เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  การดำรงสมาธิจิต เมื่อถูกเบียดเบียนทั้ง ทางวาจา และทางกาย 1197
  (โดยย่อ)

ภิกษุ ท. !  เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร
1. เราจักกระทำแผ่นดินใหญ่นี้ ให้ไม่เป็นแผ่นดิน... เป็นไปได้หรือ
2. เราจักเขียนรูปต่างๆ ในอากาศนี้ ทำให้มีรูป ปรากฏอยู่...เป็นไปได้หรือ
3.เราจักเผาแม่น้ำคงคาให้ร้อนจัด ให้เดือนพล่าน ด้วยคบหญ้าอันลุกโพลงนี้... เป็นไปได้หรือ
4.เราจักทำให้หนังแมวป่าขนฟู ส่งเสียง มีเสียงพรึมๆ ด้วยท่อนไม้หรือไม้หัวโหม่งนี้..
เป็นไปได้หรือ

ภิกษุ ท. !  ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ภิกษุ ท. ! ถ้าโจรพึงเลื่อยอวัยวะน้อยใหญ่ของใคร แล้วมีใจประทุษร้ายในโจรนั้น ชื่อว่าไม่ทำตาม คำสอนของเรา เพราะเหตุที่มีใจประทุษร้ายต่อโจรนั้น (การมีใจประทุษร้าย เป็นเหตุให้ต้องไป นรก)
“จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป เราจักเป็นผู้ มีจิตเอ็นดู เกื้อกูล มีจิต ประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายในอยู่

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒ ภาค ๔ หน้าที่ ๑๓๒๖ - หน้าที่ ๑๓๓๑
ว่าด้วย มัคคอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐคือมรรค


การดำรงสมาธิจิต
เมื่อถูกเบียดเบียนทั้ง ทางวาจา และทางกาย



        ภิกษุ ท. !  ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าวหาเธอ ๕ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ คือ
๑. กล่าวโดยกาลหรือโดยมิใช่กาล
๒. กล่าวโดยเรื่องจริงหรือโดยเรื่องไม่จริง
๓. กล่าวโดยอ่อนหวานหรือโดยหยาบคาย
๔. กล่าวด้วยเรื่องมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์
๕. กล่าวด้วยมีจิตเมตตาหรือมิโทสะในภายใน.

        ภิกษุ ท. !  เมื่อเขากล่าวอยู่อย่างนั้น ในกรณีนั้น ๆ เธอพึงทำการสำเหนียก อย่างนี้ว่า “จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป เราจักเป็นผู้ มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน อยู่ จักมีจิตสหรคต ด้วยเมตตาแผ่ไปยังบุคคลนั้น อยู่ และจักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูล ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่” ดังนี้.  

ภิกษุ ท. !  เธอพึงทำการสำเนียก อย่างนี้แล.

 (๑. อุปมาที่หนึ่ง)

        ภิกษุ ท. !  เปรียบเหมือน บุรุษถือจอบและกะทอ (สมัยนี้คือปุ้งกี๋) มาแล้ว กล่าว ว่า “เราจักกระทำแผ่นดินใหญ่นี้ ให้ไม่เป็นแผ่นดิน” ดังนี้ เขาขุดในที่นั้น ๆ เรี่ยรายดินในที่นั้นๆ ขากถุยอยู่ในที่นั้นๆ กระทืบเท้าอยู่ในที่นั้นๆ ปากพูดอยู่ว่า “มึงไม่ต้องเป็นแผ่นดินอีกต่อไป มึงไม่ต้องเป็นแผ่นดินอีกต่อไป” ดังนี้.

       ภิกษุ ท. !  เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : บุรุษนั้น จะทำแผ่นดินใหญ่นี้ ให้ไม่เป็นแผ่นดิน ได้แลหรือ ?  

“ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !”

เพราะเหตุไรเล่า ?  


“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !  แผ่นดินใหญ่นี้ลึกหาประมาณมิได้ เป็นการง่ายที่ใครๆ จะทำให้ไม่เป็นแผ่นดิน รังแต่บุรุษนั้นจะเป็นผู้มีส่วนแห่งความลำบาก คับแค้น เสียเปล่า พระเจ้าข้า !”

        ภิกษุ ท. !  ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน : ในบรรดาทางแห่งถ้อยคำสำหรับการกล่าวหาห้าประการนั้น เมื่อเขากล่าวหาเธอ ด้วยทางแห่งถ้อยคำประการใดประการหนึ่งอยู่ เธอพึงทำการสำเหนียกในกรณีนั้น อย่างนี้ว่า

“จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป เราจักเป็นผู้ มีจิตเอ็นดู เกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายในอยู่ จักมีจิตสหรคต ด้วยเมตตา แผ่ไปยังบุคคลนั้น อยู่ และจักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลก ถึงที่สุดทุกทิศทางมี บุคคลนั้น เป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่” ดังนี้. (คือมีจิตเหมือนแผ่นดินใหญ่อันใครๆจะกระทบ กระทั่ง ให้เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น).  

