พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] หน้า ๒๙ - ๔๓
คำว่า ในโลก ได้แก่
ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก
ขันธโลก ธาตุโลกอายตนโลก
คำว่า เพราะกามทั้งหลายในโลก ไม่เป็นของที่นรชนละได้ง่ายเลย อธิบาย ว่า เพราะกามทั้งหลายในโลก เป็นของที่นรชนละได้ยาก คือ สละได้ยาก สละออก ได้ยาก ย่ำยีได้ยาก แก้ออกได้ยาก แหวกออกได้ยาก ข้ามได้ยาก ข้ามพ้นได้ยาก ก้าวพ้น ได้ยาก กลับตัวหลีกได้ยาก รวมความว่า เพราะกามทั้งหลายในโลก ไม่เป็นของที่ นรชน ละได้ง่ายเลย
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า นรชนผู้ข้องอยู่ในถ้ำ ถูกกิเลสมากหลาย ปิดบังไว้ เมื่อดำรงตนอยู่ (อย่างนี้) ก็จมลงในเหตุให้ลุ่มหลงผู้เป็นเช่นนั้นแล ย่อม อยู่ไกลจากวิเวก เพราะกามทั้งหลายในโลกไม่เป็นของที่นรชนละได้ง่ายเลย
[๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)สัตว์เหล่านั้นมีความปรารถนาเป็นต้นเหตุ ติดพันอยู่กับความพอใจในภพมุ่งหวัง(กาม)ในกาลภายหลัง หรือในกาลก่อนปรารถนา กามเหล่านี้ และกามที่มีอยู่ก่อน
ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก (และ)ทำให้ผู้อื่นหลุดพ้น ไม่ได้เลย
คำว่า มีความปรารถนาเป็นต้นเหตุ ติดพันอยู่กับความพอใจในภพอธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียกว่า ความปรารถนา
คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดีความเพลิด เพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความหื่น ความหื่นกระหาย ความข้องอยู่ ความจมอยู่ ธรรมชาติที่ทำให้พลุกพล่าน
ธรรมชาติที่หลอกลวง ธรรมชาติที่ยังสัตว์ให้เกิด ธรรมชาติที่ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติที่ร้อยรัด ธรรมชาติที่มีข่าย ธรรมชาติที่กำซาบใจ ธรรมชาติที่ซ่านไป ธรรมชาติดุจเส้นด้าย ธรรมชาติที่แผ่ไป ธรรมชาติที่ประมวลมา ธรรมชาติที่เป็นเพื่อน
ความคนึงหา ตัณหาที่นำพาไปสู่ภพ ตัณหาดุจป่า ตัณหาดุจป่าทึบ ความเชยชิด ความเยื่อใย ความห่วงใยความผูกพัน ความหวัง กิริยาที่หวัง ภาวะที่หวัง ความหวัง ในรูป ความหวังในเสียงความหวังในกลิ่น ความหวังในรส ความหวังในโผฏฐัพพะ
ความหวังในลาภ ความหวังในทรัพย์ ความหวังในบุตร ความหวังในชีวิต ธรรมชาติ ที่กระซิบ ธรรมชาติที่กระซิบบ่อยๆ ธรรมชาติที่กระซิบยิ่ง ความกระซิบ กิริยาที่กระซิบ ภาวะที่กระซิบความละโมบ กิริยาที่ละโมบ ภาวะที่ละโมบ ธรรมชาติที่ทำให้หวั่นไหว
ภาวะที่ใคร่แต่อารมณ์ดีๆ ความกำหนัดในฐานะอันไม่ควร ความโลภเกินพอดี ความติดใจ กิริยาที่ติดใจ ความปรารถนา ความใฝ่หา ความหมายปอง กามตัณหา ภวตัณหาวิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ รูปตัณหา สัททตัณหาคันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพ ตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ
อุปาทานอาวรณ์ นิวรณ์ เครื่องปิดบัง เครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย ปริยุฏฐาน ตัณหาดุจ เถาวัลย์ความปรารถนาวัตถุอย่างต่างๆ รากเหง้าแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิด แห่งทุกข์ บ่วงแห่งมาร เบ็ดแห่งมาร วิสัยแห่งมาร ตัณหาดุจแม่น้ำ ตัณหา ดุจตาข่าย ตัณหาดุจโซ่ตรวน ตัณหาดุจสมุทร อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
คำว่า มีความปรารถนาเป็นต้นเหตุ
ได้แก่
