เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  ว่าด้วยการเว้นขาดกามด้วยเหตุ ๒ ประการ (โดยการข่มไว้ โดยการตัดขาด) 1193
 

(โดยย่อ)

วัตถุกาม และ กิเลสกาม เป็นไฉน?
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่ชอบใจ ฯลฯ
กามเหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม และ เรียกว่า กิเลสกาม

คำว่า ย่อมเว้นขาดกามคือ ย่อมเว้นขาดกาม โดยเหตุ ๒ ประการ คือ
1) โดยการข่มไว้
2) โดยการตัดขาด

1) เว้นขาดกาม โดยการข่มไว้

อย่างที่๑ ข่มไว้ด้วยการพิจารณาเห็นในความเป็นโทษ
บุคคลผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลาย
เปรียบด้วยโครงกระดูก เพราะเห็นว่าเป็นของมีความยินดีน้อย
เปรียบด้วยชิ้นเนื้อ เพราะเห็นว่าเป็นของสาธารณะแก่ชนหมู่มาก
เปรียบด้วยคบเพลิง เพราะเห็นว่าเป็นของตามเผา
เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง เพราะเห็นว่าเป็นของให้เร่าร้อนมาก

อย่างที่๒ ข่มไว้ด้วยการเจริญสติ
ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ แม้ผู้เจริญ พุทธานุสสติ
ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ แม้ผู้เจริญ ธัมมานุสสติ
ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ แม้ผู้เจริญ สังฆานุสสติ

อย่างที่๓ ข่มไว้ด้วยการเจริญภาวนา รูปสัญญษ ๔ และ อรูปสัญญา๔
แม้ผู้เจริญปฐมฌาน ... ทุติยฌาน ...ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ...
แม้ผู้เจริญอากาสา ... วิญญาณัญจายตน ...อากิญจัญญา...เนวสัญญานา

2) เว้นขาดกาม โดยการตัดขาด
แม้บุคคลผู้เจริญโสดาปัตติมรรค... ผู้เจริญสกทาคามิมรรค...ผู้เจริญอนาคามิ... ผู้เจริญอรหัตมรรค
ย่อมเว้นขาดกามโดยอาการทั้งปวง โดยประการทั้งปวง หมดสิ้น มิได้มีส่วนเหลือ โดยการตัดขาด

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๑ (พระสูตรฉบับเต็ม P957)

ว่าด้วยการเว้นขาดกามด้วยเหตุ ๒ ประการ
(โดยการข่มไว้ โดยการตัดขาด)

 

กาม ในคำว่า ย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย ได้แก่ กาม ๒ อย่าง โดยหัวข้อ คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑

วัตถุกาม และ กิเลสกาม
เป็นไฉน?
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่ชอบใจ ฯลฯ
กามเหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม และ เรียกว่า กิเลสกาม

คำว่า ย่อมเว้นขาดกามคือ ย่อมเว้นขาดกาม โดยเหตุ ๒ ประการ คือ
1) โดยการข่มไว้
2) โดยการตัดขาด


1) เว้นขาดกาม โดยการข่มไว้

อย่างที่๑ ข่มไว้ด้วยการพิจารณาเห็นในความเป็นโทษ
บุคคลผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลาย
เปรียบด้วยโครงกระดูก
เพราะเห็นว่าเป็นของมีความยินดีน้อย
เปรียบด้วยชิ้นเนื้อ เพราะเห็นว่าเป็นของสาธารณะแก่ชนหมู่มาก
เปรียบด้วยคบเพลิง เพราะเห็นว่าเป็นของตามเผา
เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง เพราะเห็นว่าเป็นของให้เร่าร้อนมาก
เปรียบด้วยความฝัน เพราะเห็นว่าเป็นของปรากฏชั่วเวลาน้อย
เปรียบด้วยของขอยืม เพราะเห็นว่าเป็นของเป็นไปชั่วกาลที่กำหนด

เปรียบด้วยต้นไม้มีผลดก เพราะเห็นว่าเป็นของให้กิ่งหัก และให้ต้นล้ม
เปรียบด้วยดาบและมีด เพราะเห็นว่าเป็นของฟัน
เปรียบด้วยหอกหลาว เพราะเห็นว่าเป็นของทิ่มแทง
เปรียบด้วยหัวงู เพราะเห็นว่าเป็นของน่าสะพึงกลัว
เปรียบด้วยกองไฟ เพราะเห็นว่าเป็นดังไฟกองใหญ่ ให้เร่าร้อน


อย่างที่๒ ข่มไว้ด้วยการเจริญสติ
ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ แม้ผู้เจริญพุทธานุสสติ
ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ แม้ผู้เจริญธัมมานุสสติ
ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ แม้ผู้เจริญสังฆานุสสติ ...  แม้ผู้เจริญสีลานุสสติ ...แม้ผู้เจริญจาคานุสสติ ... แม้ผู้เจริญเทวตานุสสติ ... แม้ผู้เจริญอานาปานัสสติ ... แม้ผู้เจริญมรณานุสสติ ... แม้ผู้เจริญกายคตาสติ ... แม้ผู้เจริญอุปสมานุสสติ ...

อย่างที่๓ ข่มไว้ด้วยการเจริญภาวนา ฌาณ ๑-๘
แม้ผู้เจริญปฐมฌาน ... แม้ผู้เจริญทุติยฌาน ...  แม้ผู้เจริญตติยฌาน ... แม้ผู้เจริญจตุตถฌาน ... แม้ผู้เจริญอากาสานัญจายตนสมาบัติ ... แม้ผู้เจริญวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ... แม้ผู้เจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติ ... แม้ผู้เจริญเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้.
ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้อย่างนี้

2) เว้นขาดกาม โดยการตัดขาด
แม้บุคคล ผู้เจริญโสดาปัตติมรรคย่อมเว้นขาดกามอันให้ไปสู่อบายโดยการตัดขาด
แม้บุคคล ผู้เจริญสกทาคามิมรรค ย่อมเว้นขาดกามส่วนหยาบโดยการตัดขาด
แม้บุคคล ผู้เจริญอนาคามิมรรค ย่อมเว้นขาดกามอันเป็นส่วนละเอียดโดยการตัดขาด
แม้บุคคล ผู้เจริญอรหัตมรรค ย่อมเว้นขาดกามโดยอาการทั้งปวง โดยประการทั้งปวง หมดสิ้น มิได้มีส่วนเหลือ โดยการตัดขาด

(พระสูตรฉบับเต็ม P957)






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์