เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการ 1189
 

(โดยย่อ)

อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการ

1.กามทั้งหลาย ย่อมดับในที่ใด
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิด แต่วิเวกอยู่ กามทั้งหลายย่อมดับในปฐมฌานนี้

2.วิตกและวิจารย่อมดับในที่ใด
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแก่สมาธิอยู่ วิตกวิจารย่อมดับในองค์ฌานนี้

3.ปีติย่อมดับในที่ใด
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขามีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ปีติย่อมดับในองค์ฌานนี้

4.อุเบกขาและสุขดับในที่ใด

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัส ก่อนๆได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุ ให้สติบริสุทธิ์อยู่ อุเบกขาและสุขดับในองค์ฌานนี้แล

5.รูปสัญญาดับในที่ใด
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจ ถึงนานัตตสัญญา บรรลุ อากาสานัญจายตน เพราะคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด รูปสัญญา ย่อมดับในองค์ฌานนี้

6.อากาสานัญจายตนสัญญาดับในที่ใด
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตน บรรลุวิญญาณัญจายตน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ ว่า วิญญาณไม่มีที่สุด อากาสานัญจายตนสัญญา ดับในองค์ฌานนี้

7.วิญญาณัญจายตนสัญญาดับในที่ใด
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงวิญญาณัญจายตน บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ ว่า อะไรๆ หน่อยหนึ่งไม่มี วิญญาณัญจายตนสัญญา ย่อมดับในองค์ฌานนี้

8.อากิญจัญญายตนสัญญาดับในที่ใด
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วง อากิญจัญญายตน บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตน อากิญจัญญายตน สัญญาดับในองค์ฌานนี้

9.เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาดับในที่ใด
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตน บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เนวสัญญานา สัญญายตนสัญญาดับในนิโรธนี้

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๓๗๙-๓๘๓

อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการ
(วิหารสูตรที่ ๑ และ วิหารสูตรที่ ๒)


วิหารสูตรที่ ๑

            [๒๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปุพพวิหาร (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ตามลำดับ)
๙ ประการนี้ ๙ ประการเป็นไฉน คือ ปฐมฌาน ๑ ทุติยฌาน ๑ ตติยฌาน ๑
จตุตถฌาน ๑ อากาสานัญจายตนฌาน ๑ วิญญาณัญจายตนฌาน ๑ อากิญจัญญา ยตนฌาน ๑ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ๑ สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปุพพวิหาร ๙ ประการนี้แล ฯ

วิหารสูตรที่ ๒

            [๒๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง นี้ เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการเป็นไฉน

       (1) เรากล่าวว่า กามทั้งหลาย ย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับกาม ทั้งหลาย ได้แล้วๆ อยู่ ในที่นั้น ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว ดับแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วย องค์ฌานนั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า กามทั้งหลายย่อมดับ ในที่ไหน และใครดับ กามทั้งหลาย ได้แล้วๆอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึง ตอบผู้นั้น อย่างนี้ ว่า ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ กาม ทั้งหลายย่อมดับในปฐมฌานนี้ และ ท่านเหล่านั้น ดับกามได้แล้วๆ อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอไม่เป็นผู้โอ้อวดไม่มีมารยา เป็นแน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว ครั้นแล้ว พึงนมัสการกระทำอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้ ฯ

       (2) เรากล่าวว่า วิตกและวิจารย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับวิตกวิจาร ได้แล้วๆ อยู่ในที่นั้น ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้วถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์ฌานนั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า วิตกและวิจารย่อมดับในที่ไหน และ ใครดับวิตกวิจารแล้วๆ อยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้น อย่างนี้ ว่า ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแก่สมาธิอยู่ วิตกวิจารย่อมดับในองค์ฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับวิตกวิจารได้แล้วๆ อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาเป็นแน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว ครั้นแล้วพึงนมัสการกระทำอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้ ฯ

        (3) เรากล่าวว่า ปีติย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับปีติได้แล้วๆ อยู่ท่านเหล่านั้น ไม่มีความหิว ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์ฌานนั้น เป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า ก็ปีติดับในที่ไหน และใครดับปีติได้แล้วๆ อยู่เราไม่รู้ผู้นี้ ไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ปีติย่อมดับในองค์ฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับปีติได้แล้วๆ อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาเป็นแน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว ครั้นแล้ว พึงนมัสการกระทำอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้ ฯ

