบื่อหน้ายในขันธ์ ๕
เป็นผู้มากด้วยความรู้สึกที่ เบื่อหน่ายในรูป เบื่อในเวทนา เบื่อในสัญญา เบื่อในสังขาร เบื่อในวิญญาณ
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมรอบรู้ซึ่งรูป รอบรู้ซึ่งเวทนา รอบรู้ซึ่งสัญญา รอบรู้ซึ่งขังขาร รอบรู้ซึ่งวิญญาณ
เมื่อรอบรู้ ย่อมหลุดพ้นจากรูป จากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ
ย่อมพ้นได้ จากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์ กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นจากทุกข์

2.เห็นว่าขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ) ไม่เที่ยง.... เขาย่อมหลุดพ้นจากทุกข์
3.เห็นว่าขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ) เป็นทุกข์.... เขาย่อมหลุดพ้นจากทุกข์
4.เห็นว่าขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ) เป็นอนัตตา ...เขาย่อมหลุดพ้นจากทุกข์

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน


ความหมายของ คำว่า ผู้ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม
ขนุธ. ส. ๑๗/๕๐-๔๒/๘๓-๘๖

ภิกษุทั้งหลาย! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
   คือ ข้อที่ภิกษุ
  เป็นผู้มากอยู่ด้วย ความรู้สึก เบื่อหน่ายในรูป
  เป็นผู้มากอยู่ด้วย ความรู้สึก เบื่อหน่าย ในเวทนา
  เป็นผู้มากอยู่ด้วย ความรู้สึก เบื่อหน่าย ในสัญญา
  เป็นผู้มากอยู่ด้วย ความรู้สึก เบื่อหน่าย ในสังขาร
  เป็นผู้มากอยู่ด้วย ความรู้สึก เบื่อหน่าย ในวิญญาณ

ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มากอยู่ด้วย ความรู้สึกเบื่อหน่าย ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ใน สังขาร ในวิญญาณ ย่อมรู้รอบซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ
เมื่อเขารู้รอบอยู่ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ ย่อมหลุดพ้น จากรูป จากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ ย่อมพ้นได้ จากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรําพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้
--------------------------------------------------------------------

ภิกษุทั้งหลาย! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
   คือ ข้อที่ภิกษุ
  เป็นผู้ตามเห็นความ ไม่เที่ยงในรูป อยู่เป็นประจํา
  เป็นผู้ตามเห็นความ ไม่เที่ยง ในเวทนา อยู่เป็นประจํา
  เป็นผู้ตามเห็นความ ไม่เที่ยง ในสัญญา อยู่เป็นประจํา
  เป็นผู้ตามเห็นความ ไม่เที่ยง ในสังขาร อยู่เป็นประจํา
  เป็นผู้ตามเห็นความ ไม่เที่ยง ในวิญญาณ อยู่เป็นประจํา

ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้ตาม เห็นความไม่เที่ยง ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อยู่เป็นประจํา ย่อมรู้รอบซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ เมื่อเขารู้รอบอยู่ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจากรูป จากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ ย่อมพ้นได้ จากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรําพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้น จากทุกข์ ดังนี้
--------------------------------------------------------------------

ภิกษุทั้งหลาย! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
  คือ ข้อที่ภิกษุ
  เป็นผู้ตามเห็นความ เป็นทุกข์ ในรูป อยู่เป็นประจํา
  เป็นผู้ตามเห็นความ เป็นทุกข์ ในเวทนา อยู่เป็นประจํา
  เป็นผู้ตามเห็นความ เป็นทุกข์ ในสัญญา อยู่เป็นประจํา
  เป็นผู้ตามเห็นความ เป็นทุกข์ ในสังขาร อยู่เป็นประจํา
  เป็นผู้ตามเห็นความ เป็นทุกข์ ในวิญญาณ อยู่เป็นประจํา

ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้ตาม เห็นความเป็นทุกข์ ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณอยู่เป็นประจํา ย่อมรู้รอบซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่ง วิญญาณ เมื่อเขารู้รอบอยู่ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ
ย่อมหลุดพ้นจากรูป จากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ ย่อมพ้นได้จาก ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรําพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้
--------------------------------------------------------------------

ภิกษุทั้งหลาย! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
  คือ ข้อที่ภิกษุ
  เป็นผู้ตามเห็นความ เป็นอนัตตา ในรูป อยู่เป็นประจํา
  เป็นผู้ตามเห็นความ เป็นอนัตตา ในเวทนา อยู่เป็นประจํา
  เป็นผู้ตามเห็นความ เป็นอนัตตา ในสัญญา อยู่เป็นประจํา
  เป็นผู้ตามเห็นความ เป็นอนัตตา ในสังขาร อยู่เป็นประจํา
  เป็นผู้ตามเห็นความเป็น อนัตตา ใน วิญญาณอยู่เป็นประจํา

ภิกษุนั้น เมื่อตาม เห็นความเป็นอนัตตา ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อยู่เป็นประจํา ย่อมรู้รอบซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ เมื่อเขารู้รอบอยู่ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจากรูป จากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ ย่อมพ้นได้จาก ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรําพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้
ขนุธ. ส. ๑๗/๕๐-๔๒/๘๓-๘๖
หนังสือภพภูมิ บทที่ ๑๒๘ หน้า 455







พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์