- บาลี สี. ที. ๙/๒๗๓/๓๓๙
อนุศาสนีปาฏิหาริย์นั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
(นัยยะที่ 1)
เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมสั่งสอนว่า “ท่านจงตรึกอย่างนี้ๆ อย่าตรึก อย่างนั้นๆ จงทำไว้ในใจอย่างนี้ๆ อย่าทำไว้ในใจอย่างนั้นๆ จงละสิ่งนี้ จงเข้าถึง สิ่งนี้ๆ แล้วแลอยู่” ดังนี้.
เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(นัยยะที่ 2)
เกวัฏฏะ ! ข้ออื่นยังมีอีก ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ ชอบเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนควรฝึก ได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว จำแนก ธรรมสั่งสอนสัตว์.
ตถาคตนั้น ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ กับทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์ พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนผู้อื่น ให้รู้แจ้งตาม. ตถาคตนั้นแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น–ท่ามกลาง–ที่สุด ประกาศ พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะ และพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.
คหบดีหรือบุตร คหบดีหรือผู้เกิดใน ตระกูลใดตระกูลหนึ่งในภายหลังก็ดี ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว เกิดศรัทธาในตถาคต.
เขาผู้ประกอบด้วยศรัทธา ย่อมพิจารณา เห็นว่า “ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นโอกาสว่าง การที่คนอยู่ ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียว เหมือนสังข์ที่เขา ขัดแล้วนั้น ไม่ทำได้โดยง่าย.
ถ้ากระไร เราจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนเถิด” ดังนี้.
โดยสมัยอื่นต่อมา เขาละกองสมบัติน้อยใหญ่และวงศ์ญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด ออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว.
ภิกษุนั้น ผู้บวชแล้วอย่างนี้ สำรวมแล้วด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาท และโคจร มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้ว่าเป็นโทษเล็กน้อย สมาทานศึกษา อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ประกอบแล้วด้วยกายกรรม วจีกรรมอันเป็นกุศล มีอาชีวะ บริสุทธิ์, ถึงพร้อมด้วยศีล มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย ประกอบด้วย สติสัมปชัญญะ มีความสันโดษ เกวัฏฏะ ! ภิกษุถึงพร้อมด้วยศีล เป็นอย่างไรเล่า ?
เกวัฏฏะ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป เป็นผู้เว้นขาด จากปาณาติบาต วางท่อนไม้และศัสตราเสียแล้ว มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงอยู่.
เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(นัยยะที่ 3)
เกวัฏฏะ ! ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจาก อุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยนควรแก่การงาน ตั้งอยู่ได้อย่างไม่หวั่นไหว เช่นนี้แล้ว เธอก็น้อมจิตไปเฉพาะต่ออาสวักขยญาณ. เธอย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ นี้ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับ ไม่เหลือแห่งทุกข์” และรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “เหล่านี้ อาสวะ นี้เหตุเกิดขึ้นแห่ง อาสวะ นี้ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่ง อาสวะ”.
เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็พ้นจาก กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ.
ครั้นจิตหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่า “จิตพ้นแล้ว” เธอรู้ชัดว่า “ชาติสิ้น แล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อ ความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.
เกวัฏฏะ ! เปรียบเหมือนห้วงน้ำใสที่ไหล่เขาไม่ขุ่นมัว คนมีจักษุดียืนอยู่ บนฝั่ง ในที่นั้น เขาเห็นหอยต่างๆ บ้าง กรวดและหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง อันหยุดอยู่และ ว่ายไป ในห้วงน้ำนั้น เขาจะสำเหนียกใจอย่างนี้ว่า “ห้วงน้ำนี้ใส ไม่ขุ่นเลย หอย ก้อนกรวด ปลาทั้งหลายเหล่านี้ หยุดอยู่บ้าง ว่ายไปบ้าง ในห้วงน้ำนั้น” ดังนี้ ฉันใดก็ฉันนั้น.
เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์. |