มีความปรารถนาเป็นต้นเหตุ คือมีความปรารถนาเป็นสาเหตุ มีความปรารถนา เป็นปัจจัย มีความปรารถนาเป็นเหตุ มีความปรารถนาเป็นแดนเกิด
รวมความว่า มีความปรารถนาเป็นต้นเหตุ
คำว่า ติดพันอยู่กับความพอใจในภพ
อธิบายว่า ความพอใจในภพอย่างเดียว คือ สุขเวทนา
ความพอใจในภพ ๒ อย่าง คือ
ความพอใจในภพ ๓ อย่าง คือ
๑. ความเป็นหนุ่มสาว ๒. ความไม่มีโรค ๓. ชีวิต
ความพอใจในภพ ๔ อย่าง คือ
๑. ลาภ ๒. ยศ ๓. สรรเสริญ ๔. สุข
ความพอใจในภพ ๕ อย่าง คือ
๑. รูปที่น่าพอใจ
๒. เสียงที่น่าพอใจ
๓. กลิ่นที่น่าพอใจ
๔. รสที่น่าพอใจ
๕. โผฏฐัพพะที่น่าพอใจ
ความพอใจในภพ ๖ อย่าง คือ
๑. ความสมบูรณ์แห่งตา
๒. ความสมบูรณ์แห่งหู
๓. ความสมบูรณ์แห่งจมูก
๔. ความสมบูรณ์แห่งลิ้น
๕. ความสมบูรณ์แห่งกาย
๖. ความสมบูรณ์แห่งใจ
ผู้ติดพันอยู่กับความพอใจในภพ ได้แก่
ข้อง คือ ติด เกี่ยว เกาะติด เกี่ยวพันพัวพันใน สุขเวทนา ... ในวัตถุที่น่าปรารถนา ... ในความเป็นหนุ่มสาว ... ในความไม่มีโรค ... ในชีวิต ... ในลาภ ... ในยศ ... ในสรรเสริญ ... ในสุข ... ในรูป ... เสียง ...กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ที่น่าพอใจ ... ในความสมบูรณ์แห่งตา ... หู ... จมูก ... ลิ้น... กาย ข้อง คือ ติด เกี่ยว เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในความสมบูรณ์แห่งใจ รวมความว่า มีความปรารถนาเป็นต้นเหตุ ติดพันอยู่กับความพอใจในภพ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
(สัตว์หลุดพ้นได้ยาก)
คำว่า สัตว์เหล่านั้น ... ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก (และ)ทำให้ผู้อื่นหลุดพ้นไม่ได้ เลย อธิบายว่าธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งความพอใจในภพเหล่านั้น อันสัตว์หลุดพ้นได้ยาก หรือ สัตว์ทั้งหลายปลดเปลื้อง(ตน)ได้ยาก จากธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งความพอใจ ในภพนั้น
(๑) ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งความพอใจในภพเหล่านั้น อันสัตว์หลุดพ้นได้ยาก
เป็นอย่างไร
คือ สุขเวทนา อันสัตว์หลุดพ้นได้ยาก คือ ปลดเปลื้องได้ยาก ทรงตัวได้ยาก แก้ออกได้ยาก แหวกออกได้ยาก ข้ามได้ยาก ข้ามพ้นได้ยาก ก้าวพ้นได้ยาก กลับตัวหลีก ได้ยาก วัตถุที่น่าปรารถนา ... ความเป็นหนุ่มสาว ... ความไม่มีโรค ... ชีวิต ...ลาภ ... ยศ ... สรรเสริญ ... สุข ... รูปที่น่าพอใจ ... เสียงที่น่าพอใจ ... กลิ่นที่น่าพอใจ... รสที่น่าพอใจ ... โผฏฐัพพะที่น่าพอใจ ... ความสมบูรณ์แห่งตา ... ความสมบูรณ์แห่งหู ... ความสมบูรณ์แห่งจมูก ... ความสมบูรณ์แห่งลิ้น ... ความสมบูรณ์แห่งกาย... ความสมบูรณ์แห่งใจ อันสัตว์หลุดพ้นได้ยาก
คือ ปลดเปลื้องได้ยาก ทรงตัวได้ยาก แก้ออกได้ยาก แหวกออกได้ยาก ข้ามได้ ยาก ข้ามพ้นได้ยาก ก้าวพ้นได้ยาก กลับตัว หลีกได้ยาก ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่ง ความพอใจ ในภพเหล่านั้น อันสัตว์หลุดพ้นได้ยาก เป็นอย่างนี้
(๒) สัตว์ทั้งหลายปลดเปลื้อง(ตน)ได้ยาก จากธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งความพอใจ ในภพ นั้น เป็นอย่างไร
คือ สัตว์ทั้งหลายปลดเปลื้อง(ตน)ได้ยาก คือ ปลดเปลื้อง ขึ้นได้ยาก ทรงตัวได้ยาก ทรงตัวขึ้นได้ยาก ยกตัวขึ้นได้ยาก ยกตัวขึ้นได้ยากอย่างยิ่ง แก้ออก ได้ยาก แหวกออกได้ยาก ข้ามได้ยาก ข้ามพ้นได้ยาก ก้าวพ้นได้ยาก กลับตัวหลีก ได้ยาก จากสุขเวทนา ... จากวัตถุที่น่าปรารถนา ...
