เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  ว่าด้วยวิเวก ๓ อย่าง กายวิเวก จิตตวิเวก อุปธิวิเวก 1195
 

(โดยย่อ)

วิเวก ๓ อย่าง คือ
(๑) กายวิเวก (ความสงัดกาย)
(๒) จิตตวิเวก (ความสงัดใจ)
(๓) อุปธิวิเวก (ความสงัดอุปธิ)
------------------------------------------------------------------------------------------------

(๑) กายวิเวก (ความสงัดกาย)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมใช้สอยเสนาสนะที่สงัด คือ ป่า โคนต้นไม้ ภูเขา ซอกเขา ช่องเขา สุสาน ป่าดงดิบ กลางแจ้ง ลอมฟาง และมีกายสงัดอยู่ คือ เดินรูปเดียว ยืนรูปเดียว นั่งรูปเดียว นอนรูปเดียว เข้าหมู่บ้านบิณฑบาตรูปเดียว กลับรูปเดียว

(๒) จิตตวิเวก (ความสงัดใจ)
ผู้บรรลุปฐมฌาน ผู้บรรลุทุติยฌาน ผู้บรรลุตติยฌาน ผู้บรรลุจตุตถฌาน
ผู้บรรลุอากาสานัญจายตนสมาบัติ ผู้บรรลุวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ผู้บรรลุอากิญจัญญายตนสมาบัติ ผู้บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ

(๓) อุปธิวิเวก (ความสงัดอุปธิ)
อุปธิวิเวก คือธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็น ที่สิ้น ตัณหา เป็นที่คลาย กำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท นี้ชื่อว่าอุปธิวิเวก

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] หน้า ๓๒-๓๓

ว่าด้วยวิเวก ๓ อย่าง



คำว่า วิเวก ในคำว่า ผู้เป็นเช่นนั้นแล ย่อมอยู่ไกลจากวิเวก ได้แก่ วิเวก
๓ อย่าง คือ
(๑) กายวิเวก (ความสงัดกาย)
(๒) จิตตวิเวก (ความสงัดใจ)
(๓) อุปธิวิเวก (ความสงัดอุปธิ)


(๑) กายวิเวก เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมใช้สอยเสนาสนะที่สงัด คือ ป่า โคนต้นไม้ ภูเขา
ซอกเขา ช่องเขา สุสาน ป่าดงดิบ กลางแจ้ง ลอมฟาง และมีกายสงัดอยู่ คือ
เดินรูปเดียว ยืนรูปเดียว นั่งรูปเดียว นอนรูปเดียว เข้าหมู่บ้านบิณฑบาตรูปเดียว
กลับรูปเดียว นั่งในที่ลับรูปเดียว อธิษฐานจงกรมรูปเดียว เที่ยวไป อยู่ เคลื่อนไหว
เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปลำพังรูปเดียว นี้ชื่อว่ากายวิเวก


(๒) จิตตวิเวก เป็นอย่างไร คือ
ผู้บรรลุปฐมฌาน ย่อมมีจิตสงัดจากนิวรณ์
ผู้บรรลุทุติยฌาน ย่อมมีจิตสงัด จากวิตกและวิจาร
ผู้บรรลุตติยฌาน ย่อมมีจิตสงัดจากปีติ
ผู้บรรลุจตุตถฌาน ย่อมมี จิตสงัดจากสุขและทุกข์
ผู้บรรลุอากาสานัญจายตนสมาบัติ ย่อมมีจิตสงัดจาก รูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา
ผู้บรรลุวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ย่อมมีจิตสงัดจากอากาสานัญจายตนสัญญา
ผู้บรรลุอากิญจัญญายตนสมาบัติ ย่อมมีจิตสงัดจากวิญญาณัญจายตนสัญญา
ผู้บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมมีจิตสงัดจากอากิญจัญญายตนสัญญา

ผู้เป็นพระโสดาบัน ย่อมมีจิตสงัดจากสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส
ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย และเหล่ากิเลส ที่อยู่ในพวกเดียวกับสักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้น

ผู้เป็นพระสกทาคามี ย่อมมีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์อย่าง
หยาบ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างหยาบ และเหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียวกับ
กามราคสังโยชน์เป็นต้นนั้น

ผู้เป็นพระอนาคามี ย่อมมีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์อย่าง ละเอียด กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างละเอียด และเหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียว
กับกามราค สังโยชน์เป็นต้นนั้น

ผู้เป็นพระอรหันต์ ย่อมมีจิตสงัดจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย เหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียวกับ รูปราคะเป็นต้น นั้น และสังขารนิมิตทั้งปวงในภายนอก นี้ชื่อว่าจิตตวิเวก


(๓) อุปธิวิเวก เป็นอย่างไร
คือ กิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี ตรัสเรียกว่า อุปธิ อมตนิพพาน ตรัสเรียกว่า อุปธิวิเวก คือธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็น ที่สิ้น ตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท นี้ชื่อว่าอุปธิวิเวก

กายวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีกายหลีกออกแล้ว ยินดีในเนกขัมมะ
จิตตวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ ถึงความเป็นผู้ผ่องแผ้วยิ่ง และ
อุปธิวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้ปราศจากอุปธิ บรรลุนิพพานอันปราศจากปัจจัยปรุงแต่ง แล้ว

คำว่า ไกลจากวิเวก อธิบายว่า ผู้ข้องอยู่ในถ้ำอย่างนี้ ถูกกิเลสมากหลายปิดบังไว้ อย่างนี้ จมลงในเหตุให้ลุ่มหลงอย่างนี้ ย่อมอยู่ไกลจากกายวิเวกบ้าง ไกลจาก
จิตตวิเวกบ้าง ไกลจากอุปธิวิเวกบ้าง คือ ไกล ห่างไกล แสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ใกล้เคียง
ไม่ชิด ไม่ใกล้ชิด

คำว่า ผู้เป็นเช่นนั้น ได้แก่ ผู้เป็นเช่นนั้น คือ ผู้เป็นอย่างนั้น ผู้ดำรงอยู่ อย่างนั้น ผู้เป็นประการนั้น ผู้มีส่วนอย่างนั้น จมลงในเหตุให้ลุ่มหลง รวมความว่า ผู้เป็นเช่นนั้น ย่อมอยู่ไกลจากวิเวก






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์