ภิกษุ ท. !  เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้แล.

(๒. อุปมาที่สอง)

        ภิกษุ ท. !  เปรียบเหมือน บุรุษถือเอาสี มา เป็นสีครั่งบ้าง สีเหลืองบ้าง สีเขียวบ้าง สีแสดบ้าง กล่าวอยู่ว่า “เราจักเขียนรูปต่างๆ ในอากาศนี้ ทำให้มีรูป ปรากฏอยู่” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร บุรุษนั้นจะเขียนรูป ต่าง ๆ ในอากาศนี้ ทำให้มีรูปปรากฎอยู่ ได้แลหรือ ?  

“ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !”

เพราะเหตุไรเล่า ?  

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะเหตุว่าอากาศนี้ เป็นสิ่งที่มีรูปไม่ได้ แสดงออกซึ่งรูป ไม่ได้. ในอากาศนั้น ไม่เป็นการง่ายที่ใครๆ จะเขียนรูป ทำให้มีรูปปรากฎอยู่ได้ รังแต่บุรุษนั้นจะเป็นผู้มี ส่วนแห่งความลำบาก คับแค้นเสียเปล่า พระเจ้าข้า !”

        ภิกษุ ท. !  ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน : ในบรรดาทางแห่งถ้อยคำสำหรับการ กล่าวหาห้าประการนั้น เมื่อเขากล่าวหาเธอ ด้วยทางแห่งถ้อยคำประการใดประการ หนึ่งอยู่ เธอพึงทำการสำเหนียกในกรณีนั้น อย่างนี้ว่า

“จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป เราจักเป็นผู้ มีจิตเอ็นดู เกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายในอยู่ จักมีจิตสหรคต ด้วยเมตตา แผ่ไม่ยังบุคคลนั้น อยู่ และจักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูล ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง มีบุคคลนั้น เป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่” ดังนี้. (คือมีจิตเหมือนอากาศ อันใครๆ จะเขียนให้เป็นรูป ปรากฎไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น ).  

ภิกษุ ท. ! เธอพึงทำการสำเหนียก อย่างนี้แล.

 

(๓. อุปมาที่สาม)

        ภิกษุ ท. !  เปรียบเหมือน บุรุษถือคบหญ้า ที่กำลังลุกโพลงมา กล่าวอยู่ว่า “เราจักเผาแม่น้ำคงคาให้ร้อนจัด ให้เดือนพล่าน ด้วยคบหญ้าอันลุกโพลงนี้” ดังนี้.   ภิกษุ ท. !  เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร บุรุษนั้นจะเผาแม่น้ำคงคาให้ร้อนจัด ให้เดือดพล่าน ด้วยคบหญ้าอันลุกโพลง ได้แลหรือ ?  

“ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !”

เพราะเหตุไรเล่า ?  

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !  เพราะเหตุว่า แม่น้ำคงคาลึกหาประมาณมิได้ ไม่เป็นการ ง่ายที่ใครๆ จะเผาให้ร้อนจัด ให้เดือดพล่านด้วยคบหญ้าอันลุกโพลง รังแต่บุรุษนั้น จะเป็นผู้มีส่วนแห่งความ ลำบา คับแค้น เสียเปล่า ดังนี้.”

ภิกษุ ท. !  ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน : ในบรรดาทางแห่งถ้อยคำสำหรับการกล่าวหาห้าประการนั้น เมื่อเขากล่าวหาเธอ ด้วยทางแห่งถ้อยคำประการใดประการหนึ่งอยู่ เธอพึงทำการสำเหนียกในกรณีนั้น อย่างนี้ว่า

“จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดู เกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน อยู่ จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา แผ่ไปยังบุคคลนั้น อยู่ และจักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูล ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึง ที่สุด ทุกทิศทางมีบุคคลนั้นเป็น อารมณ์ แล้วแลอยู่” ดังนี้. (คือมีจิตเหมือนแม่น้ำ คงคา อันใครๆ จะเผาให้ร้อนเดือด ด้วยคบหญ้าไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น)  

ภิกษุ ท. ! เธอพึงทำการสำเหนียก อย่างนี้แล.