จากความเป็นหนุ่มสาว ... จากความไม่มีโรค ... จากชีวิต ... จากลาภ ... จากยศ ... จากสรรเสริญ ... จากสุข ... จากรูปที่น่าพอใจ ... จากเสียงที่น่าพอใจ ... จากกลิ่นที่น่าพอใจ ... จากรสที่น่าพอใจ ... จากโผฏฐัพพะที่น่าพอใจ ... จากความสมบูรณ์แห่งตา ... จากความสมบูรณ์แห่งหู ... จากความสมบูรณ์แห่งจมูก ... จากความสมบูรณ์แห่งลิ้น ... จากความสมบูรณ์แห่งกายปลดเปลื้อง(ตน)ได้ยาก
คือ ปลดเปลื้องขึ้นได้ยาก ทรงตัวได้ยาก ทรงตัวขึ้นได้ยาก ยกตัวขึ้นได้ยาก ยกตัวขึ้น ได้ยากอย่างยิ่ง แก้ออกได้ยาก แหวกออกได้ยาก ข้ามได้ยาก ข้ามพ้นได้ ยาก ก้าวพ้นได้ยาก กลับตัวหลีกได้ยาก จากความสมบูรณ์แห่งใจสัตว์ทั้งหลาย ปลดเปลื้อง (ตน)ได้ยาก จากธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งความพอใจในภพนั้นเป็นอย่างนี้ รวมความว่า สัตว์เหล่านั้น ... ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
(หลุดพ้นไม่ได้เลย)
คำว่า ทำให้ผู้อื่นหลุดพ้นไม่ได้เลย อธิบายว่า สัตว์เหล่านั้น ตนเองก็จมดิ่งอยู่ จึงไม่ สามารถฉุดรั้งคนอื่นที่จมดิ่งอยู่แล้วขึ้นมาได้ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “จุนทะ ข้อที่บุคคลซึ่งตนเองก็จมดิ่งอยู่จักฉุดรั้งผู้อื่น ที่จมดิ่งอยู่แล้วขึ้นมาได้ เป็นไป ไม่ได้เลย จุนทะ ข้อที่บุคคลผู้มิได้ฝึกฝน มิได้อบรม ยังมิได้ดับกิเลสด้วยตนเอง จักฝึกฝน อบรมผู้อื่น ทำผู้อื่นให้ดับกิเลส เป็นไปไม่ได้เลย” (สัตว์เหล่านั้น) จึงชื่อว่า ทำให้ผู้อื่น หลุดพ้นไม่ได้เลย เป็นอย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง ไม่มีใครอื่น ที่จะทำให้สัตว์เหล่านั้นหลุดพ้นได้ ถ้าสัตว์เหล่านั้นจะพึง หลุดพ้นได้ สัตว์เหล่านั้นเมื่อปฏิบัติชอบ ปฏิบัติเหมาะสม ปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก ปฏิบัติ เอื้อประโยชน์ ปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรมด้วยตนเอง ก็จะพึงหลุดพ้นได้ ด้วย เรี่ยวแรง ด้วยกำลัง ด้วยความพากเพียร ด้วยความบากบั่น ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยกำลังของบุรุษ ด้วยความพากเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ ของตนเอง เท่านั้น (สัตว์เหล่านั้น) จึงชื่อว่าทำให้ผู้อื่นหลุดพ้นไม่ได้เลย เป็นอย่างนี้บ้าง
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า โธตกะ เราไม่สามารถปลดเปลื้องใครๆ ที่มีความสงสัยในโลกได้ แต่เธอเมื่อรู้แจ้งธรรมอันประเสริฐ ก็จะข้ามโอฆะนี้ได้เอง ด้วยประการ ฉะนี้ (สัตว์เหล่านั้น)จึงชื่อว่า ทำให้ผู้อื่นหลุดพ้นไม่ได้เลย เป็นอย่างนี้ บ้าง สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ตนทำชั่วเองก็เศร้าหมองเอง ไม่ทำชั่ว ก็บริสุทธิ์เอง ความบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์ เป็นของเฉพาะตน คนอื่นจะทำคนอื่น ให้บริสุทธิ์ไม่ได้
