เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  วัตถุกาม กิเลสกาม ความติดใจในกาม ความไม่ติดใจในกาม 1192
 

(โดยย่อ)

วัตถุกามเป็นไฉน?
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าพอใจ เครื่องนุ่งห่ม แพะ แกะ สุกร ช้าง โค ม้า ลา า ที่ดิน เงิน ทอง บ้าน นิคม ..วัตถุอันชวนให้กำหนัดอย่างใด อย่างหนึ่ง

วัตถุกามอีกอย่างหนึ่ง
กามส่วนอดีต อนาคต ปัจจุบัน ..กามภายใน ภายนอก ทั้งภายในภายนอก.. กามเลว ปานกลาง ประณีต (กามมีในอบาย ในมนุษย์ กามอันเป็นทิพย์).. กามที่ปรากฎ ที่นิรมิตเอง ที่ผู้อื่นนิรมิต .. กามที่หวงแหน กามที่ไม่หวงแหน .. กามที่ถือว่าของเรา กามที่ไม่ถือว่าของเรา ..กามาวจรธรรม รูปาวจรธรรม  อรูปาวจรธรรม..ธรรมอันเป็นวัตถุแห่งตัณหา ..เป็นอารมณ์แห่งตัณหา.. ธรรมเป็นที่ตั้ง แห่งความใคร่ ความกำหนัด ความมัวเมา

กิเลสกามเป็นไฉน?
ฉันทะ ราคะ ฉันทราคะ สังกัปปะ ราคะ สังกัปปราคะ ความพอใจ กำหนัดเพลิดเพลิน ตัณหาในกาม ความเร่าร้อน ความติดใจในกาม ความหลงความพัวพันในกาม กามโอฆะ กามโยคะ กามุปาทาน กามฉันทนิวรณ์

ความติดใจในกาม
ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล เรียกว่าความติดใจ

ความไม่ติดใจในกาม
ไม่ติดใจ คือ ไม่พัวพัน เป็นผู้ไม่ติดใจไม่ถึงความติดใจ ไม่หลงใหล ไม่พัวพัน ปราศจากความติดใจ สละความติดใจ เป็นผู้เว้นขาด ออกไป สลัด สงบ ระงับ หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับกิเลสทั้งหลาย
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๒๒ (ตรัสกับ อชิตะ)

กามมี ๒ อย่าง คือ วัตถุกาม และ กิเลสกาม


           [๙๕] โดยอุทานว่า กามา ในอุเทศว่า "กาเมสุ นาภิคิชฺเฌยฺย ดังนี้
กามมี ๒ อย่าง คือ
วัตถุกาม ๑
กิเลสกาม ๑


วัตถุกามเป็นไฉน?
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าพอใจ เครื่องลาด เครื่องนุ่งห่ม ทาสี ทาส แพะ แกะ สุกร ช้าง โค ม้า ลา นา ที่ดิน เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี แว่นแคว้น ชนบท ฉางข้าว เรือนคลัง วัตถุอันชวนให้กำหนัดอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วัตถุกาม

อีกอย่างหนึ่ง
กามส่วนอดีต กามส่วนอนาคต กามส่วนปัจจุบัน
กามภายใน กามภายนอก กามทั้งภายในภายนอก
กามเลว กามปานกลาง กามประณีต
กามมีในอบาย (กามเลว) กามมีในมนุษย์(กามปานกลาง) กามอันเป็นทิพย์ (กามปราณีต)
กามที่ปรากฎ กามที่นิรมิตเอง กามที่ผู้อื่นนิรมิต
กามที่หวงแหน กามที่ไม่หวงแหน
กามที่ถือว่าของเรา กามที่ไม่ถือว่าของเรา
กามาวจรธรรมแม้ทั้งปวง รูปาวจรธรรมแม้ทั้งปวง อรูปาวจรธรรมแม้ทั้งปวง
(กามาวจร หมายถึงผู้ที่ยังติดในกาม ยังท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏ)
ธรรมอันเป็นวัตถุ แห่งตัณหา ธรรมอันเป็นอารมณ์ แห่งตัณหา ชื่อว่ากาม

เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่
เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา
เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม

กิเลสกามเป็นไฉน?
ฉันทะ ราคะ ฉันทราคะ สังกัปปะ ราคะ สังกัปปราคะ เป็นกามความพอใจในกาม ความกำหนัดในกาม ความเพลิดเพลินในกาม ตัณหาในกาม เสน่หาในกาม ความกระหายในกาม ความเร่าร้อนในกาม ความติดใจในกาม ความหลงในกาม ความพัวพันในกาม ในกามทั้งหลาย กามโอฆะ กามโยคะ กามุปาทาน กามฉันทนิวรณ์
ดูกรกาม เราได้เห็นรากเง่าของเจ้าแล้ว.
ดูกรกาม เจ้าเกิดเพราะความดำริถึง. เราจักไม่ดำริถึงเจ้าละ.
ดูกรกาม เจ้าจักไม่มีด้วยอาการอย่างนี้

เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม


ความติดใจในกาม
ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล เรียกว่าความติดใจ

ความไม่ติดใจในกาม
คำว่า ไม่ติดใจในกามทั้งหลาย ความว่า ไม่ติดใจ คือ ไม่พัวพัน เป็นผู้ไม่ติดใจ ไม่ถึงความติดใจ ไม่หลงใหล ไม่พัวพัน ปราศจากความติดใจ สละความติดใจ คายความติดใจ ปล่อยความติดใจ ละความติดใจ สลัดความติดใจ ปราศจากความ กำหนัด สละความกำหนัดคลายความกำหนัด ปล่อยความกำหนัด ละความกำหนัด สลัดความกำหนัด ในกิเลสกามทั้งหลายในที่สุด ให้ถึงความไม่มีซึ่งกิเลสทั้งหลาย อันทำความขุ่นมัว พึงเป็นผู้งด เว้น เว้นขาด ออกไป สลัด สงบ ระงับ หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับกิเลสทั้งหลาย อันทำความขุ่นมัว พึงเป็นผู้มีใจปราศจากเขตแดนอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเป็นผู้มีใจไม่ขุ่นมัวอยู่. ในวัตถุกามทั้งหลาย เป็นผู้ไม่หิว ดับสนิท เย็นแล้ว เป็นผู้เสวยสุข มีตนอันประเสริฐอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ติดใจในกามทั้งหลาย






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์