เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  กามธาตุ กามสัญญา กามสังกัปปะ 1187
 

(โดยย่อ)

องค์ประกอบของ กามวิตก (ตริตึกในกาม)
1.กามธาตุ
2.กามสัญญา
3.กามสังกัปปะ

กามธาตุ
เกิดขึ้นได้ ต้องมีธาตุก่อน คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส จากนั้นจะเกิดกามคุณ คือรสอร่อย ของกามธาตุ คือความพอใจ ความน่ารักใคร่ น่ายวนตา ยวนใจ นี่คืออัสสาทะ หรือ รสอร่อยของ กาม(คุณ)

กามสัญญา
คือ จำได้หมายรู้ในรสอร่อยของกาม

กามสังกัปปะ
คือส่วนละเอียดของกามวิตก เป็นส่วนอนุสัย ยากที่จะเห็น ยากที่จะกำจัดออก ต้องใช้ สัลเลขธรรม เครื่องขูดเกลากิเลส เป็นส่วนของอริยะผู้เดินมรรค และเป็นธรรมเครื่องอยู่สงบ

ส่วนกามธาตุ และกามสัญญา
ปุถุชนผู้ได้ดับย่อมละได้ดับได้ชั่วครั้งชั่วคราวในสมาธิ (ดับอกุศล) แต่ไม่อาจดับในส่วนละเอียดได้ ระดับนี้จะได้ ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขเท่านั้น

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน

(จากเทปสาธยายธรรม)

กามธาตุ กามสัญญา กามสังกัปปะ
(กามวิตก)

สัมมาสังกัปปะ (มรรค8 ข้อ2) ดำริชอบ เป็นการทิ้งส่วนละเอียด ส่วนอนุสัย (ทิ้งความคิด) เพราะฉะนั้น หนึ่งใน สังกัปปะ เป็นองค์ประกอบของ กามวิตก

องค์ประกอบของ กามวิตก (ตริตึกในกาม)
1.กามธาตุ
2.กามสัญญา
3.กามสังกัปปะ

การจะวิตกในกาม ต้องอาศัยตัวธาตุก่อน กามวิตกจึงจะเกิดขึ้น ถ้าไม่ได้เห็นรูป ไม่ได้ฟังเสียงที่น่ารักใคร่ น่าปราถนา น่าพอใจ เป็นที่ยวนตา ยวนใจให้รัก เป็นที่ เข้าไปตั้งอาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ วิตกจะเกิดขึ้นได้ หรือไม่... (ไม่ได้)

ดังนั้นจึงต้องอาศัยธาตุประเภทนี้ก่อน พระองค์จึงบอก เพราะอาศัยกามธาตุก่อน (ธาตุที่ทำให้เกิดกาม)

กามก็คือ คือความกำหนัด ไปตามอำนาจความตริตึก ซึ่งเกิดจากกามคุณ หรือคุณ ของกาม ซึ่งตัวกามก็คือธาตุ 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม ที่เป็นส่วนรสอร่อย เป็นส่วนคุณ เพราะดินน้ำไฟลม มีทั้งรสอร่อย (อัสสาทะ) และโทษ (อาทินวะ)

ในส่วนโทษ(อาทินวะ)จะไม่เรียกว่ากาม แต่จะเรียก กามคุณ ในส่วนของรสอร่อย คือเป็นคุณของธาตุทั้ง4 ดังนั้นในตัวธาตุ จึงมีส่วนทั้งคุณ และโทษ

ส่วนคุณ เช่นรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย ซึ่งไม่ได้สวยตลอด ไม่ได้เสียง เพราะตลอด นี้คือส่วนของธาตุ

เพราะอาศัย กามธาตุ จึงมี กามสัญญา (สัญญาในกาม) และ กามสังกัปปะ(ส่วนของสังขารการปรุงแต่ง) นัยยะนี้กรณีในส่วนของขันธ์ รูป เวทนา สัญญา สังขาร

ดังนั้น ปุถุชนจะดับกามได้เฉพาะส่วนของสัญญา (กามสัญญา) โดยใช้ ฌาน ๑ ๒ ๓ ๔ (เมตตากรุณา มุทิตา อุเบกขา) แต่พอกำลังฌาน ๑ ๒ ๓ ๔ หมด กามสัญญา และ กามสังกัปปะ ก็จะเกิด เนื่องจากยังละไม่ได้

แต่ตอนที่เข้าฌาน จะไม่เกิด เพราะเหตุเกิดไม่มี กามธาตุ และกามสัญญา ถูกดับลง ไปได้ แต่เพราะไม่เห็นส่วนละเอียด (สังกัปปะ) เมื่อกำลังสมาธิหมด กามธาตุ และ กามสัญญา ก็จะโผล่ขึ้นมา เนื่องจากไม่ได้ดับถาวร เป็นเพียงแค่ดับในสมาธิเท่านั้น เมื่อ ๒ ตัวแรกเกิด (กามธาตุ+กามสัญญา) กามสังกัปปะ ก็จะเกิดตามมา ทั้งหมดนี้ จึงเรียกว่า กามวิตก (ติตรึกในกาม)

การที่จะละกามสังกัปปะได้ ต้องละกามธาตุ และ ละกามสัญญาก่อน ...ในสมาธิมีเกิด และมีดับ เมื่อสมาธิดับ(ดับชั่วคราว) กามสังกัปปะก็เกิด