สัตว์เหล่านั้นจึงชื่อว่า ทำให้ผู้อื่นหลุดพ้นไม่ได้เลย เป็นอย่างนี้บ้าง สมจริงดัง ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ฉันนั้นเหมือนกันแหละพราหมณ์นิพพานมีอยู่ ทางไป นิพพาน มีอยู่ เรา(ตถาคต) ผู้ชักชวนก็มีอยู่ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้สาวกที่เราสั่งสอน อยู่อย่างนี้ พร่ำสอน อยู่อย่างนี้
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
(บางพวกสำเร็จ บางพวกไม่สำเร็จ)
บางพวกสำเร็จนิพพานอันถึงที่สุดโดยส่วนเดียว บางพวก ก็ไม่สำเร็จ ในเรื่องนี้ เราจะทำอย่างไรได้ ตถาคตก็เป็นแต่ผู้บอกทาง พระพุทธเจ้าก็เพียงบอกทาง ให้ ผู้ที่ปฏิบัติด้วยตนเองเท่านั้น จึงจะพึงหลุดพ้นได้” สัตว์เหล่านั้นจึงชื่อว่า ทำให้ผู้อื่น หลุดพ้นไม่ได้เลย อย่างนี้บ้าง รวมความว่า สัตว์เหล่านั้น ย่อมเป็น ผู้หลุดพ้นได้ยาก (และ)ทำให้ผู้อื่นหลุดพ้นไม่ได้เลย
คำว่า มุ่งหวัง(กาม)ในกาลภายหลัง หรือในกาลก่อน อธิบายว่า อนาคตตรัส เรียกว่า ในกาลภายหลัง อดีต ตรัสเรียกว่า ในกาลก่อน อีกนัยหนึ่ง อนาคตใกล้อดีต ก็ดี ปัจจุบันใกล้อดีตก็ดี ตรัสเรียกว่า ในกาลภายหลัง อดีตใกล้อนาคตก็ดี ปัจจุบัน ใกล้อนาคตก็ดี ตรัสเรียกว่า ในกาลก่อนบุคคลทำความมุ่งหวัง (กาม)ในกาลก่อน อย่างไร
คือ บุคคลย่อมหวนระลึกถึงความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นว่า ในอดีตอันยาวนาน เราได้มีรูปอย่างนี้มาแล้ว ... ได้มีเวทนาอย่างนี้มาแล้ว ... ได้มีสัญญาอย่างนี้มาแล้ว ...ได้มีสังขารอย่างนี้มาแล้ว บุคคลย่อมหวนระลึกถึงความเพลิดเพลิน ในอารมณ์นั้น ว่าในอดีตอันยาวนาน เราได้มีวิญญาณอย่างนี้มาแล้ว บุคคลจึงชื่อว่า ทำความมุ่งหวัง (กาม)ในกาลก่อน เป็นอย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง บุคคลมีวิญญาณเกี่ยวเนื่องด้วยฉันทราคะในอารมณ์นั้นว่า ในอดีต อันยาวนาน เราได้มีตาอย่างนี้ ได้เห็นรูปอย่างนี้ เพราะมีวิญญาณเกี่ยวเนื่องด้วย ฉันทราคะ เขาจึงเพลิดเพลินกับอารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลินกับอารมณ์นั้น บุคคล จึงชื่อว่า ทำความมุ่งหวัง(กาม)ในกาลก่อน อย่างนี้บ้าง ... ได้มีหูอย่างนี้ ได้ยินเสียง อย่างนี้ ... ได้มีจมูกอย่างนี้ ได้กลิ่นอย่างนี้ ... ได้มีลิ้นอย่างนี้ ได้รู้รสอย่างนี้ ... ได้มีกายอย่างนี้ รู้สึกผัสสะอย่างนี้ ... มีวิญญาณเกี่ยวเนื่องด้วยฉันทราคะ ในอารมณ์ นั้น ว่า
ในอดีต อันยาวนาน เราได้มีใจอย่างนี้ รู้ธรรมารมณ์ อย่างนี้ เพราะมีวิญญาณ เกี่ยว เนื่องด้วย ฉันทราคะ เขาจึงเพลิดเพลินกับอารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลินกับอารมณ์ นั้น บุคคลจึงชื่อว่า ทำความมุ่งหวัง(กาม)ในกาลก่อน เป็นอย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง บุคคลยินดี มุ่งหวัง ถึงความปลื้มใจ ด้วยการหัวเราะ พูดจาเล่นหัว กับ มาตุคาม ในกาลก่อน บุคคลจึงชื่อว่า ทำความมุ่งหวัง(กาม) ในกาลก่อนเป็นอย่างนี้ บ้าง