        (4) เรากล่าวว่า อุเบกขาและสุขดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับอุเบกขา และ สุขได้แล้วๆ อยู่ในที่นั้น ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่ง แล้ว ด้วยองค์ฌานนั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า ก็อุเบกขาและสุขย่อมดับ ในที่ ไหน และใครดับอุเบกขาและสุขได้แล้วๆ อยู่ เราไม่รู้ผู้นี้เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลาย พึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขา เป็นเหตุ ให้สติบริสุทธิ์อยู่ อุเบกขาและสุขดับในองค์ฌานนี้แล ท่านเหล่านั้นดับ อุเบกขา และสุขได้แล้วๆ อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลายเธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาเป็นแน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว ครั้นแล้วพึงนมัสการกระทำอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้ ฯ

        (5) เรากล่าวว่า รูปสัญญาดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับรูปสัญญาได้แล้วๆ อยู่ในที่นั้น ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วย องค์ฌานนั้น เป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า รูปสัญญาดับในที่ไหน และใครดับ รูปสัญญาได้แล้วๆ อยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับ ปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน เพราะคำนึง เป็นอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด รูปสัญญาย่อมดับในองค์ฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับรูปสัญญาได้แล้วๆ อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาเป็นแน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้วครั้นแล้ว พึงนมัสการกระทำอัญชลี เข้าไปนั่งใกล้ ฯ

       (6) เรากล่าวว่า อากาสานัญจายตนสัญญาดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับ อากาสานัญจ ายตนสัญญาได้แล้วๆ อยู่ในที่นั้น ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว ดับสนิท แล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์ฌานนั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า อากาสานัญจายตนสัญญา ดับในที่ไหน และใครดับอากาสานัญจายตนสัญญา ได้แล้วๆ อยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่าดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌาน
โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่าวิญญาณไม่มีที่สุด อากาสา นัญจายตน สัญญา ดับในองค์ฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับอากาสานัญจายตน สัญญาได้แล้วๆ อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาเป็นแน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว ครั้นแล้ว พึงนมัสการกระทำอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้ ฯ

        (7) เรากล่าวว่า วิญญาณัญจายตนสัญญาดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับ วิญญาณัญจายตนสัญญาได้แล้วๆ อยู่ในที่นั้น ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์ฌานนี้เป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่าวิญญา ณัญจายตนสัญญา ดับในที่ไหน และใครดับวิญญาณัญจายตนสัญญาได้แล้วๆอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโสภิกษุ ใน ธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญ จัญญายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ หน่อยหนึ่งไม่มีวิญญาณัญจายตน สัญญา ย่อมดับในองค์ฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับวิญญาณัญจายตนสัญญาได้แล้วๆ อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาเป็นแน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว ครั้นแล้ว พึงนมัสการกระทำอัญชลี
เข้าไปนั่งใกล้ ฯ

       (8) เรากล่าวว่า อากิญจัญญายตนสัญญาดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับ อากิญจัญญายตนสัญญา ได้แล้วๆ อยู่ในที่นั้น ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิวดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนี้เป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า อากิญจัญญาตน สัญญาดับในที่ไหน และใครดับอากิญจัญญายตนสัญญาได้แล้วๆอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่ เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วง อากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตน ฌาน อากิญจัญญายตนสัญญาดับในองค์ฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับอากิญ จัญญายตน สัญญาได้แล้วๆ อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เป็นแน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว ครั้นแล้ว พึงนมัสการกระทำอัญชลี เข้าไปนั่งใกล้ ฯ

       (9) เรากล่าวว่า เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาดับในที่ใด และท่าน เหล่าใด ดับเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาได้แล้วๆ อยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว ดับสนิท แล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนี้เป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า เนวสัญญา นาสัญญายตนสัญญาดับในที่ไหน และใครดับเนวสัญญานาสัญญายตน สัญญา ได้แล้วๆ อยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยประการ ทั้งปวง บรรลุ สัญญาเวทยิตนิโรธ เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาดับในนิโรธนี้ และท่านเหล่านั้น ดับเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาได้แล้วๆ อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่ โอ้อวด ไม่มีมารยาเป็นแน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่าดีแล้ว ครั้นแล้ว พึงนมัสการกระทำ อัญชลีเข้าไปนั่งใกล้ ดูกรภิกษุทั้งหลายอนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการนี้แล ฯ

จบสูตรที่ ๒






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์