 

(๔. อุปมาที่สี่)

        ภิกษุ ท. !  เปรียบเหมือน แผ่นหนังแมวป่าขนฟู ฟอกนวดแล้ว นวดทุบ อย่างดี นวดทุบอย่างทั่วถึง อ่อนนิ่มเหมือนปุยนุ่น ไม่ส่งเสียง ไม่ส่งกังวานเสียง. ลำดับนั้น มีบุรุษถือท่อนไม้หรือไม้หัวโหม่งมา พลางพูดว่า “เราจักทำให้หนังแมวป่า ขนฟูแผ่นนี้ ส่งเสียง มีเสียงพรึมๆ ด้วยท่อนไม้หรือไม้หัวโหม่งนี้” ดังนี้.  

        ภิกษุ ท. !  เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร บุรุษนั้นจะทำหนังแมวป่า ขนฟู แผ่นนั้นให้ส่งเสียงพรึมๆ ด้วยท่อนไม้หรือไม้หัวโหม่งนั้นได้แลหรือ ?  

“ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !”

เพราะเหตุไรเล่า ?  


“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! เพราะเหตุว่า หนังแมวป่าขนฟูแผ่นนั้น เป็นของฟอกนวด แล้ว นวดทุบอย่างดี นวดทุบอย่างทั่วถึง อ่อนนิ่ม เหมือนปุยนุ่น ไม่ส่งเสียง ไม่ส่ง กังวานเสียง ไม่เป็นการง่ายที่ใครๆ จะทำให้มันส่งเสียงดังพรึมๆ ด้วยท่อนไม้หรือ ไม้หัวโหม่ง รังแต่บุรุษนั้นจะเป็นผู้มีส่วนแห่งความลำบากคับแค้นเสียเปล่า ดังนี้ “.

๑.  คำนี้ยังเป็นที่สงสัยอยู่ว่า จะเป็นแผ่นหนังฟอกใช้ห่มคลุมเล่น หรือแผ่นหนัง ที่ทำเป็นถุงสำหรับใส่เสื้อผ้า ยังเป็นที่สงสัยอยู่ ขอให้ถือเอาแต่ใจความว่า มันเป็น สิ่งที่ส่งเสียงไม่ได้ก็แล้วกัน.

ภิกษุ ท. !  ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน : ในบรรดาทางแห่งถ้อยคำสำหรับการกล่าวหาห้าประการนั้น เมื่อเขากล่าวหาเธอ ด้วยทางแห่งถ้อยคำ ประการใดประการหนึ่งอยู่ เธอพึงทำการสำเหนียกในกรณีนั้น อย่างนี้ว่า

“จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดู เกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน อยู่ จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา แผ่ไปยังบุคคลนั้น อยู่ และจักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูลใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุด ทุกทิศทาง มีบุคคลนั้นเป็น อารมณ์ แล้วแลอยู่” ดังนี้. (คือมีจิตเหมือนแผ่นหนัง แมวป่าขนฟูที่ฟอกดีแล้ว เห็น ปานนั้น อันใครๆ จะทำให้มันส่งเสียงดังพรึมๆ ไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น). 


ภิกษุ ท. !  เธอพึงทำการสำเหนียก อย่างนี้แล.

        ภิกษุ ท. !  ถ้าโจรผู้คอยหาช่อง พึงเลื่อยอวัยวะน้อยใหญ่ของใคร ถ้วยเลื่อย มีด้ามสองข้าง ผู้ใดมีใจประทุษร้ายในโจรนั้น ผู้นั้นชื่อว่าไม่ทำตามคำสอนของเรา เพราะเหตุที่มีใจประทุษร้ายต่อโจรนั้น  

ภิกษุ ท. !  ในกรณีนั้น เธอพึงทำการ สำเหนียก อย่างนี้ว่า

“จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดู เกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตาไม่มีโทสะในภายใน อยู่ แผ่ไปยังบุคคลนั้น อยู่ และจักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูล ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่” ดังนี้.  

ภิกษุ ท. !  เธอพึงทำการสำเหนียก อย่างนี้แล.

        ภิกษุ ท. ! เธอพึงกระทำในใจถึงโอวาทอันเปรียบด้วยเลื่อยนี้อยู่เนืองๆเถิด   ภิกษุ ท. !  เมื่อเธอทำในใจถึงโอวาทนั้นอยู่ เธอจะได้เห็นทาง แห่งการ กล่าวหา เล็กหรือใหญ่ที่เธออดกลั้นไม่ได้ อยู่อีกหรือ ?  

“ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !”  

ภิกษุ ท. !  เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลาย จงกระทำในใจ ถึงโอวาทอัน เปรียบด้วยเลื่อยนี้ อยู่เป็นประจำเถิด นั่นจักเป็นไปเพื่อ ประโยชน์ เกื้อกูล และ ความสุขแก่เธอทั้งหลาย ตลอดกาลนาน.

- มู.ม. ๑๒/๒๕๕ - ๒๘๐/๒๖๗ - ๒๗๓.






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์