บุคคลทำความมุ่งหวัง(กาม)ในกาลภายหลังอย่างไร คือ บุคคลตามระลึกถึง ความ เพลิด เพลิน ในอารมณ์นั้นว่า ในอนาคตอันยาวนาน เราพึงมีรูปอย่างนี้ ... พึงมีเวทนา อย่างนี้ ... พึงมีสัญญาอย่างนี้ ... พึงมีสังขารอย่างนี้ บุคคลตามระลึกถึง ความเพลิดเพลิน ในอารมณ์นั้น ว่า ในอนาคตอันยาวนานเราพึงมีวิญญาณอย่างนี้ บุคคลจึงชื่อว่า ทำความมุ่งหวัง(กาม) ในกาลภายหลังเป็นอย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง บุคคลตั้งจิตเพื่อให้ได้อารมณ์ที่ยังไม่ได้ว่า ในอนาคตอันยาวนาน ขอเรา พึงมีตา อย่างนี้ เห็นรูปอย่างนี้ เพราะมีการตั้งจิตเป็นปัจจัย เขาจึงเพลิดเพลินกับ อารมณ์ นั้น เมื่อ เพลิดเพลินกับอารมณ์นั้น บุคคลจึงชื่อว่า ทำความมุ่งหวัง
(กาม)ในกาลภายหลัง อย่างนี้บ้าง ... พึงมีหูอย่างนี้ ได้ยินเสียงอย่างนี้ ..พึงมีจมูก อย่างนี้ ได้กลิ่นอย่างนี้ ... พึงมีลิ้นอย่างนี้ รู้รสอย่างนี้ ... พึงมีกายอย่างนี้ รู้สึกผัสสะ อย่างนี้ ... บุคคลตั้งจิตเพื่อให้ได้อารมณ์ที่ยังไม่ได้ว่า ในอนาคตอันยาวนานขอเรา พึงมีใจ อย่างนี้ รู้ธรรมารมณ์อย่างนี้ เพราะมีการตั้งจิตเป็นปัจจัย เขาจึงเพลิดเพลิน กับอารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลิน กับอารมณ์นั้น บุคคลจึงชื่อว่า ทำความมุ่งหวัง(กาม) ในกาลภายหลัง เป็นอย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง บุคคลตั้งจิตเพื่อให้ได้อารมณ์ที่ยังไม่ได้ว่า ด้วยศีล พรต ตบะ หรือ พรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทวดา หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง เพราะการตั้งจิตเป็นปัจจัย เขาจึงเพลิดเพลิน กับ อารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลินกับอารมณ์นั้น บุคคลจึงชื่อว่า ทำความมุ่งหวัง(กาม) ในกาล ภายหลัง เป็นอย่างนี้บ้าง รวมความว่า มุ่งหวัง(กาม) ในกาลภายหลัง หรือในกาลก่อน
คำว่า (ปรารถนา) กามเหล่านี้ ในคำว่า ปรารถนากามเหล่านี้ และกามที่มีอยู่ก่อน ได้แก่ ต้องการ ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวัง กามคุณ ๕ ที่เป็นปัจจุบัน
คำว่า ปรารถนากามที่มีอยู่ก่อน ได้แก่ ปรารถนา คือ ครวญหา พร่ำหากามคุณ ๕ ที่เป็นอดีต รวมความว่า ปรารถนากามเหล่านี้และกามที่มีอยู่ก่อน
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
สัตว์เหล่านั้น มีความปรารถนาเป็นต้นเหตุ ติดพัน อยู่กับ ความพอใจในภพ มุ่งหวัง (กาม)ในกาลภายหลัง หรือในกาลก่อน ปรารถนากามเหล่านี้ และกามที่มีอยู่ก่อน ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก (และ) ทำให้ผู้อื่นหลุดพ้นไม่ได้เลย |