ขณะที่ทำสมาธิ ไม่ว่าจะเป็นระดับ รูป หรือ อรูป พระพุทธเจ้าตรัสว่า เธอยังมิได้อยู่ใน ธรรมอันเป็นเครื่องขูดเกลา(สัลเลขธรรม) เธออยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข) หรือ เครื่องอยู่สงบเท่านั้น

รูปสัญญา๔… คือธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข
อรูปสัญญา๔...คือ ธรรมเครื่องอยู่สงบ
(ไม่ใช่ธรรมเครื่องขูดเกลา)

ดังนั้นธรรมเครื่องขูดเกลาเช่น เห็นเค้าพยาบาท เราจะไม่พยาบาท เห็นเค้าเบียดเบียน เราจะไม่เบียดเบียน …จึงต้องกลับมาขูดเกลาตัวเอง (สัลเลขธรรม)

ดังนั้นฤาษีโยคีที่ทำสมาธิได้ในระดับไหนก็ตาม จึงต้องไปสู่นรก กำเนิด เดรัจฉาน เปรตวิสัยต่อไป เพราะยังไม่ได้ขูดเกลา ส่วนที่เป็นอนุสัยยังอยู่ แต่ก็ดีในระดับหนึ่ง ที่มีความสงบเป็นพื้นฐาน อกุศลวิตกย่อมดับในปฐมฌาน คนที่อกุศลวิตกดับ แสดงว่า เขาพร้อมที่จะรับธรรมะขั้นสูง คืออริยสัจสี่


สัลเลขธรรม

จุนทะ ! สัลเลขธรรม (ความขูดเกลา)
เป็นสิ่งที่เธอทั้งหลายพึงกระทำ ในธรรมทั้งหลายเหล่านี้ กล่าวคือ 

ทำสัลเลขว่า...
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้เบียดเบียน เราจักเป็นผู้ไม่เบียดเบียน   
เมื่อผู้อื่น กระทำปาณาติบาต เราจัก เว้นขาดจากปาณาติบาต

เมื่อผู้อื่น กระทำอทินนาทาน เราจัก เว้นขาดจากอทินนาทาน  
เมื่อผู้อื่นไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เราจักเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์

เมื่อผู้อื่น พูดเท็จ เราจัก เว้นขาดจากการพูดเท็จ  
เมื่อผู้อื่น พูดส่อเสียด เราจัก เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด

เมื่อผู้อื่น พูดคำหยาบ เราจัก เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ  
เมื่อผู้อื่น พูดเพ้อเจ้อ เราจัก เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ

เมื่อผู้อื่น มากด้วยอภิชฌา เราจักเป็นผู้ ไม่มากด้วยอภิชฌา 
เมื่อผู้อื่น มีจิตพยาบาท เราจักเป็นผู้ ไม่มีจิตพยาบาท

เมื่อผู้อื่น มีมิจฉาทิฏิฐิ เราจักเป็นผู้ มีสัมมาทิฏิฐิ   
เมื่อผู้อื่น มีมิจฉาสังกัปปะ เราจักเป็นผู้ มีสัมมาสังกัปปะ

เมื่อผู้อื่น มีมิจฉาวาจา เราจักเป็นผู้ มีสัมมาวาจา  
เมื่อผู้อื่น มีมิจฉากัมมันตะ เราจักเป็นผู้ มีสัมมากัมมันตะ

เมื่อผู้อื่น มีมิจฉาอาชีวะ เราจักเป็นผู้ มีสัมมาอาชีวะ  
เมื่อผู้อื่น มีมิจฉาวายามะ เราจักเป็นผู้ มีสัมมาวายามะ

เมื่อผู้อื่น มีมิจฉาสติ เราจักเป็นผู้ มีสัมมาสติ  
เมื่อผู้อื่น มีมิจฉาสมาธิ เราจักเป็นผู้ มีสัมมาสมาธิ

เมื่อผู้อื่น มีมิจฉาญาณะ เราจักเป็นผู้ มีสัมมาญาณะ 
เมื่อผู้อื่น มีมิจฉาวิมุตติ เราจักเป็นผู้ มีสัมมาวิมุตติ

เมื่อผู้อื่น มีถีนมิทธะกลุ้มรุม เราจักเป็นผู้ ปราศจากถีนมิทธะ 
เมื่อผู้อื่นเป็น ผู้ฟุ้งซ่าน เราจักเป็นผู้ ไม่ฟุ้งซ่าน

เมื่อผู้อื่น มีวิจิกิจฉา เราจักเป็นผู้ ข้ามพ้นวิจิกิจฉา  
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ มักโกรธ เราจักเป็นผู้ ไม่มักโกรธ

เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ ผูกโกรธ เราจักเป็นผู้ ไม่ผูกโกรธ 
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ลบหลู่คุณ เราจักเป็นผู้ ไม่ลบหลู่คุณ

เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ แข่งดี เราจักเป็นผู้ ไม่แข่งดี  
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ ริษยา เราจักเป็นผู้ ไม่ริษยา

เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ ตระหนี่ เราจักเป็นผู้ ไม่ตระหนี่  
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ โอ้อวด เราจักเป็นผู้ ไม่โอ้อวด

เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ มีมารยา เราจักเป็นผู้ ไม่มีมารยา  
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ กระด้าง เราจักเป็นผู้ ไม่กระด้าง

เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ ดูหมิ่นท่าน เราจักเป็นผู้ ไม่ดูหมิ่นท่าน  
เมื่อผู้อื่นเป็นผู้ ว่ายาก เราจักเป็นผู้ ว่าง่าย
(รวม ๓๕ ประการ)

 






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์